WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สรุปผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน : การบริหารและการจัดการภาวะแล้ง ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา

GOV 5

สรุปผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน : การบริหารและการจัดการภาวะแล้ง ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา

          คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน : การบริหารและการจัดการภาวะแล้ง ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป

          สาระสำคัญของเรื่อง

          สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้เสนอสรุปผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน : การบริหารและการจัดการภาวะแล้ง ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำวุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยได้ดำเนินการรวบรวมผลการดำเนินงาน รวมทั้งปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไขจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว สรุปได้ว่า

          1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้จัดทำแผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ปี 2559 - 2565 แผนจัดสรรน้ำฤดูแล้ง ปี 2563/64 และอยู่ระหว่างเตรียมการจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำในเขตลุ่มน้ำ แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง และภาวะน้ำท่วม จัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี โดยได้มีการกำหนดกลยุทธ์การจัดการความต้องการ (เกษตร อุตสาหกรรม) และแผนจัดสรรน้ำและเพาะปลูกพืชทั้งฤดูแล้งและฤดูฝนให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน กำหนดกลไกและจัดทำคู่มือให้เกิดการจัดทำแผนงานบูรณาการในระดับตำบล มีการพัฒนาโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่โคก หนอง นา โมเดลอย่างไรก็ตาม จากการดำเนินการที่ผ่านมาพบว่ามีประเด็นปัญหาที่สำคัญ เช่น ในการจัดทำแผนและจัดการภัยแล้งเชิงพื้นที่ไม่สามารถรวบรวมข้อมูลนอกเขตชลประทานในระดับพื้นที่ได้อย่างครบถ้วน และการใช้น้ำและเพาะปลูกพืชไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้จึงไม่สามารถควบคุมแผนการจัดสรรน้ำได้ เป็นต้น จึงเห็นควรประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้กับผู้ใช้น้ำ กำหนดมาตรการควบคุมการใช้น้ำให้เป็นไปตามแผนสนับสนุนการทำนาใช้น้ำน้อย (เปียกสลับแห้ง) หรือส่งเสริมอาชีพอื่นๆ ที่สร้างรายได้นอกภาคการเกษตรกรณีน้ำต้นทุนน้อย หรือส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย รวมทั้งผลักดันมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการใช้น้ำ

          2. ข้อเสนอแนะเชิงบริหารจัดการ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติรายงานว่า ด้านการจัดการได้เตรียมพร้อมพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กรผู้ใช้น้ำเพื่อการปรับตัวต่อภัยแล้งโดยจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำและคณะกรรมการลุ่มน้ำ มีการจัดตั้งศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจเพื่อบริหารจัดการสถานการณ์น้ำในภาวะวิกฤติ และมีการพัฒนาและบูรณาการระบบฐานข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำ (Big data) ด้านการจัดหา มีการเผยแพร่แผนที่น้ำใต้ดิน จัดทำผังน้ำจำนวน 8 ลุ่มน้ำ ด้านอุปสงค์ (demand) จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ส่งเสริมการนำน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วมาใช้ประโยชน์ อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินการที่ผ่านมาพบว่ามีประเด็นปัญหาสำคัญ ได้แก่ ข้อมูลเชิงสถิติมีความคลาดเคลื่อนส่งผลต่อการคาดการณ์สถานการณ์น้ำ ขาดหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการบูรณาการแหล่งน้ำขนาดเล็ก ขาดงบประมาณ และเกิดการต่อต้านการจัดเก็บค่าธรรมเนียมจากภาคประชาชนในการบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น จึงเห็นควรปรับปรุงการคาดการณ์พยากรณ์โดยอาศัยปัจจัยด้านพื้นที่มาร่วมในการวิเคราะห์ บูรณาการกำหนดแผนผ่านกลไกคณะกรรมการลุ่มน้ำ คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ และภาครัฐต้องเร่งขับเคลื่อนโครงการบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่

          3. ข้อเสนอแนะเชิงการขับเคลื่อน สร้าง Thailand team ปัจจุบันสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติรายงานว่า มีกลไกการบริหารจัดการน้ำอยู่ 2 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับประเทศ คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำ กำกับและขับเคลื่อน นโยบายการบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศ และ 2) ระดับพื้นที่ ได้แก่ คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด และคณะกรรมการลุ่มน้ำ มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำ กำกับ ติดตาม ขับเคลื่อน และการบริหารจัดการน้ำในระดับจังหวัด และลุ่มน้ำ ซึ่งทำหน้าที่เป็นกลไกการบริหารจัดการน้ำทั้งในระดับชาติ และระดับพื้นที่อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาพบว่า กลไกคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการบริหารจัดการน้ำระดับพื้นที่ยังไม่มีอำนาจผลักดันแผนงานในพื้นที่ได้ทั้งหมด จึงเห็นควรผลักดันให้มีการจัดทำแผนแม่บท/แผนปฏิบัติการลุ่มน้ำเพื่อเป็นกรอบการพิจารณาการจัดสรรงบประมาณประจำปี ผ่านกลไกคณะกรรมการลุ่มน้ำ และคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 6 กรกฎาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A7149

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!