WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคเพื่อแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019)

GOV 6

ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) .. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคเพื่อแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019)

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) .. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้

          ทั้งนี้ กค.เสนอว่า

          1. เนื่องจากพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 701) .. 2563 ได้สิ้นสุดการบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2564 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) จึงขอให้ กค. (กรมสรรพากร) พิจารณาขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการบริจาคเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ออกไปอีกเป็นเวลา 1 ปี

          2. ทั้งนี้ ปรากฏว่าตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม .. 2563 ถึงวันที่ 5 มีนาคม .. 2564 มีผู้บริจาคที่เป็นบุคคลธรรมดาจำนวน 53 ราย ได้บริจาคเป็นจำนวน 3.96 ล้านบาท และผู้บริจาคที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจำนวน 64 ราย ได้บริจาคเป็นจำนวน 22.07 ล้านบาท มีผู้บริจาคทั้งหมดจำนวน 117 ราย เป็นเงินรวม 26.03 ล้านบาท และ สปน. ได้นำเงินบริจาคดังกล่าวไปใช้ในการช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวนรวม 102 ราย

          3. กค. พิจารณาแล้วเพื่อเป็นการจูงใจให้ประชาชนและภาคเอกชนได้มีส่วนร่วมสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับการป้องกัน ระงับ ยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แก่บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ รวมทั้งเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนผู้ได้รับผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยบริจาคเป็นเงินหรือทรัพย์สินในช่วงวิกฤติของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงเห็นควรกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคเพื่อแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งนี้ ภายใต้หลักการ และแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย ดังนี้

                 3.1 กำหนดให้บุคคลธรรมดา บริจาคเงินให้แก่ สปน. เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับการป้องกัน ระงับ ยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สามารถนำมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคตามมาตรา 47 (7) แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนอื่นๆ แล้ว

                 3.2 กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล บริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่ สปน. เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับการป้องกัน ระงับ ยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ ตามมาตรา 65 ตรี (3) () แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสองของกำไรสุทธิ

                 3.3 การบริจาคตามข้อ 3.1 และข้อ 3.2 ต้องบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ของกรมสรรพากร ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม .. 2564 ถึงวันที่ 5 มีนาคม .. 2565 

                 3.4 กำหนดให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการสำหรับการบริจาคสินค้าให้แก่ สปน. เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม .. 2564 ถึงวันที่ 5 มีนาคม .. 2565

จึงได้ตราร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) .. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคเพื่อแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019) 

                 4. กค. ได้รายงานประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ .. 2561 โดยคาดว่ามาตรการทางภาษีดังกล่าวจะทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ประมาณ 5 ล้านบาทแต่มีประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้

                 4.1 เป็นการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับการป้องกัน ระงับ ยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชน

                 4.2 มีส่วนช่วยรักษา ฟื้นฟู เยียวยา และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ตลอดจนผู้ได้รับผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

                 4.3 เป็นการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนและภาคเอกชนได้มีส่วนในการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และทำให้เกิดพลังสามัคคีในประเทศ

                 4.4 จะช่วยลดภาระการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

          สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

          1. กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ให้แก่ สปน. เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม .. 2564 ถึงวันที่ 5 มีนาคม .. 2565 ดังนี้

                 1.1 สำหรับบุคคลธรรมดา ให้ยกเว้นสำหรับเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนเท่าจำนวนเงินที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคแล้วต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนนั้น

                 1.2 สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้ยกเว้นสำหรับเงินได้เท่าจำนวนเงินหรือราคาทรัพย์สินที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ ต้องไม่เกิน ร้อยละสองของกำไรสุทธิ

          2. กำหนดให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการเฉพาะการบริจาคสินค้าให้แก่ สปน. เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม .. 2564 ถึงวันที่ 5 มีนาคม .. 2565

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 29 มิถุนายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A6956

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!