WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ศบค.) ครั้งที่ 8/2564

GOV 6

สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ศบค.) ครั้งที่ 8/2564

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ศบค.) ครั้งที่ 8/2564 เมื่อวันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน 2564 ตามที่สำนักงานเลขาธิการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เสนอ ดังนี้

          1. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดและผู้ติดเชื้อโรคโควิด - 19 ดังนี้

                 1) สถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลก วันที่ 18 มิถุนายน 2564 มีจำนวนผู้ติดเชื้อรวมทั้งสิ้น 178,165,581 ราย โดยประเทศที่พบผู้ติดเชื้อมากที่สุด 3 ลำดับแรกของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินเดีย และบราซิล ในส่วนของประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 78 จาก 218 ประเทศทั่วโลก

                 2) สถานการณ์การแพร่ระบาดและผู้ติดเชื้อระลอกใหม่เดือนเมษายน 2564 ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 18 มิถุนายน 2564 มีผู้ป่วยติดเชื้อและอยู่ระหว่างการรักษา จำนวน 32,795 ราย (อยู่ในโรงพยาบาล 7,693 ราย และโรงพยาบาลสนาม 25,102 ราย) และหายป่วยแล้วสะสม 148,984 ราย

          2. คำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดิน กรณีการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และประกาศศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด –19) เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 

          เลขาธิการ สมช. ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 รายงานผลการดำเนินงานตามคำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดิน กรณีการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังนี้

                 2.1 คำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดิน เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2564 

                          ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) แจ้งผลการวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน กรณีการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 และเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงมีข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการ ดังนี้

                          1) รัฐโดยศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรเร่งจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพให้ครอบคลุมทั่วถึงและทันเวลาต่อการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนและกลุ่มเสี่ยง เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประชาชน

                          2) รัฐโดยศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ควรกำหนดมาตรการและแนวทางในการให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดหาและกระจายวัคซีนทางเลือกในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

                          3) รัฐโดยศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรสร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อให้เกิดความชัดเจน ไม่ก่อให้เกิดความสับสนในการเข้ารับการฉีดวัคซีน รวมถึงกำหนดและเร่งประชาสัมพันธ์มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลข้างเคียงหรือมีอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีน ว่ามีหลักเกณฑ์และแนวทางในการช่วยเหลือและเยียวยาอย่างไร อันเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการเข้ารับการฉีดวัคซีน

                          4) นอกจากบุคลากรสาธารณสุขด่านหน้าและประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่เสี่ยงแล้ว รัฐควรสนับสนุนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเชิงรุกให้แก่กลุ่มคนซึ่งขาดศักยภาพในการเข้าถึงบริการหรือข่าวสารของรัฐในเรื่องการเข้ารับการฉีดวัคซีน เช่น กลุ่มคนที่มีความจำเพาะด้านสุขภาพ อาทิ คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุ กลุ่มคนด้อยโอกาสทางสังคม อาทิ คนยากจน บุคคลเร่ร่อน หรือผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน โดยจัดให้มีบริการเข้าไปฉีดวัคซีนยังสถานที่ที่กลุ่มคนเหล่านั้นอยู่อาศัยอย่างทั่วถึง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้เกิดอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

                 2.2 รายงานผลการดำเนินงานตามคำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดิน เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2564 

ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ได้มีประกาศ เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ประกาศ วันที่ 8 มิถุนายน 2564 เพื่อเป็นการเร่งรัดให้การขับเคลื่อนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ตามวาระแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพ และประชาชนได้รับประโยชน์โดยเร็ว โดยกำหนดแนวทางการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 ซึ่งสอดคล้องและเป็นไปตามคำวินิจฉัยและข้อเสนอของผู้ตรวจการแผ่นดิน ดังนี้

                          1) ให้มีการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ที่มีคุณภาพและมีจำนวนเพียงพอแก่ประชาชนโดยอย่างน้อยให้ครอบคลุมร้อยละ 70 ของจำนวนประชากร (ไม่น้อยกว่าจำนวนประชากรห้าสิบล้านคน)

                          2) ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ประสานงาน ส่งเสริม และสนับสนุนผู้ผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ในการดำเนินการขึ้นทะเบียนวัคซีนให้เป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

                          3) ให้กรมควบคุมโรค องค์การเภสัชกรรม สถาบันวัคซีนแห่งชาติ สภากาชาดไทย ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ หรือหน่วยงานของรัฐ ที่มีหน้าที่และอำนาจในการให้บริการทางการแพทย์ หรือสาธารณสุขแก่ประชาชน ร่วมมือกันในการดำเนินการจัดหา สั่ง หรือนำเข้าวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 อย่างเร่งด่วน เพื่อให้ประชาชนได้รับวัคซีนที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพอย่างรวดเร็วและทั่วถึงภายใต้กฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง หรือตามหลักเกณฑ์ที่หน่วยงานนั้นๆ กำหนด

                          4) เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ได้มากขึ้นสถานพยาบาลเอกชนและภาคเอกชนอาจจัดหาหรือขอรับการสนับสนุนวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 จากหน่วยงานตามข้อ 3 ภายใต้กฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาให้บริการประชาชนหรือบุคลากรในความดูแลได้ตามความเหมาะสม โดยวัคซีนดังกล่าวต้องเป็นวัคซีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยา และต้องพิจารณากำหนดราคาวัคซีนและการให้บริการที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชน

                          5) โดยที่ในปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ที่ผลิตหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร ยังมีจำนวนจำกัด หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 มาให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ ให้จัดหาจากหน่วยงานตามข้อ 3 และต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหลักเกณฑ์ หรือแผนการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและต้องสอดคล้องกับแนวทางการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 หรือนายกรัฐมนตรีกำหนด

                          การดำเนินการตามวรรคหนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ ให้เป็นไปตามแนวทางหรืออยู่ในการกำกับดูแลของผู้ว่าราชการจังหวัดและคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด เพื่อมิให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการจัดหาวัคซีนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีศักยภาพด้านงบประมาณและรายได้ ที่แตกต่างกัน และเพื่อให้การกระจายวัคซีนในห้วงเวลาวิกฤตมีความเป็นธรรมมากที่สุด

                          ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนและให้ความสำคัญในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในพื้นที่ในการเข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนส่วนรวมของประเทศ

                          6) ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทุกภาคส่วนเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลกับระบบแพลตฟอร์มหมอพร้อมของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของประชาชน ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 และเพื่อให้การบริหารจัดการข้อมูลเป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ

                  ที่ประชุมมีมติ ดังนี้

                  1) รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามคำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดิน กรณีการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญและดำเนินงานตามคำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดินมาอย่างต่อเนื่อง

                  2) มอบหมายให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 ศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกรุงเทพมหานคร รายงานผลดำเนินการตามคำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้ที่ประชุม ศบค. ทราบด้วย 

          3. แผนการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเสนอแผนฯ ดังนี้

                 3.1 หลักการในการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ของประเทศไทย

                          - เป้าหมาย คือ การให้คนไทยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 โดยไม่คิดมูลค่าด้วยความสมัครใจ และได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 อย่างน้อย 50,000,000 คน ภายในเดือนตุลาคม 2564 เพื่อรองรับการเปิดประเทศภายใน 120 วัน รวมทั้งจัดหาวัคซีนโควิดป้องกันโรคโควิด - 19 

                          - วัตถุประสงค์ เพื่อการปกป้องระบบสาธารณสุขของประเทศ การลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตในประชากรกลุ่มเสี่ยง และการเปิดประเทศโดยเร็วเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

                 3.2 การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 ของประเทศไทย ได้จัดสรรวัคซีนป้องกันโรค โควิด – 19 ทั้งหมด 8,500,000 โดส ซึ่งข้อมูล วันที่ 17 มิถุนายน 2564 มีผู้ได้รับวัคซีนรายใหม่ จำนวน 215,885 ราย จำแนกเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 137,776 ราย และผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 จำนวน 78,109 ราย โดยมีจำนวนยอดสะสมการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ถึง 17 มิถุนายน 2564 รวมทั้งสิ้น 7,219,668 ราย จำแนกเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 5,252,531 ราย และผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 จำนวน 1,967,137 ราย

                 3.3 (ร่าง) เกณฑ์การจัดสรรวัคซีนในแต่ละจังหวัด เดือนกรกฎาคม 2564 เป้าหมายให้บริการวัคซีน จำนวน 10,000,000 โดส ในเดือนกรกฎาคม 2564 โดยพิจารณาจัดสรรวัคซีนให้กับผู้ที่ได้จองฉีดวัคซีนล่วงหน้าในระบบหมอพร้อม (ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง) พิจารณาให้กรุงเทพมหานครได้รับการจัดสรรวัคซีนอย่างน้อย 5,000,000 โดส ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 และพิจารณาให้ภูเก็ตได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 อย่างน้อยร้อยละ 70 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564

 

6723 table

 

                 3.4 แผนการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 จำนวน 150,000,000 โดส ของประเทศไทย

                          1) ขณะนี้ประเทศไทยมีการจัดหาหรือดำเนินการเจรจาจองวัคซีนแล้ว 105,500,000 โดส (วัคซีน AstraZeneca จำนวน 61,000,000 โดส วัคซีน Sinovac จำนวน 19,500,000 โดส วัคซีนPfizer จำนวน 20,000,000 โดส และวัคซีน Johnson & Johnson จำนวน 5,000,000 โดส)

                          2) เสนอเพิ่มกรอบการจัดหาวัคซีนจาก 100,000,000 โดส ภายในปี 2564 เป็น 150,000,000 โดส ภายในปี 2565

                          3) วัคซีนที่จัดหาเพิ่มเติมเพื่อรับรองกรณีที่ต้องมีการเพิ่มความครอบคลุมการได้รับวัคซีน เพิ่มกลุ่มเป้าหมาย ให้วัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรค หรือกรณีอื่นใดที่ต้องมีการใช้วัคซีนเพิ่มเติม ทั้งนี้ ขึ้นกับผลการศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีน และสถานการณ์ของเชื้อกลายพันธุ์

                 3.5 สถานะการขึ้นทะเบียนวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ในประเทศไทย ดังนี้

วัคซีน

วันที่ได้รับการอนุมัติและขึ้นทะเบียน

AstraZeneca

20 .. 2564

Sinovac

22 .. 2564

Johnson & Johnson

25 มี.. 2564

Moderna

13 .. 2564

Sinopharm

28 .. 2564

Pfizer / Sputnik V / Biotech / Covaxin

อยู่ระหว่างขึ้นทะเบียน

 

                ที่ประชุมมีความเห็น ดังนี้

                1) การจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ในแต่ละจังหวัดควรมีการจำแนกกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน อาทิเช่น วัคซีนสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นประชาชนทั่วไป วัคซีนสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ใช้แรงงานในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 เป็นต้น

                2) ควรเร่งรัดการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 ให้กับกลุ่มผู้ใช้แรงงานในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อป้องกันการเกิดคลัสเตอร์ (Cluster) ในโรงงานหรือสถานประกอบการ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับภาคอุตสาหกรรมและภาคการส่งออกของประเทศ

                3) ควรพิจารณาการจัดสรรวัคซีนเพิ่มเติมให้กับพื้นที่ท่องเที่ยวภาคตะวันออก เช่น เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี เกาะช้างและเกาะกูด จังหวัดตราด เป็นต้น ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ รวมทั้งควรจัดสรรวัคซีนในพื้นที่จังหวัดชายแดนที่มีการระบาดของโรคโควิด - 19 เช่น จังหวัดจันทบุรี สระแก้ว เป็นต้น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดจากแรงงานต่างด้าว

                ที่ประชุมมีมติ ดังนี้

                1) เห็นชอบหลักการและแผนการจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 เดือนกรกฎาคม 2564 ตามที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเสนอ

                2) เห็นชอบแผนการจัดหา/จัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ให้ครบ จำนวน 150,000,000 โดส เพื่อให้ครอบคลุมประชาชนและกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น รวมทั้ง รองรับการใช้วัคซีนเพื่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรค หรือกรณีอื่นใดที่ต้องมีการใช้วัคซีนเพิ่มเติม

          4. แนวทางการดำเนินการของสถานที่กักกันซึ่งทางราชการกำหนด ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 โดยศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 ได้เสนอหลักการและเหตุผล ตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ที่ 4/2564 เรื่อง แนวปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน .. 2548 (ฉบับที่ 9) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ในการนี้ ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 ได้บูรณาการส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการในระยะต่อไปให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งไม่เป็นภาระต่องบประมาณและการบริหารจัดการสถานการณ์ควบคุมโรคโควิด - 19 ดังนี้

                 4.1 รูปแบบการเดินทางเข้าราชอาณาจักร และสถานที่กักกัน

                          1) การเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรทางอากาศ

                                   (1) ให้ผู้มีสัญชาติไทยและผู้ไม่มีสัญชาติไทยเข้ารับการกักกันตัวในสถานที่กักกันทางเลือก (Alternative Quarantine : AQ) โดยรัฐจะสนับสนุนค่าตรวจหาเชื้อโควิดเฉพาะผู้มีสัญชาติไทย

                                   (2) สถานที่กักกันในรูปแบบเฉพาะองค์กร (Organizational Quarantine : OQ) ใช้รองรับคนไทย 2 กรณี (1) กรณีแรงงานไทยที่เดินทางกลับจากการทำงานในต่างประเทศ ตามแนวทางที่กระทรวงแรงงานกำหนด และ (2) กรณีผู้มีสัญชาติไทยที่ประสบปัญหาตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศและประสงค์จะเดินทางกลับประเทศไทย (กรณีกลุ่มเปราะบาง) ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการต่างประเทศกำหนด

                          2) การเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรทางบก

                          ให้ผู้มีสัญชาติไทยที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรทางบกเข้ารับการกักกันตัวในสถานที่กักกันของรัฐ (State Quarantine : SQ) เนื่องจากจำนวนผู้เดินทางเข้ามีไม่มากนัก อีกทั้งการกำหนดให้เข้ารับการกักกันตัวใน SQ โดยรัฐเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย จะช่วยลดปัญหาการหลบหนีเข้าเมือง ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นพาหะของโรคโควิด - 19 ทั้งนี้ ได้ประสานหน่วยงานที่กำกับการดำเนินการดังกล่าวไม่มีข้อขัดข้องในด้านงบประมาณ

                          3) การเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรทางน้ำ

                          ให้ผู้มีสัญชาติไทยที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรทางน้ำเข้ารับการกักกันตัวใน (Alternative Quarantine : AQ) โดยบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการกักกันตัวเอง

                 4.2 ประเภทของสถานที่กักกัน

                          1) สถานที่กักกันทางเลือก (Alternative Quarantine : AQ) ให้รองรับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่

                                   (1) ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรทางน้ำและทางอากาศ ทั้งผู้มีสัญชาติไทย/ผู้ไม่มีสัญชาติไทย โดยรัฐบาลจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการตรวจหาเชื้อโควิดเฉพาะผู้มีสัญชาติไทย

                                   (2) ผู้ที่ประสงค์เข้ารับการกักกันใน AQ โดยผู้นั้นพร้อมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

                                   (3) ผู้ปฏิบัติงานใกล้ชิดกับผู้เดินทาง กรณีมีภารกิจหรือกิจกรรมที่สัมผัสใกล้ชิด

                                   (4) ผู้มีสัญชาติไทยกลุ่มเปราะบาง/ประสบปัญหาตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการต่างประเทศกำหนด

                                   (5) เจ้าหน้าที่รัฐที่กลับจากปฏิบัติราชการ/ภารกิจนอกราชอาณาจักร (เบิกค่าใช้จ่ายได้)

                          2) สถานที่กักกันของรัฐ (State Quarantine : SQ) ให้รองรับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่

                                   (1) ผู้มีสัญชาติไทยที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรทางบก โดยรัฐเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการกักกันตัว

                                   (2) ผู้สัมผัสใกล้ชิดหรือเสี่ยงสูง ทั้งผู้มีสัญชาติไทย/ผู้ไม่มีสัญชาติไทย

                                   (3) ผู้เดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด ทั้งผู้มีสัญชาติไทย/ผู้ไม่มีสัญชาติไทย

                          3) สถานที่กักกันในรูปแบบเฉพาะองค์กร (Organizational Quarantine : OQ) ประเภท ให้รองรับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่

                                   (1) เจ้าหน้าที่ของรัฐที่กลับจากปฏิบัติราชการหรือภารกิจนอกราชอาณาจักร

                                   (2) ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรของหน่วยงาน สถานประกอบการ หรือแรงงานไทยที่เดินทางกลับประเทศตามที่กระทรวงแรงงานกำหนด

                                   (3) ผู้มีสัญชาติไทยกลุ่มเปราะบาง/ประสบปัญหาตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการต่างประเทศกำหนด

                          4) สถานที่กักกันในรูปแบบเฉพาะองค์กร (Organizational Quarantine : OQ) ประเภท และ ให้รองรับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่

                                   (1) ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อปฏิบัติภารกิจของหน่วยงาน

                                   (2) ผู้ปฏิบัติงานใกล้ชิดกับผู้เดินทาง กรณีมีภารกิจหรือกิจกรรมที่สัมผัสใกล้ชิด

                          5) สถานที่กักกัน Hospital Quarantine (HQ) ให้รองรับผู้ที่มีสัญชาติไทยที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลรัฐ/เอกชน ที่รัฐกำหนดให้เป็นสถานที่กักกัน เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด - 19 โดยมีการนัดหมายไว้ล่วงหน้า ซึ่งค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉพาะการกักกันตนในสถานพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชนให้เป็นไปตามสิทธิ รวมทั้งให้ชำระส่วนเกินสิทธิด้วยตนเองโดยสมัครใจ

                          6) สถานที่กักกัน Alternative Hospital Quarantine (AHQ) ให้รองรับผู้ที่มีสัญชาติไทย/ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชนที่รัฐกำหนดให้เป็นสถานที่กักกัน เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด - 19 โดยมีการนัดหมายไว้ล่วงหน้า และชำระค่าใช้จ่ายเองทั้งหมดระหว่างการรักษาพยาบาลและกักกันตนโดยสมัครใจ

                ที่ประชุมมีมติ เห็นชอบการปรับเปลี่ยนรายละเอียดกลุ่มเป้าหมายและการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของสถานที่กักกันสำหรับรองรับการเข้าราชอาณาจักรทางอากาศ ทางบก และทางน้ำ เพื่อให้ครอบคลุมผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร ทั้งผู้มีสัญชาติไทยและผู้ไม่มีสัญชาติไทย โดยไม่เป็นภาระต่องบประมาณและการบริหารจัดการสถานการณ์ควบคุมโรคโควิด - 19 และให้สนับสนุนงบประมาณของภาครัฐเฉพาะในส่วนของค่าตรวจหาเชื้อโควิด - 19 สำหรับผู้มีสัญชาติไทยที่เข้ารับการกักกันในสถานที่กักกันประเภทต่างๆ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป

          5. ข้อกำหนดการปรับมาตรการควบคุมแบบบูรณาการ ศปก.ศบค. ได้เสนอมาตรการการปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร เพื่อลดผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม และสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดในปัจจุบัน ดังนี้

                5.1 การกำหนดระดับพื้นที่ของสถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร ได้แก่ (1) พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จำนวน 4 พื้นที่/จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ (2) พื้นที่ควบคุมสูงสุด จากเดิม 17 จังหวัด ลดลงเหลือ 11 จังหวัด ประกอบด้วย ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตรัง นครปฐม ปัตตานี เพชรบุรี สงขลา สมุทรสาคร สระบุรี ยะลา และนราธิวาส (3) พื้นที่ควบคุม จากเดิม 56 จังหวัด ลดลงเหลือ 9 จังหวัด จันทบุรี นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา ระนอง ระยอง ราชบุรี สระแก้ว และสมุทรสงคราม และ (4) พื้นที่เฝ้าระวังสูง จำนวน 53 จังหวัดที่เหลือ

                5.2 การผ่อนคลายมาตรการตามระดับของพื้นที่ ดังนี้

                        (1) พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (4 จังหวัด) ให้สวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า เมื่อออกนอกเคหะสถาน หรืออยู่ในที่สาธารณะ ห้ามจัดกิจกรรมรวมคนมากกว่า 50 คน ร้านอาหารสามารถบริโภคในร้านได้ เปิดบริการได้ไม่เกิน 23.00. กรณีร้านที่มีการใช้เครื่องปรับอากาศ ให้นั่งได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของจำนวนที่นั่งปกติ (งดการจำหน่าย และดื่มสุราในร้าน) ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าเปิดบริการได้ตามปกติ ไม่เกิน 21.00 (จำกัดจำนวนคน และงดการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย) ห้ามสถานศึกษาทุกระดับและสถาบันกวดวิชาใช้อาคารสถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอน หรือจัดกิจกรรมที่มีการรวมคนจำนวนมาก เว้นแต่เป็นการใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อจัดกิจกรรมตามแนวทางหรือลักษณะที่นายกรัฐมนตรี หรือ ศบค. ได้อนุญาตไว้แล้ว สถานที่เล่นกีฬาหรือแข่งขันกีฬายังคงปิด ยกเว้นสถานที่เล่นกีฬากลางแจ้ง หรือสถานที่ที่อากาศถ่ายเทได้ดี ให้เปิดได้ไม่เกิน 21.00 . สามารถแข่งขันได้โดยไม่มีผู้ชม ทั้งนี้สถานบริการ สถานบันเทิง (ผับ บาร์ คาราโอเกะ) ยังคงปิดให้บริการ

                        (2) พื้นที่ควบคุมสูงสุด (11 จังหวัด) ให้สวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า เมื่อออกนอกเคหะสถาน หรืออยู่ในที่สาธารณะ ห้ามจัดกิจกรรมรวมคนมากกว่า 100 คน ร้านอาหารสามารถบริโภคในร้านได้ แต่ให้เปิดบริการได้ไม่เกิน 23.00 . (งดการจำหน่าย และดื่มสุราในร้าน) ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าเปิดบริการได้ตามปกติ (จำกัดจำนวนคน งดจัดกิจกรรม ส่งเสริมการขาย) สถานศึกษาทุกระดับและสถาบันกวดวิชาสามารถใช้อาคารสถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอน หรือจัดกิจกรรมที่มีการรวมคนจำนวนมากได้ โดยผ่านความเห็นชอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด กำหนด สถานที่เล่นกีฬาหรือแข่งขันกีฬาเปิดบริการได้ทุกประเภท ไม่เกิน 21.00 . (จำกัดผู้ชม) ทั้งนี้สถานบริการ สถานบันเทิง (ผับ บาร์ คาราโอเกะ) ยังคงปิดให้บริการ

                        (3) พื้นที่ควบคุม (9 จังหวัด) ให้สวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า เมื่อออกนอกเคหะสถาน หรืออยู่ในที่สาธารณะ ห้ามจัดกิจกรรมรวมคนมากกว่า 150 คน ร้านอาหารสามารถบริโภคในร้านได้ (งดการจำหน่าย และดื่มสุราในร้าน) ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าเปิดบริการได้ตามปกติ สถานศึกษาทุกระดับและสถาบันกวดวิชาสามารถใช้อาคารสถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอน กิจกรรมที่มีการรวมคนจำนวนมากตามมาตรการที่ราชการกำหนด สถานที่เล่นกีฬาหรือแข่งขันกีฬาเปิดบริการได้ทุกประเภท (จำกัดผู้ชม) ทั้งนี้สถานบริการ สถานบันเทิง (ผับ บาร์ คาราโอเกะ) ยังคงปิดให้บริการ

                        (4) พื้นที่เฝ้าระวังสูง (53 จังหวัด) ให้สวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า เมื่อออกนอกเคหะสถาน หรืออยู่ในที่สาธารณะ ห้ามจัดกิจกรรมรวมคนมากกว่า 200 คน ร้านอาหารสามารถบริโภคในร้านได้ ห้างสรรพสินค้าเปิดบริการได้ตามปกติ สถานศึกษาทุกระดับและสถาบันกวดวิชา ใช้อาคารสถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอน กิจกรรมที่มีการรวมคนจำนวนมากตามมาตรการที่ราชการกำหนด สถานที่เล่นกีฬาหรือแข่งขันกีฬาเปิดบริการได้ทุกประเภท (จำกัดผู้ชม) ทั้งนี้สถานบริการ สถานบันเทิง (ผับ บาร์ คาราโอเกะ) ยังคงปิดให้บริการ

                        ทั้งนี้ ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 ได้เสนอให้ร้านสะดวกซื้อสามารถเปิดบริการได้ตามปกติ เพื่อแก้ปัญหาแรงงานที่ทำงานไม่เต็มเวลา (Part - time) ให้สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติและมีรายได้

                  ที่ประชุมมีมติ รับทราบและเห็นชอบข้อกำหนดการปรับมาตรการควบคุมแบบบูรณาการ การกำหนดระดับพื้นที่ของสถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร และการผ่อนคลายมาตรการตามระดับของพื้นที่

          6. มาตรการผ่อนคลายสำหรับการถ่ายทำภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ โดยกำหนดแนวปฏิบัติในการถ่ายรายการโทรทัศน์ ละคร ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ดังนี้

                 6.1 ก่อนการถ่ายทำรายการ ให้ขออนุญาตใช้พื้นที่ถ่ายทำ โดยปฏิบัติตามมาตรการของแต่ละระดับเขตพื้นที่การแพร่ระบาด และมีมาตรการคัดกรอง อาทิ การซักประวัติ การจัดทำ Timeline ก่อนวันเข้าร่วมถ่ายทำไม่น้อยกว่า 7 วัน และควรมีการตรวจหาเชื้อโควิด – 19 ด้วยวิธี RT – PCR ในระยะเวลา 72 ชั่วโมง (ข้อแนะนำการตรวจหาเชื้อฯ เฉพาะกรณีที่มีข้อเท็จจริงว่ามีอาการน่าสงสัยหรือมีประวัติการสัมผัสผู้ป่วย และกรณีของบุคคลหน้าฉากที่ต้องถอดหน้ากากและยังไม่มีประวัติการรับวัคซีนครบโดส) รวมทั้งแจ้งประวัติการฉีดวัคซีน ประวัติอาการป่วย และจัดทำข้อมูลแหล่งที่พักอาศัย

                 6.2 ช่วงเวลาระหว่างการถ่ายทำรายการ ให้มีจำนวนผู้เข้าร่วมปฏิบัติทั้งหมดไม่เกิน 50 คน ปฏิบัติตามมาตรการ D–M–H–T–T–A กรณีในพื้นที่เฉพาะ ให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้ร่วมรายการทุกคนสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา โดยให้ยกเว้นผู้ที่ไม่ต้องสวมใส่หน้ากากบางช่วงเวลา ได้แก่ รายการละคร เฉพาะนักแสดงที่เข้าฉากโดยงดเว้นฉากการแสดงที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ รายการประกวดร้องเพลง เฉพาะผู้เข้าร่วมประกวดที่มีการจัดพื้นที่ไว้เฉพาะ รายการเกมโชว์ เฉพาะผู้ร่วมรายการสามารถถอดหน้ากากได้คราวละ 1 คน สำหรับผู้ประกาศข่าว จะต้องจัดให้มีฉากกั้นและเว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร หรือตามความเหมาะสม กรณีในพื้นที่สาธารณะให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้ร่วมรายการทุกคนสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาทุกกรณี นอกจากนี้ การถ่ายทำจะต้องไม่เป็นการสัมผัสใกล้ชิดและเข้าถึงตัวกัน และต้องจัดให้มีระบบระบายอากาศ ระบบดูดอากาศ ระบบฟอกอากาศ และจัดให้มีอุปกรณ์เฉพาะบุคคลแยกจากกัน เช่น ไมโครโฟน เครื่องแต่งกาย เครื่องแต่งหน้า อุปกรณ์อุปโภคบริโภค ทั้งนี้ ให้มีการจัดทำ Timeline ตลอดระยะเวลาการถ่ายทำและหลังการถ่ายทำแล้วเสร็จไม่น้อยกว่า 14 วัน

                 6.3 ช่วงเวลาพักการถ่ายทำรายการ จัดให้มีการทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสร่วมทุกระยะอย่างสม่ำเสมอ จัดให้มีการเข้าใช้งานแบบเหลื่อมเวลา จัดทำมาตรการ D–M–H–T–T–A อย่างเคร่งครัด สำหรับการรับประทานอาหารให้นั่งรับประทานแบบเดี่ยว มีการเว้นระยะ 2 เมตร และจัดอาหารไว้เป็นชุดเฉพาะตัวบุคคล

                 6.4 มาตรการหลังการถ่ายทำ 

                          (1) เมื่อพบกลุ่มเสี่ยงให้คัดแยกบุคคลกลุ่มเสี่ยงเพื่อเข้ารับการตรวจทันที

                          (2) เมื่อพบว่ามีการติดเชื้อ ให้นำส่งบุคคลไปยังสถานพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษา

                          (3) เมื่อพบกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ติดเชื้อ ให้ปิดพื้นที่การถ่ายทำทันที เพื่อทำความสะอาดและฆ่าเชื้อทั้งหมดอย่างน้อย 2 วัน และแจ้งให้สาธารณสุขจังหวัด เข้าร่วมตรวจสอบพื้นที่

                          (4) ติดตามและรายงานอาการ และจำนวนผู้ติดเชื้อทุกวันอย่างต่อเนื่อง

                          (5) ติดตามและรายงานของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ที่มีการติดเชื้อ เพื่อกำหนดระดับความเสี่ยงของบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดโดยละเอียดย้อนหลังไม่น้อยกว่า 7 วัน และดำเนินการกำหนดแนวทางป้องกันของแต่ละระดับกลุ่มเสี่ยง โดยกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูงให้กักตัวและแยกออกจากบุคคลใกล้ชิดทั้งหมด 14 วัน และทำการ RT – PCR ทุก 7 วัน สำหรับกลุ่มสัมผัสวงรอบสอง ให้กักตัว 7 วัน และให้ทำการ RT – PCR หากไม่พบเชื้อสามารถกลับเข้าทำงานได้

                          (6) ให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ทำหน้าที่กำกับติดตามและประสานงานกับกรมควบคุมโรค และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

                ที่ประชุมมีมติ รับทราบและเห็นชอบมาตรการผ่อนคลายสำหรับการถ่ายทำภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์

          7. การปรับวิธีการกักตัวสำหรับผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร กรณีผู้ควบคุมยานพาหนะหรือเจ้าหน้าที่ประจำยานพาหนะซึ่งต้องเดินทางเข้าออกราชอาณาจักร ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศทางอากาศ เฉพาะที่มีฐานปฏิบัติการในประเทศไทย ดังนี้

                 7.1 กรณีไม่ได้ลงจากเครื่องบินหรือลงจากเครื่องบินไม่เกิน 12 ชั่วโมง และผู้ควบคุมยานพาหนะหรือเจ้าหน้าที่ประจำยานพาหนะได้สวมชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล 

                          1) ให้ดำเนินการคุมไว้สังเกต โดยสถานที่ซึ่งผู้เดินทางต้องเข้ารับการคุมไว้สังเกตเป็นที่พำนักของผู้เดินทาง

                          2) หากมีอาการให้รีบแจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ และอยู่ภายใต้กำกับ/ติดตามของสายการบิน

                 7.2 กรณีไม่ได้ลงจากเครื่องบินหรือลงจากเครื่องบินไม่เกิน 12 ชั่วโมง และผู้ควบคุมยานพาหนะหรือเจ้าหน้าที่ประจำยานพาหนะไม่ได้สวมชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล หรือลงจากเครื่องบินเกิน 12 ชั่วโมง 

                          1) ให้เข้ารับการกักกัน โดยอาจเป็นสถานที่พำนักของผู้เดินทางหรือสถานที่อื่นใดตามที่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเห็นสมควร

                          2) หากมีอาการให้รีบแจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ และอยู่ภายใต้กำกับ/ติดตามของสายการบิน

                 ที่ประชุมมีมติ รับทราบและเห็นชอบวิธีการกักตัวสำหรับผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักรของผู้ควบคุมยานพาหนะ/เจ้าหน้าที่ประจำยานพาหนะ ซึ่งต้องเดินทางเข้าออกราชอาณาจักร

          8. หลักการการเปิดพื้นที่นำร่องรับนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดสุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า) โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้นำเสนอ ดังนี้

                 8.1 เกณฑ์การรับนักท่องเที่ยว แบ่งเป็น

                          ก่อนเดินทางเข้ามาถึง

                          1) ให้มีเอกสารที่ใช้ในการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ดังนี้

                                   - หนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรได้ (Certificate of Entry - COE)

                                   - ใบรับรองแพทย์ที่ยืนยันว่าผู้เดินทางไม่มีเชื้อโรคโควิด - 19 (Medical certificate with a laboratory result indicating that COVID -19 is not detected) โดยวิธี RT-PCR โดยมีระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทาง

                                   - กรมธรรม์ประกันภัยที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ และรักษาพยาบาลหรือหลักประกันอื่นใด ซึ่งรวมถึงกรณีโรคโควิด - 19 ตลอดระยะเวลาที่ผู้เดินทางอยู่ในราชอาณาจักร ในวงเงินไม่น้อยกว่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐฯลฯ

                          2) กำหนดประเทศของนักท่องเที่ยวเป็นกลุ่มประเทศเสี่ยงต่ำและปานกลาง หรือกลุ่มประเทศตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และตามที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเสนอ ทั้งนี้ กรณีที่มาจากประเทศอื่นต้องอยู่ในประเทศที่กำหนดอย่างน้อย 21 วัน กรณีผู้มีสัญชาติไทย และชาวต่างชาติที่มีถิ่นพำนักในประเทศไทยจะต้องเดินทางมาจากกลุ่มประเทศเสี่ยงต่ำและปานกลาง หรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

                          3) ได้รับวัคซีนตามกำหนดของประเทศไทยครบกำหนดสองเข็ม (ตามประเภทวัคซีน) อย่างน้อย 14 วัน ก่อนการเดินทาง และมีเอกสารรับรองการได้รับวัคซีน (Vaccine Certificate) กรณีเด็กสามารถเดินทางมาพร้อมผู้ปกครองที่ได้รับวัคซีนตามที่กำหนด

                          4) กรณีเคยติดเชื้อ ต้องได้รับวัคซีนตามกำหนดสองเข็ม (ตามประเภทวัคซีน) อย่างน้อย 14 วัน

                 8.2 ขั้นตอนการปฏิบัติ

                          ก่อนการเดินทาง

                          1) ยื่นเอกสารรับใบอนุญาตเดินทางเข้าประเทศ

                          2) ยืนยันผลการอนุมัติพร้อมกับเอกสาร COE 

                          3) ลงทะเบียนผ่านทาง www.entrythailand.go.th 

                          เมื่อเดินทางมาถึง

                          4) ดำเนินการตามข้อกำหนดผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักรฯ

                          5) ติดตั้งแอปพลิเคชัน Thailand Plus ร่วมกับระบบสารสนเทศอื่นที่ทางจังหวัดกำหนด และในกรณีเดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ตต้องติดตั้งแอปพลิเคชันหมอชนะ (ภาษาอังกฤษ

                          6) เข้ารับการตรวจหาเชื้อการตรวจหาเชื้อโควิด - 19 สนามบิน โรงแรมที่พัก หรือจุดตรวจ

                          7) เดินทางเข้าที่พักที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน SHA Plus กรณีเกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า เข้าที่พักแบบ ALQ

                          8) ทราบผลการตรวจแล้วไม่พบเชื้อ สามารถออกเดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตได้ (กรณีเกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า สามารถออกนอกห้องพัก และใช้บริการในบริเวณที่พัก)

                          9) พำนักในภูเก็ตอย่างน้อย 14 คืน กรณีอยู่น้อยกว่า 14 คืน ต้องเป็นการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรด้วยเที่ยวบินตรงเท่านั้น

                                   - กรณี เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า

                                   วันที่ 1 - 3 นักท่องเที่ยวสามารถออกนอกห้องพักและใช้บริการบริเวณที่พัก

                                   วันที่ 4 - 7 นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางท่องเที่ยวในระบบปิดตามเส้นทางที่กำหนด

                                   วันที่ 8 - 14 นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภอเกาะสมุย อำเภอเกาะพะงัน เกาะเต่า โดยไม่กักตัวแบบมีเงื่อนไข

                          10) การตรวจหาเชื้อโควิด - 19 ด้วยวิธี RT - PCR อีกจำนวน 2 ครั้ง ในวันที่ 6 – 7 และ 12 – 13 หรือตามข้อกำหนดของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 

                          11) ปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T-A อย่างเคร่งครัด

                          ก่อนเดินทางออก

                          12) ก่อนเดินทางออกจากจังหวัดภูเก็ต/พื้นที่ของเกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า ไปจังหวัด อื่นๆ ให้แสดงหลักฐานยืนยันว่าได้พำนักในที่พัก SHA Plus/ALQ ตามระยะเวลาที่กำหนด และมีผลการตรวจเชื้อโควิด – 19 ตามที่ราชการกำหนด

                 8.3 การจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการ

                          1) จังหวัดภูเก็ตดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการควบคุมการเปิดเมืองเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ (Phuket Tourism Sandbox) โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ทำหน้าที่บริหารจัดการ มอบหมายภารกิจ กำกับติดตามการเดินทางเข้า/ออกจังหวัดภูเก็ตของนักท่องเที่ยวต่างชาติและคนไทยทั้งที่เดินทางจากต่างประเทศและภายในประเทศ ตั้งแต่เริ่มเข้ามาจนกระทั่งเดินทางออกจากจังหวัด รวมถึงจัดทำระบบติดตามผลการปฏิบัติงาน ข้อมูลการเข้าออกของนักท่องเที่ยว การเฝ้าระวังและติดตาม ประเมินสถานการณ์การติดเชื้อ ข้อร้องเรียนหรือ ข้อคิดเห็นของประชาชน ตลอดจนปัญหาอุปสรรคการปฏิบัติการและแนวทางแก้ไข เพื่อรายงานให้ ศปก.ศบค. และผู้บริหารระดับสูงทราบอย่างต่อเนื่อง

                          2) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า)

                                   (1) มีระบบกำกับควบคุมในที่พัก (Covid Manager อาสาสมัครสาธารณสุขประจำโรงแรม)

                                   (2) มีระบบกำกับควบคุมในการเดินทาง Sealed Route โดยที่พักและบริษัทนำเที่ยว

                                   (3) จัดระบบควบคุมคัดกรองด่านเข้า-ออกทางอากาศและทางเรือทั้ง 3 เกาะ และเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อตรวจสอบ

                 8.4 การเตรียมความพร้อมประชาชน จัดเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดทำแผนการสื่อสารเพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ในทุกช่องทางการสื่อสาร

                 8.5 การเตรียมความพร้อมมาตรการการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค

                          1) จังหวัดภูเก็ต ใช้ระบบศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) และอาสาสมัครตำบลติดตั้งแอปพลิเคชัน Thailand Plus และแอปพลิเคชันหมอชนะ (ภาษาอังกฤษ) และดำเนินการตามมาตรฐาน SHA Plus และมาตรการ D-M-H-T-T-A

                          2) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า)

                                   (1) จัดตั้งคณะทำงานดำเนินการตามแผนคัดกรองและเฝ้าระวัง

                                   (2) สถานประกอบการต้องมีใบรับรองแสดงภูมิคุ้มกันหมู่

                                   (3) ผู้ให้บริการที่ต้องสัมผัสตรงกับนักท่องเที่ยวต้องใส่ชุดป้องกันและรับวัคซีนครบ 2 โดส

                                   (4) ดำเนินการตามมาตรฐาน SHA Plus และมาตรการ D-M-H-T-T-A

                 8.6 การเตรียมความพร้อมของทรัพยากรด้านการแพทย์สาธารณสุข กำลังคนในการกำกับติดตาม และทรัพยากรสนับสนุนอื่นๆ จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีการจัดบุคลากรทางแพทย์ อุปกรณ์ และหอผู้ป่วยเพื่อรองรับกรณีมีผู้ป่วยอย่างเพียงพอ พร้อมจัดทำแผนเพื่อรับสถานการณ์โดยจัดตั้ง Command Center และคณะทำงานเพื่อกำกับดูแลและให้คำแนะนำ

                 8.7 การจัดทำแผนรับมือและแผนชะลอหรือยกเลิกโครงการ

                 จังหวัดภูเก็ต กรณีมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่มากกว่า 90 รายต่อสัปดาห์ มีลักษณะการกระจายโรคในจังหวัดทั้ง 3 อำเภอ และมากกว่า 6 ตำบล และมีการระบาดเกิน 3 คลัสเตอร์ หรือมีการระบาดในวงกว้างที่หาสาเหตุหรือความเชื่อมโยงไม่ได้ มีผู้ติดเชื้อครองเตียงตั้งแต่ร้อยละ 80 ของศักยภาพ โดยจะมีมาตรการปรับเปลี่ยน 4 ระดับ ดังนี้

                          1) ปรับลดกิจกรรม

                          2) ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเพื่อรองรับสถานการณ์ (Sealed route)

                          3) มาตรการกักตัวภายในสถานที่พัก Hotel Quarantine

                          4) ทบทวนยุติโครงการ Phuket Sandbox 

                 เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า จัดทำแผนเกณฑ์การยกเลิกการรับนักท่องเที่ยว เมื่อมีการระบาดโดยใช้ศักยภาพในการรองรับของโรงพยาบาลเกาะสมุย (โรงพยาบาลแม่ข่ายใน 3 เกาะ) เป็นเกณฑ์กำหนด โดยระบบของเกาะสมุยสามารถรองรับการติดเชื้อสะสมได้ในระบบ Samui Sealed Route Model ได้ 20 รายต่อ 2 สัปดาห์ ซึ่งสามารถรองรับการระบาดรุนแรงของโรคได้ทั้งหมดในกรณีที่ไม่มีการส่งต่อ และสามารถรองรับผู้ป่วยได้มากขึ้น เมื่อส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงขึ้นได้ ทั้งนี้ เมื่อพบผู้ติดเชื้อ และคาดการณ์ว่าจะมีการระบาดที่ระบบปกติจะไม่สามารถรองรับได้ จึงจะกลับไปใช้ระบบ ALQ ของกระทรวงสาธารณสุข

                 ที่ประชุมมีมติ รับทราบและเห็นชอบหลักการการเปิดพื้นที่นำร่องรับนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดสุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า) โดยมีความเห็นและข้อสังเกต ดังนี้

                 1. การพิจารณาหลักการการเปิดพื้นที่นำร่องรับนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต และจังหวัด สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า) เป็นความตกลงร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ โดยคำนึงถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดในพื้นที่ จำนวนผู้ได้รับการฉีดวัคซีน และความพร้อมด้านสาธารณสุข เป็นสำคัญ ซึ่งจะต้องดำเนินการและปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขตามที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดและคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดจะต้องติดตามและประเมินผลสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

                 2. แนวทางการเปิดพื้นที่นำร่องเพื่อรับนักท่องเที่ยวในพื้นที่อื่นๆ ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เสนอนั้น ควรให้มีการหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างผู้ประกอบการกับประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด เพื่อทราบความต้องการที่แท้จริงของพื้นที่

                 3. เกณฑ์การรับนักท่องเที่ยวที่กำหนดให้นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้ามาประเทศไทยต้องได้รับวัคซีนตามกำหนดของประเทศไทยครบ 2 เข็ม ตามประเภทวัคซีน หรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด อย่างน้อย 14 วัน และมีเอกสารรับรองการได้รับวัคซีน โดยจะต้องเป็นวัคซีนที่ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก World Health Organization : WHO 

          ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี

          1. ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.) และโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 สร้างความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดในแต่ละพื้นที่ ข้อมูลการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 รวมทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมและจำนวนผู้ติดเชื้อที่รักษาหายแล้วเพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของจำนวนตัวเลขที่มีแนวโน้มอยู่ในภาวะที่ควบคุมได้

          2. ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 กรุงเทพมหานคร กระทรวงแรงงาน และกระทรวงยุติธรรม เร่งดำเนินการตรวจคัดกรองเชิงรุกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และพื้นที่กลุ่มเสี่ยงอื่นที่เป็นคลัสเตอร์ (Cluster) ทั้งในพื้นที่ชุมชนและแคมป์คนงานก่อสร้าง เพื่อป้องกันและควบคุมไม่ให้มีการระบาดของโรคโควิด - 19 เพิ่มขึ้น รวมทั้งให้มีการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรค โควิด - 19 ในเรือนจำ/สถานกักกันด้วย

          3. ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด – 19 ดำเนินการในการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ดังนี้

                 3.1 กำหนดหลักเกณฑ์และตัวชี้วัดการจัดสรรวัคซีนในแต่ละจังหวัดตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยจัดสรรให้กับผู้ที่ขึ้นทะเบียนการฉีดวัคซีนไว้แล้ว และให้พิจารณาการจัดสรรวัคซีนให้กลุ่มเป้าหมายอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น กลุ่มเรือนจำและผู้ต้องขัง กลุ่มครูและโรงเรียน กลุ่มนักบินและลูกเรือ พื้นที่จังหวัดชายแดน พื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ พื้นที่การท่องเที่ยว พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พื้นที่อุตสาหกรรม เป็นต้น โดยพิจารณาตามความจำเป็นเร่งด่วน และความเป็นธรรมให้กับทุกกลุ่ม รวมทั้ง คำนึงถึงการกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึงในภาพรวมของประเทศด้วย

                 3.2 จัดทำรายละเอียดเกณฑ์การจัดสรรวัคซีนในแต่ละจังหวัดและพื้นที่ให้มีความชัดเจน พร้อมนำเสนอจำนวนการจัดส่งวัคซีน และการฉีดวัคซีน โดยให้มีข้อมูลที่ครอบคลุมทั้งในระดับจังหวัดและระดับพื้นที่ (อำเภอ/เขต) และระดับกลุ่มเป้าหมาย

                 3.3 ให้กระทรวงแรงงาน จัดทำข้อมูลจำนวนแรงงานทั้งในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 และผู้ใช้แรงงานนอกระบบประกันสังคม เพื่อให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 สามารถดำเนินการบริหารจัดการวัคซีนได้อย่างเหมาะสมต่อไป

          4. ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการนัดหมายฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 โดยให้หน่วยบริการฉีดวัคซีนกำหนดเวลานัดหมายผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนตามจำนวนวัคซีนที่ได้รับการจัดสรรหรือตามความพร้อมของหน่วยให้บริการเพื่อไม่ให้เกิดปัญหากรณีประชาชนไม่ได้รับการฉีดวัคซีนตามที่ได้นัดหมายล่วงหน้า

          5. ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงกรณีการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ดังนี้

                 5.1 ให้เน้นย้ำหลักการดำเนินการของรัฐบาลที่ไม่ปิดกั้นภาคเอกชนในการจัดหาวัคซีน แต่เนื่องจากปัจจุบันวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ได้รับการอนุญาตขึ้นทะเบียนแบบฉุกเฉิน บริษัทผู้ผลิตวัคซีน ประเทศผู้ผลิตวัคซีนจึงกำหนดเงื่อนไขให้รัฐหรือหน่วยงานของรัฐที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลของประเทศผู้ซื้อวัคซีนเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อ สำหรับการกระจายวัคซีนได้มีการพิจารณาจากจำนวนประชากร สถานการณ์การแพร่ระบาด กลุ่มเป้าหมาย และพื้นที่ตามนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจการท่องเที่ยว เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ รวมถึงมีการร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อให้สามารถกระจายและฉีดวัคซีนให้กับประชาชนได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง และให้จัดสรรงบประมาณในการเยียวยาผลกระทบหลังฉีดวัคซีนเพื่อช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากการฉีดวัคซีนอีกด้วย

                 5.2 ให้หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลเอกชน และภาคเอกชน ที่ประสงค์ดำเนินการจัดหา/สั่ง หรือนำเข้าวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ทราบถึงขั้นตอน ระเบียบและวิธีการ การจัดสรรและการจัดหางบประมาณเพื่อดำเนินการเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้งบประมาณของตนเอง รวมถึงความรับผิดชอบหากผู้รับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 เกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น การจัดทำประกันที่คุ้มครองกรณีได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด - 19 (อาการแพ้วัคซีน หรือเสียชีวิต) เป็นต้น

          6. ให้ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) ศูนย์ปฏิบัติแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้านความมั่นคง (ศปม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบมาตรการในแต่ละจังหวัดเพื่อให้สอดคล้องมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และขอให้เน้นย้ำการป้องกันการทุจริตในทุกกรณีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 การผ่อนคลายมาตรการ การบริหารจัดการวัคซีน รวมทั้งเข้มงวดการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ และการเปิดให้บริการของร้านอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดมากขึ้น

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 22 มิถุนายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A6723

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

BITKUB

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!