WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพัฒนาเศรษฐกิจการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวฝั่งอันดามันสู่อ่าวไทย ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร

GOV

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพัฒนาเศรษฐกิจการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวฝั่งอันดามันสู่อ่าวไทย ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร

          คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพัฒนาเศรษฐกิจการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวฝั่งอันดามันสู่อ่าวไทย ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป

          เรื่องเดิม

          1. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สผ.) ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพัฒนาเศรษฐกิจการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวฝั่งอันดามันสู่อ่าวไทย ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร มาเพื่อดำเนินการโดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อสังเกต รวม 6 ประเด็น ได้แก่ 1) แนวทางการพัฒนากลไกภาครัฐที่เกี่ยวข้อง (2) แนวทางการพัฒนาความพร้อมด้านเส้นทางคมนาคม (3) แนวทางการพัฒนาสื่อและช่องทางการประชาสัมพันธ์ (4) แนวทางการกำหนดสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการ และชุมชนท้องถิ่น (5) แนวทางการกำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวฝั่งอันดามันสู่อ่าวไทย (6) แนวทางการท่องเที่ยวยุค New Normal 

          2. รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ คค. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานและข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานและข้อสังเกตดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

          ข้อเท็จจริง 

          คค. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายงานและข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ โดยสรุปผลการพิจารณาดังนี้

 

ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ

 

ผลการพิจารณา

1. แนวทางการพัฒนากลไกภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

ควรมีการกำหนดแผนบูรณาการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวฝั่งอันดามันสู่อ่าวไทย โดยมีลักษณะเป็นแผนภาพรวมที่มีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความสอดคล้องของแผนที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

 

เห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ โดย กก. เห็นว่าควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นสร้างความหลากหลายด้านการท่องเที่ยวเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (.. 2561 - 2580) โดยเน้นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (จากน้ำพุร้อนอันดามัน สู่สปา อ่าวไทย) อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมและพัฒนาการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวฝั่งอันดามันสู่อ่าวไทยมากยิ่งขึ้น

2. แนวทางการพัฒนาความพร้อมด้านเส้นทางคมนาคม

ควรเร่งรัดผลักดันโครงการสร้างถนนสายรอง เพื่อเชื่อมต่อกับทางหลวงแผ่นดินสู่แหล่งท่องเที่ยวสำคัญในภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรถึงจังหวัดสงขลา

 

เห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ โดย สศช. เห็นว่า การพัฒนาระบบคมนาคมต้องคำนึงถึงความสะดวก และความเชื่อมโยงของรูปแบบการคมนาคมในระบบต่างๆ โดยต้องดำเนินการให้เชื่อมโยงไปสู่แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาระบบคมนาคมอาจต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากการท่องเที่ยวด้วย เช่น การเดินทางของคนในพื้นที่และการขนส่งสินค้าระหว่างพื้นที่

3. แนวทางการพัฒนาสื่อและช่องทางการประชาสัมพันธ์

ควรมีการพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจากฝั่งอันดามันสู่ฝั่งอ่าวไทยให้เข้าสู่สากล

 

เห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ โดย สศช. เห็นว่า การกำหนดแนวทางการส่งเสริมผู้ประกอบการให้พัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวควรควบคู่ไปกับการเชื่อมโยงพื้นที่ท่องเที่ยว เนื่องจากปัจจุบันการท่องเที่ยวฝั่งอ่าวไทยยังไม่แพร่หลาย และมีจำนวนนักท่องเที่ยวไม่มากนัก จึงอาจไม่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมากได้

4. แนวทางการกำหนดสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการ และชุมชนท้องถิ่น

ควรกำหนดนโยบายในการสนับสนุนและกระตุ้นการท่องเที่ยวในรูปแบบของการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี

 

เห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ โดย สศช. เห็นว่า การให้สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการอาจต้องพิจารณากำหนดระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ที่แน่นอน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวมในระยะยาวได้

5. แนวทางการกำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวฝั่งอันดามันสู่อ่าวไทย

ควรมีการศึกษาและรวบรวมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวสำคัญตามเส้นทางเชื่อมโยงการท่องเที่ยวฝั่งอันดามันสู่อ่าวไทย

 

เห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ โดย คค. ได้ดำเนินการบูรณะเส้นทางคมนาคมสายหลักในการเดินทางสู่ภาคใต้ คือทางหลวงหมายเลข 4 และ 41 เริ่มต้นจาก อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ - อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง มาตั้งแต่ปี 2558

6. แนวทางการท่องเที่ยวยุค New Normal ควรมีมาตรการรักษาความสะอาด ความปลอดภัยในทุกขั้นตอนของสายการบิน โรงแรมที่พักต่างๆ และสถานที่ท่องเที่ยว

 

เห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ โดย คค. เห็นควรเร่งรัดปรับปรุงรักษาโครงข่ายถนนให้อยู่ในสภาพดี มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการเดินทางของนักท่องเที่ยว พร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยให้อยู่ในระดับสากล

 

          ทั้งนี้ คค. มีความเห็นเพิ่มเติมว่า คค. มีแผนงาน/โครงการ ที่จะสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมจากฝั่งอันดามันสู่อ่าวไทย ด้วยระบบการขนส่งทางบก (ถนนและราง) ทางน้ำ ด้วยการผลักดันการพัฒนาท่าเทียบเรือทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย และทางอากาศด้วยการสนับสนุนให้มีการเพิ่มสายการบินและเที่ยวบินจากต่างพื้นที่ (ในประเทศและต่างประเทศ) มายังพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ซึ่ง คค. จะได้ใช้ข้อมูลในรายงานการศึกษาฯ ดังกล่าว เพื่อกำกับและเร่งรัดติดตามการดำเนินโครงการของหน่วยงานในสังกัดต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 8 มิถุนายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A6274

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!