ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีบิมสเทค ครั้งที่ 17
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 29 June 2021 21:55
- Hits: 9931
ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีบิมสเทค ครั้งที่ 17
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมระดับรัฐมนตรีบิมสเทค ครั้งที่ 17 และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
สาระสำคัญ
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ได้เข้า ร่วมการประชุมบิมสเทค ครั้งที่ 17 เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือที่จะเป็นประโยชน์ในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และสภาพปกติใหม่ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ที่ประชุมฯ รับรองถ้อยแถลงร่วมการประชุมบิมสเทค ครั้งที่ 17 โดยมีการเพิ่มเนื้อหาด้าน การรายงานผลกิจกรรมที่เกิดขึ้นแล้วเพื่อให้ข้อมูลครบถ้วน และให้เสนอถ้อยแถลงร่วมฯ ให้ที่ประชุมผู้นำบิมสเทค ครั้งที่ 5 พิจารณารับรองต่อไป
2. ที่ประชุมฯ เห็นชอบร่างเอกสาร 5 ฉบับที่ประเทศสมาชิกได้เจรจาเสร็จแล้วเพื่อดำเนินการ ตามขั้นตอนต่อไป ได้แก่
2.1 ร่างอนุสัญญาบิมสเทคว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องของอาญา
2.2 ร่างบันทึกความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีบิมสเทค
2.3 ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสถาบันการทูตของประเทศสมาชิกบิมสเทค
2.4 การจัดสาขาและสาขาย่อยบิมสเทค
2.5 ร่างต้นแบบการจัดตั้งศูนย์ความร่วมมือภายใต้กรอบบิมสเทค
นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบให้เสนอร่างเอกสาร 2 ฉบับให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ ความเห็นชอบก่อนการประชุมผู้นำบิมสเทค ครั้งที่ 5 ได้แก่ (1) ร่างกฎบัตรบิมสเทค และ (2) ร่างแผนแม่บท บิมสเทคว่าด้วยความเชื่อมโยงด้านคมนาคม
3. ประเทศไทยได้นำเสนอวิสัยทัศน์ในการรับหน้าที่ประเทศผู้ขับเคลื่อนหลักในสาขาความเชื่อมโยงที่ครอบคลุมทุกมิติ รวมทั้งแนวคิดนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model: BCG) ที่จะผลักดันในวาระการเป็นประธานของไทยต่อไป
ทั้งนี้ เพื่อดำเนินการตามเอกสารผลลัพธ์การประชุมระดับรัฐมนตรีบิมสเทค ครั้งที่ 17 สอดคล้องกับนโยบายการต่างประเทศของไทยในการร่วมกำหนดทิศทางของภูมิภาคอ่าวเบงกอลเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศและรับมือกับภูมิรัฐศาสตร์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รักษาพลวัตของการเชื่อมโยงเศรษฐกิจของประเทศสู่ ห่วงโซ่การผลิตโลกตลอดจนกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและวิชาการกับประเทศสมาชิกบิมสเทค จึงมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามตารางติดตามผลการประชุมฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป สรุปได้ ดังนี้
เรื่อง/ประเด็นติดตาม |
หน่วยงานรับผิดชอบ |
|
การขับเคลื่อนความร่วมมือรายสาขา |
||
1. สาขาการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร 1.1 จัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการประมงและปศุสัตว์กับประเทศสมาชิกอื่น 1.2 จัดทำแผนปฏิบัติการและดำเนินโครงการที่เป็นรูปธรรมเพื่อส่งเสริมการประมงและปศุสัตว์ |
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
|
2. สาขาความเชื่อมโยง 2.1 ร่วมเสนอร่างสุดท้ายของแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงด้านคมนาคม ให้ที่ประชุมผู้นำบิมสเทค ครั้งที่ 5 รับรอง 2.2 เข้าร่วมการเจรจารอบที่สองของข้อตกลงเดินเรือชายฝั่ง โดยคณะทำงานว่าด้วยความตกลงการเดินเรือชายฝั่ง 2.3 ร่วมพิจารณากรอบกระบวนการเจรจาความตกลงบิมสเทค ภายใต้คณะทำงานว่าด้วยความเชื่อมโยงด้านคมนาคม |
- กระทรวงคมนาคม |
|
3. สาขาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ โดยจัดตั้งคณะทำงานร่วมด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับประเทศสมาชิกอื่น |
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม |
|
4. สาขาการปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชน 4.1 จัดตั้งเวทีเสวนาสำหรับสมาชิกรัฐสภา เยาวชน ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย องค์กรทางวัฒนธรรม และภาคสื่อมวลชนกับประเทศสมาชิกอื่น 4.2 ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือสถาบันการทูตของประเทศสมาชิกบิมสเทคในการประชุมผู้นำบิมสเทค ครั้งที่ 5 |
- กระทรวงการอุดมศึกษา - กระทรวงวัฒนธรรม - กระทรวงการต่างประเทศ |
|
5. สาขาการท่องเที่ยว 5.1 ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว สำหรับภูมิภาคบิมสเทค 5.2 เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานด้านการท่องเที่ยว ครั้งที่ 2 5.3 เข้าร่วมการประชุมโต๊ะกลมรัฐมนตรีท่องเที่ยว ครั้งที่ 3 5.4 เข้าร่วมการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจลงตรา ครั้งที่ 4 |
- กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา |
|
6. สาขาวัฒนธรรม 6.1 จัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านความร่วมมือทางวัฒนธรรมบิมสเทคกับประเทศสมาชิกอื่น 6.2 เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีวัฒนธรรม และเทศกาลวัฒนธรรมบิมสเทค |
- กระทรวงวัฒนธรรม |
|
7. สาขาเทคโนโลยี 7.1 ลงนามบันทึกความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีบิมสเทคในการประชุมผู้นำบิมสเทค ครั้งที่ 5 7.2 จัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมกับประเทศสมาชิกอื่น |
- กระทรวงการอุดมศึกษา |
|
8. สาขาสาธารณสุข โดยจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขกับประเทศสมาชิกอื่น |
- กระทรวงสาธารณสุข |
|
9. สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับประเทศสมาชิกอื่น |
- กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ - กระทรวงการอุดมศึกษา |
|
10. สาขาการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ 10.1 ลงนามอนุสัญญาบิมสเทคว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญาในการประชุมผู้นำบิมสเทค ครั้งที่ 5 10.2 เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีมหาดไทย ครั้งที่ 1 10.3 เข้าร่วมการประรุชมหัวหน้าฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ ครั้งที่ 4 10.4 เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานร่วมด้านการต่อต้านการก่อการร้าย และอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 9 |
- สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ - กระทรวงมหาดไทย |
|
11. สาขาการจัดการภัยพิบัติ โดยพัฒนาแผนปฏิบัติการเพื่อตอบสนองต่อภัยธรรมชาติในภูมิภาคอ่าวเบงกอลภายใต้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติ |
- กระทรวงมหาดไทย - กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - กระทรวงการอุดมศึกษา |
|
12. สาขาพลังงาน 12.1 ดำเนินการตาม ToR of the BIMSTEC Grid Interconnection Cordination Committee (BGICC) 12.2 ร่วมจัดทำแผนแม่บทว่าด้วยการเชื่อมโยงต่อโครงข่ายพลังงานไฟฟ้าบิมสเทค |
- กระทรวงพลังงาน |
|
13. สาขาการค้า การลงทุน และการพัฒนา โดยเข้าร่วมการเจรจาข้อตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าและข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องศุลกากรกับประเทศสมาชิกอื่น |
- กระทรวงพาณิชย์ - สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน - กระทรวงการต่างประเทศ |
|
การขับเคลื่อนประเด็นคาบเกี่ยว (cross-cutting issues) |
||
14. การขจัดปัญหาความยากจน โดยทบทวนแผนปฏิบัติการลดความยากจนบิมสเทค |
- กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ - กระทรวงมหาดไทย |
|
15. เศรษฐกิจภาคภูเขา โดยจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญภาครัฐ เพื่อพัฒนาแผนปฏิบัติการส่งเสริมเศรษฐกิจภาคภูเขากับประเทศสมาชิกอื่น |
- กระทรวงการต่างประเทศ - สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ |
|
16. เศรษฐกิจภาคทะเล โดยจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญภาครัฐ เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการเรื่องเศรษฐกิจภาคทะเลกับประเทศสมาชิกอื่น |
- กระทรวงการต่างประเทศ - สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 29 มิถุนายน 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A6858
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ