WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมรัฐมสตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 24

GOV8

 

 

ผลการประชุมรัฐมสตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 24

          คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 24 (ASEAN+3 Finance Ministers’ and Central Bank Governors’ Meeting: AFMGM+3) ซึ่งสาธารณรัฐเกาหลีและบรูในดารุสซาลามทำหน้าที่ประธานร่วมและได้จัดประชุมในรูปแบบการประชุมทางไกลเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2564 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุม สรุปได้ ดังนี้

 

          1. สรุปผลการประชุม AFMGM+3

 

ประเด็น

สาระสำคัญ

การพัฒนาและแนวโน้มเศรษฐกิจและการเงินของภูมิภาค

ที่ประชุมได้รับทราบรายงานเศรษฐกิจจากผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งเห็นพ้องว่า ทิศทางเศรษฐกิจของโลกและของภูมิภาคจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในปี 2564 เนื่องจากมีการฉีดวัคซีนป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในจำนวนที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2564 จะขยายตัวที่ร้อยละ 6 และในปี 2565 จะขยายตัวที่ร้อยละ 4 ขณะที่สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 (ASEAN+3 Macroeconomic Research Office: AMRO) คาดว่าปี 2564 เศรษฐกิจประเทศไทย (ไทย) จะเติบโตที่ร้อยละ 2.3 และปี 2565 ร้อยละ 4.8 นอกจากนี้ มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในทิศทางเดียวกัน คือ ประเทศสมาชิกอาเซียน+3 ควรมุ่งเน้นการดำเนินนโยบายเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม มีเสถียรภาพและยั่งยืนเป็นสำคัญ เช่น สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลสนับสนุนการใช้ทรัพยากรภายในประเทศ ปรับปรุงระบบภาษีและความร่วมมือทางภาษี และส่งเสริมการเป็นเศรษฐกิจสีเขียว

การเสริมสร้างความร่วมมือทางการเงินของภูมิภาค

- ที่ประชุมยินดีกับความสำเร็จในการปรับปรุงประสิทธิภาพของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี (Chiang Mai Initiative ultilateralisation: CMIM (มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564) ซึ่งจะทำให้สมาชิกได้รับความช่วยเหลือทางการเงินในส่วนที่ไม่เชื่อมโยงกับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งประเทศสมาชิกยังสามารถใช้เงินสกุลท้องถิ่นสมทบเงินใน CMIM ได้

ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการตามภารกิจหลักของ AMRO ได้แก่ การจัดทำแผนการดำเนินการระยะกลางฉบับปรับปรุง ปี 2564-2568

- ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าของมาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียเพื่อส่งเสริมตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน

- ที่ประชุมได้รับทราบการจัดตั้งคณะทำงานพิจารณาความเป็นไปได้ของมาตรการริเริ่มใหม่ๆ ได้แก่ การจัดหาเงินทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนากลไกเพื่อรองรับปัญหาด้านมหภาคและปัญหาเชิงโครงสร้าง ทั้งนี้ เพื่อขยายความร่วมมือทางการเงินให้ครอบคลุม ส่งเสริมความเจริญเติบโตของภูมิภาค อาเชียน+3 รวมทั้งสอดคล้องกับความท้าทายทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป

อื่นๆ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวในที่ประชุม โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างครอบคลุมและยั่งยืนและสนับสนุนการพัฒนาพันธบัตรของภูมิภาคอาเซียน+3 โดย กค. ได้ออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนเป็นครั้งแรกของไทยเมื่อเดือนสิงหาคม 2563 และปัจจุบันมีการออกพันธบัตรแล้วทั้งสิ้น 1 แสนล้านบาท ซึ่งจะนำเงินที่ได้จากพันธบัตรไปใช้เป็นเงินทุนในโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเพื่อสนับสนุนการพื้นตัวของประเทศจากโควิด-19 รวมทั้งมีแผนการออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนเพิ่มเติมในระยะต่อไปด้วย

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 15 มิถุนายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A5629

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!