WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราการจ่ายเงินสมทบของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตนในกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน ในกรณีการระบาดของโ

GOV 5

ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราการจ่ายเงินสมทบของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตนในกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 .. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน ในกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 .. .... รวม 2 ฉบับ

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการ

          1. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราการจ่ายเงินสมทบของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน ในกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 .. ....

          2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน ในกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 .. .... 

           รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ให้นำร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาพร้อมกับร่างพระราชกฤษฎีกาในคราวเดียวกัน

          รง. เสนอว่า

          1. เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งมีการระบาดในประเทศไทยอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลจึงสมควรเร่งให้ความช่วยเหลือแก่แรงงานนอกระบบ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจ โดยการลดอัตราเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม .. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) .. 2558 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

          2. ในคราวประชุมคณะกรรมการประกันสังคมและที่ปรึกษา (ชุดที่ 13) ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบแนวทางการเยียวยาและการฟื้นฟูแรงงานนอกระบบจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้กับผู้ประกันตนตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ ดังนี้

                 2.1 เห็นชอบการลดเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ เหลือร้อยละ 60 ของเงินสมทบเดิม เป็นระยะเวลา 6 เดือน ดังนี้

 

ประเภทการส่งเงินสมทบ

อัตราเงินสมทบเดิม

อัตราเงินสมทบใหม่

ทางเลือกที่ 1 ได้ประโยชน์ทดแทน 3 กรณี

70 บาทต่อเดือน

42 บาทต่อเดือน

ทางเลือกที่ 2 ได้ประโยชน์ทดแทน 4 กรณี

100 บาทต่อเดือน

60 บาทต่อเดือน

ทางเลือกที่ 3 ได้ประโยชน์ทดแทน 5 กรณี

300 บาทต่อเดือน

180 บาทต่อเดือน

 

                  2.2 สำหรับเงินสมทบที่รัฐบาลชำระเข้ากองทุนประกันสังคมให้ดำเนินการปรับลดให้สอดคล้องกับมาตรา 40 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม .. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) .. 2558 ที่บัญญัติให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงแต่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตน

          3. โดยที่มาตรา 40 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ บัญญัติให้หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตน ประเภทของประโยชน์ทดแทน ที่จะได้รับ ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทน ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และมาตรา 40 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตน

          รง. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราการจ่ายเงินสมทบของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน ในกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 .. .... เพื่อลดอัตราการจ่ายเงินสมทบที่ผู้ประกันตน ซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบต้องจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม โดยลดอัตราเงินสมทบลงเหลือร้อยละ 60 ของเงินสมทบเดิมเป็นระยะเวลา 6 เดือน และยกร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน ในกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 .. .... เพื่อลดอัตราการจ่ายเงินสมทบที่รัฐบาลต้องจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมและสอดคล้องกับการลดอัตราเงินสมทบฯ ตามร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นระยะเวลา 6 เดือน ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับมติของคณะกรรมการประกันสังคมและที่ปรึกษา (ชุดที่ 13) ตามข้อ 2 และมาตรา 40 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว

          4. รง. ได้เสนอรายละเอียดข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเสนอพร้อมกับการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ .. 2561 มาด้วยแล้ว ดังนี้

                 4.1 ภายหลังปรับลดอัตราการจ่ายเงินสมทบเป็นระยะเวลา 6 เดือน คาดว่าจะมีเงินสมทบลดลง 567 ล้านบาท โดยลดจากจำนวนเดิม 1,417.5 ล้านบาท เหลือจำนวน 850.5 ล้านบาท โดยการลดลงของเงินสมทบจะไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการเงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ เนื่องจากสำนักงานประกันสังคมจัดสรรเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพตามอัตราปกติสำหรับการบริหารจัดการเงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีอื่นจะได้รับผลกระทบในระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งสำนักงานประกันสังคมสามารถบริหารจัดการด้วยการนำเงินลงทุนที่มีสภาพคล่องมาจ่ายได้ โดยไม่ส่งผลกระทบในระยะยาว

                 4.2 การปรับลดอัตราการจ่ายเงินสมทบเป็นระยะเวลา 6 เดือน จะส่งผลให้ผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบลดลง 378 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตนจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในระหว่างการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และช่วยให้ผู้ประกันตนมีกำลังซื้อมากขึ้น และส่งผลให้รัฐบาลนำส่งเงินสมทบลดลง 189 ล้านบาท รวมทั้งจะช่วยให้แรงงานนอกระบบมีแนวโน้มที่จะเลือกส่งเงินสมทบตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ ซึ่งเป็นแบบสมัครใจเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่มีการลดอัตราการจ่ายเงินสมทบดังกล่าว

          สาระสำคัญของร่างกฎหมาย

          1. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราการจ่ายเงินสมทบของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน ในกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 .. .... มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้

                 1.1 กำหนดให้ลดอัตราการจ่ายเงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ที่ต้องจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมตามพระราชบัญญัติประกันสังคม .. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) .. 2558 ดังนี้

 

ประเภทการส่งเงินสมทบ

อัตราเงินสมทบเดิม

อัตราเงินสมทบใหม่

ทางเลือกที่ 1 ได้ประโยชน์ทดแทน 3 กรณี ได้แก่

     1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

     2. กรณีทุพพลภาพ

     3. กรณีตาย

70 บาทต่อเดือน

42 บาทต่อเดือน

ทางเลือกที่ 2 ได้ประโยชน์ทดแทน 4 กรณี ได้แก่

     1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

     2. กรณีทุพพลภาพ

     3. กรณีตาย

     4. กรณีชราภาพ

100 บาทต่อเดือน

60 บาทต่อเดือน

ทางเลือกที่ 3 ได้ประโยชน์ทดแทน 5 กรณี wfhcdj

     1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

     2. กรณีทุพพลภาพ

     3. กรณีตาย

     4. กรณีชราภาพ

     5. กรณีสงเคราะห์บุตร

300 บาทต่อเดือน

180 บาทต่อเดือน

 

                  1.2 กำหนดให้ใช้อัตราเงินสมทบตามข้อ 1.1 ตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนถัดไปจากเดือนที่ พระราชกฤษฎีกานี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้มีผลใช้บังคับเป็นระยะเวลา 6 เดือน

          2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน ในกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 .. .... มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้

                 2.1 กำหนดให้ลดอัตราการจ่ายเงินสมทบที่รัฐบาลต้องจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ ดังนี้

 

ประเภทการส่งเงินสมทบ

อัตราเงินสมทบเดิม

อัตราเงินสมทบใหม่

กรณีเงินสมทบสำหรับผู้ประกันตนตามทางเลือกที่ 1

30 บาทต่อเดือน

21 บาทต่อเดือน

กรณีเงินสมทบสำหรับผู้ประกันตนตามทางเลือกที่ 2

50 บาทต่อเดือน

30 บาทต่อเดือน

กรณีเงินสมทบสำหรับผู้ประกันตนตามทางเลือกที่ 3

150 บาทต่อเดือน

90 บาทต่อเดือน

 

                  2.2 กำหนดให้ใช้อัตราเงินสมทบตามข้อ 2.1 ตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนถัดไปจากเดือนที่กฎกระทรวงนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้มีผลใช้บังคับเป็นระยะเวลา 6 เดือน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 15 มิถุนายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A6545

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!