WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สรุปสถานการณ์สาธารณภัย และการช่วยเหลือ

GOV5 copy copy

สรุปสถานการณ์สาธารณภัย และการช่วยเหลือ

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปสถานการณ์สาธารณภัย และการช่วยเหลือ ระหว่างวันที่ 15 – 21 มิถุนายน 2564 ตามที่กระทรวงมหาดไทย (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) เสนอ ดังนี้

          สรุปสถานการณ์สาธารณภัย และการช่วยเหลือ ระหว่างวันที่ 15 - 21 มิถุนายน 2564 

          การคาดหมายลักษณะอากาศ การสั่งการเพื่อเตรียมความพร้อม และการช่วยเหลือ

          1. สภาพอากาศ (ระหว่างวันที่ 21 - 27 มิถุนายน 2564)

          ในช่วงวันที่ 21 - 25 มิถุนายน 2564 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักบางแห่ง ทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 26 - 27 มิถุนายน 2564 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง ทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

          ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 26 - 27 มิถุนายน 2564 ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามัน ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

          2. การแจ้งเตือนและสั่งการเพื่อเตรียมความพร้อม

          กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้พร้อม เพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันเหตุการณ์

          3. ข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย / ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยแห่งชาติ

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ได้มีข้อสั่งการเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 สั่งการให้กองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2564 ดังนี้

          1) การเตรียมความพร้อม

                 1.1 การเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อุทกภัย ให้จัดตั้งคณะทํางานติดตามสถานการณ์โดยมี หน่วยงานด้านการพยากรณ์หน่วยงานด้านการบริหารจัดการน้ำ ฝ่ายปกครองในพื้นที่ ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญจากภาคประชาสังคมหรือสถาบันการศึกษาที่มีศักยภาพ เพื่อร่วมทําหน้าที่ติดตามข้อมูลสภาพอากาศ สถานการณ์น้ำและเหตุการณ์ที่อาจส่งผลให้เกิดสาธารณภัยในช่วงฤดูฝน รวมทั้งวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำในพื้นที่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจของผู้อํานวยการแต่ละระดับ สำหรับใช้ในการสื่อสารแจ้งเตือนประชาชน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมในการเผชิญเหตุได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ และสภาพพื้นที่

                 1.2 การจัดทําแผนเผชิญเหตุอุทกภัย ให้ทบทวนและปรับปรุงแผนเผชิญเหตุอุทกภัยของจังหวัด ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

                 1.3 การระบายน้ำและการเพิ่มพื้นที่รองรับน้ำ ให้มอบหมายกองอํานวยการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยในแต่ละระดับดําเนินการอย่างเป็นระบบ มีความเชื่อมโยงกันโดยเฉพาะตามรอยต่อเขตรับผิดชอบที่เป็นเส้นทางน้ำไหลผ่าน

                 1.4 การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงสถานที่ใช้กักเก็บน้ำ / กั้นน้ำ อาทิ อ่างเก็บน้ำ พนังกั้นน้ำ ให้มอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบจัดทีมวิศวกรเข้าสํารวจตรวจสอบ และปรับปรุงให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง เพื่อให้สามารถรองรับกรณีฝนตกหนัก หรือน้ำไหลเข้า / ผ่านในปริมาณมาก รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในพื้นที่

                 1.5 การแจ้งเตือนภัย เมื่อมีแนวโน้มการเกิดสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่มขึ้นในพื้นที่ ให้ดําเนินการแจ้งเตือนไปยังกองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในแต่ละระดับ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลสาธารณภัยให้พร้อมเผชิญเหตุ และเตรียมการในพื้นที่เสี่ยงภัยเป็นการล่วงหน้า รวมทั้งแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบในทุกช่องทางทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ อาทิ สื่อสังคมออนไลน์ วิทยุชุมชน หอกระจายข่าวประจําหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อมูล ข่าวสาร ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติตนให้เกิดความปลอดภัย ช่องทางการแจ้งข้อมูล และการขอรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และในกรณีจังหวัดที่มีเส้นทางน้ำเชื่อมต่อกันให้มีการประเมินสถานการณ์ร่วมกัน และแจ้งเตือนระหว่างจังหวัดต้นน้ำและจังหวัดปลายน้ำอย่างใกล้ชิด

          2) การเผชิญเหตุ

          เมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิดสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่มในพื้นที่ ให้ยึดแนวทางการจัดการสาธารณภัยในภาวะฉุกเฉิน ตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ .. 2558 และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยดําเนินการตามแนวทาง ดังนี้

                 2.1 จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ระดับจังหวัด อําเภอ และศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นศูนย์ควบคุม สั่งการ และอํานวยการหลักในการระดมสรรรพกําลัง ตลอดจน การประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งฝ่ายพลเรือน หน่วยทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กร สาธารณกุศล

                 2.2 ให้มอบหมายฝ่ายปกครอง กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นําชุมชน ตลอดจนอาสาสมัคร ประชาชนจิตอาสา เตรียมความพร้อมเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงในชุมชน พื้นที่สําคัญทางเศรษฐกิจ สถานที่สําคัญต่างๆ และร่วมกันกําจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำเมื่อเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ ทั้งนี้ หากมีกรณีน้ำท่วมขัง สร้างความเดือดร้อน ความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนให้เร่งกําหนดแนวทางการระบายน้ำ พร้อมทั้งสั่งใช้เครื่องจักรกลในพื้นที่ของหน่วยงาน ฝ่ายพลเรือน หน่วยทหาร และภาคเอกชน เพื่อเร่งระบายน้ำ และเปิดทางน้ำในพื้นที่

                 2.3 จัดชุดปฏิบัติการเร่งให้ความช่วยเหลือด้านการดํารงชีพแก่ประชาชนที่ประสบภัยตามวงรอบ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดตั้งโรงครัวพระราชทาน ความช่วยเหลือด้านอาหาร น้ำดื่ม การรักษาพยาบาล โดยอย่าให้เกิด ความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติ และเชิญชวนประชาชนจิตอาสามีส่วนร่วมกับภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย

                 2.4 กรณีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย ให้บูรณาการหน่วยงานเป็นทีมช่างในพื้นที่ ทั้งหน่วยทหาร ตํารวจ ฝ่ายปกครอง สถาบันการศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนประชาชนจิตอาสา เพื่อเร่งซ่อมแซมบ้านเรือนประชาชนโดยเร็ว

                 2.5 กรณีเส้นทางคมนาคมได้รับความเสียหาย หรือถูกน้ำท่วมจนประชาชนไม่สามารถใช้ยานพาหนะ สัญจรได้ให้จัดทําป้ายแจ้งเตือนพร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่อํานวยความสะดวกการจราจร แนะนําเส้นทางเลี่ยงที่ปลอดภัย รวมทั้งจัดยานพาหนะที่เหมาะสม อาทิ เรือ รถยกสูง เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชน และให้เร่งซ่อมแซมเส้นทางที่ชํารุด / ถูกตัดขาด เพื่อให้ประชาชนใช้สัญจรได้โดยเร็ว

                 2.6 เน้นย้ำการสื่อสารสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในช่วงเกิดสถานการณ์อุทกภัย ผ่านสื่อมวลชน ตลอดจนสื่อแขนงต่างๆ และสื่อสังคมออนไลน์เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง

                 2.7 ให้รายงานสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มที่เกิดขึ้นต่อกองอํานวยการ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลางอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินสถานการณ์และเสนอ ความเห็นต่อผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติในการตัดสินใจสั่งการในเชิงนโยบายต่อไป

          สรุปสถานการณ์วาตภัย ข้อมูล วันที่ 15-21 มิถุนายน 2564

                 1.1 จังหวัดสมุทรปราการ วันที่ 20 มิถุนายน 2564 เวลา 20.00 . เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอ พระสมุทรเจดีย์ รวม 1 อำเภอ 1 ตำบล 5 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลนาเกลือ บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 60 หลัง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

                 1.2 จากสถานการณ์พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน กําลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อน ทางเหนือเล็กน้อยมีแนวโน้มจะทวีกําลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวตังเกี๋ย และขึ้นฝั่งบริเวณสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามตอนบน ประกอบกับร่องมรสุมยังคงพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบน และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวตอนบน ทําให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ลมกระโชกแรง น้ำไหลหลาก และดินสไลด์ ในห้วงวันที่ 12 - 16 มิถุนายน 2564 มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน พิษณุโลก อุทัยธานี และจังหวัดระนอง รวม 18 อำเภอ 31 ตำบล 83 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 1,612 หลัง โรงเรียน 2 แห่ง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้วทุกจังหวัด อยู่ระหว่างการฟื้นฟู 

          สรุปสถานการณ์แผ่นดินไหวระหว่างวันที่ 15 - 21 มิถุนายน 2564

          กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รับรายงานข้อมูลเหตุแผ่นดินไหว จากกรมอุตุนิยมวิทยา และศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้เกิดแผ่นดินไหว ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย ดังนี้

          1. วันที่ 20 มิถุนายน 2564 เวลา 10.30 . เกิดแผ่นดินไหวบนบก ขนาด 4.6 ที่ความลึก 10 กิโลเมตร บริเวณมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ประมาณ 295 กิโลเมตร ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย

          2. วันที่ 18 มิถุนายน 2564 เวลา 06.30 . เกิดแผ่นดินไหวบนบก ขนาด 3.5 ที่ความลึก 1 กิโลเมตร บริเวณอำเภอวังเหนือ จังหวัดลําปาง มีรายงานความรู้สึกสั่นไหวในพื้นที่ตำบลทุ่งฮั้ว และพื้นที่ใกล้เคียง ไม่มีรายงานความเสียหาย

          สรุปสถานการณ์อุบัติภัย และเหตุการณ์สำคัญระหว่างวันที่ 15 - 21 มิถุนายน 2564

          1. จังหวัดอุทัยธานี วันที่ 20 มิถุนายน 2564 เวลา 03.00 . เกิดอุบัติเหตุทางถนน ในพื้นที่หมู่ที่ 3 ตำบลหนองขาหย่าง อำเภอหนองขาหย่าง ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 คน เจ้าหน้าที่กู้ชีพ - กู้ภัย เข้าให้การช่วยเหลือนําผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลหนองขาหย่าง

          2. จังหวัดสมุทรปราการ วันที่ 19 มิถุนายน 2564 เวลา 15.00 . เกิดอุบัติเหตุทางถนน บริเวณสะพานข้ามคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ในพื้นที่ตำบลเปร็ง อำเภอบางบ่อ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 คน เจ้าหน้าที่กู้ชีพ - กู้ภัย เข้าให้การช่วยเหลือนําผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 8

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 22 มิถุนายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A6724

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

BITKUB

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!