WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอความเห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น สมัยพิเศษ

GOV8 copy

ขอความเห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น สมัยพิเศษ

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ ดังนี้

          1. เห็นชอบถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น สมัยพิเศษ (The Special AMEM-METI Consultations Meeting)

          2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน) เป็นผู้ให้การรับรองในถ้อยแถลงร่วมฯ นี้ ร่วมกับรัฐมนตรีพลังงานของกลุ่มประเทศสมาชิกดังกล่าวได้

          3. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น สมัยพิเศษ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงพลังงานและคณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมประชุมดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง

          สาระสำคัญของร่างถ้อยแถลงร่วมฯ

          ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น สมัยพิเศษ มีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้

          1. การตระหนักถึงสถานการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นทั่วโลกซึ่งมีสาเหตุมาจากภาวะโลกร้อนและความเร่งด่วนในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเติบโตสีเขียวเพื่อมุ่งสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจและการปกป้องสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันต้องสามารถรับประกันการเข้าถึงพลังงาน ความมั่นคง และความยืดหยุ่นเพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในระดับโลก

          2. การเสริมสร้างความร่วมมือกับสถาบันวิจัยเศรษฐกิจอาเซียนแลเอเชียตะวันออก (ERIA) เพื่อการแบ่งปันองค์ความรู้และรับการสนับสนุนจาก ERIA ในการร่างแผนงานสำหรับการบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง

          3. การกำหนดแผนงานสำหรับการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศตามการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เงื่อนไขสภาพทางภูมิศาสตร์ นโยบาย และสถานการณ์ เป็นต้น

          4. การส่งเสริมการใช้แหล่งพลังงาน เทคโนโลยี ในการด้านพลังงานหมุนเวียนและประสิทธิภาพทางการใช้พลังงาน พลังงานนิวเคลียร์ การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างสะอาด รวมถึงการกำหนดกฎระเบียบทางการค้าและการลงทุนที่เหมาะสม

          5. ความพยายามร่วมกันในการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะส่งผลต่อเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกตามกำหนดในข้อตกลงปารีสส่งเสริมการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาค

          6. การสนับสนุนต่อข้อเสนอของญี่ปุ่นเกี่ยวกับข้อริเริ่มการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานแห่งเอเชีย” (ASIA Energy Transition Initiative: AETI) ซึ่งเป็น ข้อริเริ่มที่ให้การสนับสนุนที่หลากหลายสำหรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างเป็นรูปธรรมในภูมิภาคเอเชีย ด้วยการให้เงินทุนสนับสนุนพัฒนาเทคโนโลยีจากกองทุนสำหรับนโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการลดคาร์บอนการพัฒนาทรัพยากรบุคคลผ่านการฝึกอบรมและการประชุมปฏิบัติการต่างๆ รวมถึงการแบ่งปันองค์ความรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น เครือข่ายเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน

          7. การร่วมยืนยันความจำเป็นของการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานที่หลากหลายและสามารถปฏิบัติได้จริงในภูมิภาคในเอเชียและยินดีกับคณะกรรมการชุดใหม่ที่จัดตั้งขึ้นโดยภาคอุตสาหกรรมและสถาบันการเงินเพื่อศึกษาเกี่ยวกับหลักการด้านการเงินเพื่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานแห่งเอเชีย

          8. การขยายความร่วมมือไปยังประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากภูมิภาคอาเซียน รวมถึงการจัดประชุมหุ้นส่วนการเติบโตสีเขียวแห่งเอเชียในเดือนตุลาคมต่อไปด้วย

          ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานจะเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น สมัยพิเศษ (The Special AMEM-METI Consultations Meeting) ในวันที่ 21 มิถุนายน 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 15 มิถุนายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A6527

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!