WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการพิจารณาญัตติกรณีชาวต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งตรวจพบการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เพื่อเป็นแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ของสภาผู้แทนราษฎร

GOV3

ผลการพิจารณาญัตติกรณีชาวต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งตรวจพบการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เพื่อเป็นแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ของสภาผู้แทนราษฎร

          คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณาญัตติกรณีชาวต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งตรวจพบการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เพื่อเป็นแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ของสภาผู้แทนราษฎร ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป

          เรื่องเดิม

          1. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เสนอญัตติกรณีชาวต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งตรวจพบการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เพื่อเป็นแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ของสภาผู้แทนราษฎร มาเพื่อดำเนินการ โดยสภาผู้แทนราษฎรได้มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกรณีชาวต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งตรวจพบการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เพื่อเป็นแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ดังนี้ 1) มาตรการในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2) มาตรการให้ความช่วยเหลือ และการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ และ 3) ข้อเสนอแนะอื่นๆ เช่น รัฐบาลโดยศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ควรมีการซักซ้อมแผนเนื่องจากการควบคุมโรคจะต้องมีกิจกรรมที่ต้องกระทำระหว่างหน่วยงานจำนวนมาก อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ กองทัพอากาศ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด

          2. รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นหน่วยงานหลักรับข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของสภาผู้แทนราษฎร ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงแรงงาน (รง.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

          ข้อเท็จจริง

          สธ. ได้ดำเนินการตามคำสั่งรองนายกรัฐมนตรีตามข้อ 2 โดยสรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้

 

ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ

 

ผลการพิจารณา

1. มาตรการในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

 

 

 

     1.1 ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ต้องไม่ปิดบังข้อมูลเพราะจะสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชน ต้องสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นความจริง สร้างความรู้ ความเข้าใจ และแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องให้กับประชาชน        ศบค. ได้มีการชี้แจงสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชนเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักการด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย อีกทั้งเพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความตื่นตระหนก กรณีถ้าพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในพื้นที่โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ กรมประชาสัมพันธ์และศูนย์ปฏิบัติการต่างๆ ได้จัดทำเนื้อหา (Content) หรืออินโฟกราฟฟิก (Infographic) ในประเด็นที่ต้องการชี้แจงประชาชนเป็นการเร่งด่วน ซึ่งมีเนื้อหาที่ถูกต้องและเพียงพอที่จะทำให้ประชาชนมีความเข้าใจที่ถูกต้องและทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในทุกเวลา เพื่อให้ประชาชนคลายความตระหนกและเป็นการป้องกันการเผยแพร่และขยายผลของข่าวปลอมอีกช่องทางหนึ่ง
     1.2 ไม่ควรยกเลิกข้อกำหนดซึ่งออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน .. 2548 (ฉบับที่ 12) เพราะจะนำไปสู่การปิดประเทศ แต่ควรทบทวนถึงความผิดพลาด บกพร่องของข้อกำหนดดังกล่าวที่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานไม่ทราบหรือไม่เข้าใจ        ศบค. ได้มีการทบทวนและปรับปรุงมาตรการป้องกันโรคสำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรให้มีความชัดเจนและรัดกุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งประกาศเป็นข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน .. 2548 (ฉบับที่ 13) ประกาศ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 และคำสั่ง ศบค. ที่ 8/2563 สั่ง วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 มาจนถึงปัจจุบัน

2. มาตรการให้ความช่วยเหลือและการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ

 

 

     2.1 รัฐบาลจะต้องเยียวยาดูแลผู้ได้รับผลกระทบไม่ว่าจะเป็นประชาชน ผู้ประกอบการ และผู้ประกอบธุรกิจ และจะต้องเล็งเห็นความสำคัญในการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยดำเนินการไปพร้อมกับการป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรค  

     กก. ได้จัดกิจกรรมเพื่อเป็นการเรียกความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยวและฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยการสร้างบรรยากาศในการเดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ อาทิ กิจกรรม Happy Bike ไร้โควิดปั่นจักรยานท่องเที่ยวตามประแสส่งเสริมให้กลุ่มชาวต่างชาติที่ทำงานและพำนักในไทยท่องเที่ยวมากขึ้น พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมและขับเคลื่อนการเปิดประเทศ การท่องเที่ยวแบบชีวิตวิถีใหม่ เพื่อขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจภายใต้ความปลอดภัยตามมาตรการทางสาธารณสุขอย่างสมดุล

     2.2 การเยียวยาของภาครัฐที่ยังไม่ครอบคลุมทั่วถึงกลุ่มเปราะบาง ผู้พิการ ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งปัจจุบันยังรอเงินเยียวยาจากรัฐบาลที่ประกาศว่าจะเยียวยาให้ ขอให้เร่งดำเนินการตามที่ประกาศไว้  

     กค. โดยกรมศุลกากร มีมาตรการในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และผู้ประกอบการผลิตในประเทศ รวมถึงลดต้นทุนการผลิตในประเทศ โดยเสนอแก้ไขประกาศกระทรวงการคลังฯ เพื่อยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับสินค้าหน้ากากและวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตของดังกล่าว ได้แก่ หน้ากากชนิดที่ใช้ในห้องผ่าตัด หน้ากากกรองฝุ่น หมอกควัน หรือสารพิษ รวมทั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยและวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเป็นหน้ากากและอุปกรณ์ดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ กค. กำหนด

     พม. ได้มีมาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยากลุ่มเป้าหมาย เช่น การช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน การสงเคราะห์ครอบครัวคนพิการ การฝึกทักษะอาชีพแก่ผู้มีรายได้น้อย สตรี หรือผู้สนใจ รวมถึงการปรับปรุง ซ่อมแซมที่อยู่อาศัยแก่คนพิการหรือผู้สูงอายุ การช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย โดยการเคหะแห่งชาติ พักชำระค่าเช่าซื้อ ระยะเวลา 3 เดือน การปลอดค่าเช่าสำหรับลูกค้าอาคารเช่ารายย่อย รวมทั้งลูกค้าที่เช่าแผงตลาดและร้านค้ารายย่อย ส่วนลดค่าเช่าแผงร้อยละ 50 (ระยะเวลา 3 เดือน)

3. ข้อเสนอแนะอื่นๆ โดยเห็นว่ารัฐบาลโดย ศบค. ควรมีการซักซ้อมแผน เนื่องจากการควบคุมโรคจะต้องมีกิจกรรมที่ต้องกระทำระหว่างหน่วยงานจำนวนมาก และมาตรการของ ศบค. ทั้ง 11 ข้อที่เป็นเอกสิทธิ์ให้กับชาวต่างชาติ หากรัฐบาลเห็นว่าสมควรจะต้องมีการแก้ไขเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน ก็ขอให้รัฐบาลเร่งแก้ไข

 

     กรมควบคุมโรคจะได้เสนอให้มีการซักซ้อมแผนการดำเนินงานในภาวะฉุกเฉิน แบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานระดับกระทรวง เพื่อให้ทราบบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน และเกิดความเข้าใจในการเรียกใช้แผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินในแต่ละด้าน โดยมีการเชื่อมโยงการดำเนินงานในทุกมิติ ได้แก่ มิติด้านสุขภาพ มิติด้านความมั่นคง มิติด้านสังคม และมิติด้านเศรษฐกิจ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถตอบโต้ภาวะฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทันต่อสถานการณ์

     รัฐบาล โดย ศบค. ได้มีการทบทวนและปรับปรุงมาตรการสำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ทั้ง 11 ประเภท โดยประกาศเป็นข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน .. 2548 (ฉบับที่ 13)

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 8 มิถุนายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A6273

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!