WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สรุปผลการพิจารณาแนวทางและความเหมาะสมต่อข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือกรณีการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้

GOV 7

สรุปผลการพิจารณาแนวทางและความเหมาะสมต่อข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือกรณีการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้

          คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการพิจารณาแนวทางและความเหมาะสมต่อข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือกรณีการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป

          เรื่องเดิม

          1. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สผ.) ได้เสนอญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาการให้ความช่วยเหลือกรณีการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ โดยสภาผู้แทนราษฎรได้มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเร่งด่วน มาตรการเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย แนวทางการจัดการสร้างระบบเตือนภัย และข้อเสนอแนะอื่นๆ เช่น รัฐบาลควรดำเนินการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือผู้ประสบภัยในด้านต่างๆ ควรเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นภายหลังจากน้ำท่วม พักการชำระหนี้ และลดดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรและประชาชนที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งวางแผนและทบทวนแผนการระบายน้ำกรณีเกิดเหตุภัยพิบัติน้ำท่วม การฟื้นฟูและเยียวยา การฝึกซ้อม ตลอดจนบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

          2. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) เป็นหน่วยงานหลักรับข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของสภาผู้แทนราษฎร ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

          ข้อเท็จจริง 

          มท. รายงานว่า ได้ร่วมประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 2 ซึ่งเห็นชอบกับข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของ สผ. โดยมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สรุปได้ดังนี้

 

ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของ สผ.

 

ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของหน่วยงาน

1. มาตรการดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเร่งด่วน

   

1.1 รัฐบาลควรดำเนินการจัดสรรงบประมาณให้กับราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อดำเนินการเยียวยา แก้ไข และฟื้นฟูอย่างเร่งด่วนให้กับเกษตรกรผู้ประสบภัยและการคมนาคมสัญจรให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว

 

- คค. (กรมทางหลวง) ได้ดำเนินการก่อนและหลังเกิดอุทกภัย โดยได้ดำเนินการสำรวจความเสียหายของเส้นทางคมนาคม เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการซ่อมแซม พร้อมทั้งทำการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายในลักษณะเดิมอีกในอนาคต

- กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมน้ำแล้งในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ภาชนะกักเก็บน้ำ และได้เตรียมเจ้าหน้าที่ให้พร้อมสำหรับการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่โดยทันที รวมทั้งมีการจัดตั้งงบประมาณประเภทสำรองจ่ายไว้แล้ว

1.2 ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะทหารในพื้นที่เข้าไปช่วยเหลือในเรื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น การขนย้ายสิ่งของ ปศุสัตว์ จัดรถครัวสนามถุงยังชีพ ที่อยู่อาศัยชั่วคราว และเร่งอพยพประชาชนมายังศูนย์อพยพ

 

- กห. ได้ให้ความช่วยเหลือ และได้จัดเตรียมชุดบรรเทาสาธารณภัยให้มีความพร้อมอยู่เสมอ

- กค. เห็นว่า หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการให้ความช่วยเหลือได้ โดยใช้จ่ายจากเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน .. 2562 และหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน .. 2563 ก่อนที่จะมีมาตรการระยะยาวที่จะฟื้นฟู หรือแก้ไขปัญหาอย่างถาวรต่อไป

1.3 ควรใช้กลไกของคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร เนื่องจากมีความแม่นยำและเป็นที่ยอมรับกัน

 

- กษ. ได้กำหนดโครงสร้างการบริหารจัดการภัยพิบัติด้านการเกษตรในภาพรวมของประเทศอย่างเป็นระบบเชื่อมโยงกัน โดยส่วนกลางและส่วนภูมิภาคมีการประสานข้อมูลกัน เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ

1.4 ควรให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ โดยจัดหาวัสดุอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ เวชภัณฑ์ ให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน และควรมีการควบคุมและป้องกันโรคระบาดด้วย

 

- สธ. (กองสาธารณสุขฉุกเฉิน) ได้ให้การสนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ ให้แก่จังหวัดที่ร้องขอรับการสนับสนุน

1.5 ควรต้องเตรียมความพร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว โดยจัดเตรียมเรือท้องแบน เรือเร็ว รถลาก รถยกสูง เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าในการอพยพและประสานกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่น้ำท่วมขัง เพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้า

 

- มท. (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) ได้เตรียมความพร้อมให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตั้งแต่ก่อนเกิดอุทกภัยอย่างเป็นระบบ โดยส่งกำลังเจ้าหน้าที่และเครื่องจักรกลสาธารณภัยไว้เป็นการล่วงหน้า เช่น รถผลิตน้ำดื่ม รถประกอบอาหาร เครื่องกำเนิดไฟฟ้า รถสูบน้ำ เรือท้องแบน เรือพาย และรวมถึงการจัดส่งเฮลิคอปเตอร์เข้าปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ที่เข้าถึงยาก

- กรมชลประทาน ได้มีการติดตั้งสถานีวัดน้ำฝนและสถานีโทรมาตรในจุดเสี่ยงภัยเพิ่มเติม เพื่อใช้ในการเฝ้าระวังและเตือนภัย และจัดสรรทรัพยากรเครื่องจักร อาทิ เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ รถขุด รถบรรทุก สะพานเหล็กชนิดถอดประกอบได้ไปประจำไว้ในพื้นที่เสี่ยงเป็นการล่วงหน้าแล้ว

- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้มีการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นสำคัญ

1.6 ควรให้ความช่วยเหลือเยียวยาและซ่อมแซมโรงเรียน วัด มัสยิด และศาสนสถานต่างๆ ในพื้นที่ประสบภัย

 

- ศธ. ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว รวมทั้งได้มีการฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้บริหาร ครู และนักเรียนควบคู่ด้วย

- วธ. ได้สนับสนุนงบประมาณในการบูรณะ ศาสนสถานและดำเนินการสำรวจความเสียหาย เพื่อดำเนินการซ่อมแซมบูรณะต่อไป

2. มาตรการเยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

   

2.1 รัฐบาลควรเร่งรัดการใช้งบประมาณที่มีอยู่ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในกรณีฉุกเฉิน

 

- สงป. เห็นว่า ควรพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณสำหรับรายการที่ไม่สามารถดำเนินการได้ และรายการที่สามารถชะลอการดำเนินการหรือหมดความจำเป็น เพื่อนำมาใช้ในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

2.2 ควรมีการฟื้นฟูและเยียวยาโดยบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ พม. กษ. สธ. และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ

 

- พม. ได้มีศูนย์ช่วยเหลือสังคม OSCC 1300” ในการรับแจ้งเหตุ ประสานการช่วยเหลือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ การฝึกอาชีพระยะสั้น ปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ/คนพิการ ตลอดจนกำหนดแผนการฟื้นฟูและพัฒนาผู้ประสบ สาธารณภัย

2.3 หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องต้องมีแผนรองรับและมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที ครอบคลุมไปถึงนักท่องเที่ยวที่อยู่ในพื้นที่ที่เกิดเหตุ รวมทั้งระบบประกันสังคมมีการให้ความช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานที่มาจากพื้นที่อื่นและผู้ที่อยู่นอกระบบ

 

- รง. ได้จัดทำแผนช่วยเหลือและฟื้นฟู เช่น ขอความร่วมมือสถานประกอบการที่ไม่ประสบภัยรับแรงงานที่ประสบภัยเข้าทำงาน การจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ จัดหางาน ฝึกอาชีพ และจ่ายเงินเยียวยากรณีว่างงาน

- อก. มีการดำเนินมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่ ผู้ประกอบกิจการ เป็นเวลา 1 ปี

2.4 ควรมีการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเหลือภาคการเกษตร โดยชดเชยความเสียหาย เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน รวมทั้งด้านปศุสัตว์ สำหรับสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

 

- กษ. ได้ให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ แล้ว โดยจ่ายเงินเยียวยากรณีสวนยางประสบภัย และสนับสนุนน้ำหมัก พด.6 รวมทั้งแจกจ่ายเสบียงอาหารสัตว์ ถุงยังชีพสำหรับสัตว์ ดำเนินการอพยพสัตว์ ตลอดจนจัดทีมแพทย์เคลื่อนที่

3. แนวทางการจัดการสร้างระบบเตือนภัย

   

3.1 รัฐบาลควรตั้งศูนย์รายงานข่าวสารเกี่ยวกับน้ำท่วมเพื่อแจ้งข่าวสารให้ประชาชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบ โดยมีระบบการสื่อสารที่ทันสมัย รวมทั้งกำหนดให้ผู้นำท้องถิ่นแจ้งข้อมูลข่าวสารที่ทันเหตุการณ์ให้ประชาชนทราบโดยเร็ว

 

- ดศ. (ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม) มีช่องทางการสื่อสารกับประชาชนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ทั้ง Website Line Facebook และ Twitter เพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องให้ประชาชนรับทราบโดยเร็ว

- กรมประชาสัมพันธ์ ได้มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารระดับจังหวัดขึ้น เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ต่างๆ ทั้งก่อนและหลังเกิดเหตุ

- กรมการปกครอง มีการจัดทำแผนปฏิบัติการสื่อสาร เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติและภาวะฉุกเฉิน พร้อมทั้งได้มีการซักซ้อมแนวทางการปฏิบัติให้กับนายอำเภอ ปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สำหรับกรณีการเกิดเหตุสาธารณภัยทุกรูปแบบ

3.2 ควรมีระบบการแจ้งเตือนล่วงหน้ากรณีเกิดอุทกภัย รวมทั้งจัดตั้งสื่อศูนย์กลางภายในจังหวัด โดยมีหลายช่องทาง เช่น Line Facebook และสถานีวิทยุของรัฐ เพื่อรับแจ้งเหตุฉุกเฉินและปัญหาความเดือดร้อน

 

- อก. มีการจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์วิกฤติเพื่อติดตามนโยบาย ข้อสั่งการ และมาตรการของรัฐบาลที่เกี่ยวกับสถานการณ์วิกฤติหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อหาแนวทางป้องกัน แก้ไขปัญหา ฟื้นฟู เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากภาคอุตสาหกรรมและประชาชนในพื้นที่ประสบภัย

4. ข้อเสนอแนะอื่นๆ

   

4.1 ควรพักการชำระหนี้ให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ และลดดอกเบี้ยให้กับประชาชนที่กู้เงินมาซ่อมแซมที่พักอาศัยที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม

 

- กค. ปัจจุบันมีมาตรการทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้แล้ว

4.2 ควรเร่งรัดการสร้างแหล่งกักเก็บ ชะลอ และระบายน้ำที่มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและสามารถป้องกันปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งได้

 

- กษ. (กรมชลประทาน) ได้จัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ ในช่วงฤดูฝน ดังนี้

- แผนงานก่อนน้ำมา ประกอบด้วยงานขุดลอกกำจัดวัชพืช ซ่อมแซมบำรุงรักษา และการจัดเตรียมเครื่องจักรกล

- แผนงานระหว่างน้ำมา ประกอบด้วย งานเสริมคันน้ำ กระสอบทราย และงานเปิดท่อลอด/ทำนบชั่วคราว

- แผนงานหลังน้ำท่วม ทำการสำรวจความเสียหายของระบบชลประทาน เพื่อซ่อมแซมให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติโดยเร็ว

4.3 ควรจัดสรรงบประมาณสำหรับการป้องกันก่อนเกิดเหตุภัยพิบัติและอุปกรณ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เพียงพอ

 

- สงป. จะดำเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ โดยคำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการในพื้นที่และแผนพัฒนาพื้นที่

4.4 ควรมีการแก้ไขพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการป้องกันภัย ในเรื่ององค์ประกอบของคณะกรรมการป้องกันภัย โดยให้มีฝ่ายของชุมชนเข้าร่วมเป็นกรรมการ รวมทั้งให้ อปท. ประกาศเขตภัยพิบัติ โดยสามารถใช้งบประมาณของท้องถิ่นในการดำเนินการ

 

- มท. (ปภ.) ได้กำหนดกลไกระดับนโยบาย โดยมีแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ .. 2558 ตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย .. 2550 ซึ่งได้กำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการป้องกันภัย โดยมีฝ่ายของชุมชนร่วมเป็นกรรมการด้วยแล้ว

- อปท. สามารถใช้งบประมาณตามที่ กค. กำหนด ทั้งนี้ หากงบประมาณของท้องถิ่นไม่เพียงพอ จังหวัดสามารถพิจารณาใช้จ่ายจากเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ส่วนการประกาศเขตภัยพิบัติเห็นว่า เมื่อท้องถิ่นสามารถให้ความช่วยเหลือได้ จึงไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดให้ อปท. ประกาศเขตภัยพิบัติแต่อย่างใด เนื่องจากจะเกิดความซ้ำซ้อน

4.5 ควรมีการกระจายงบประมาณในการบริหารจัดการสถานการณ์ภัยพิบัติไปสู่ราชการส่วนท้องถิ่นมากขึ้น โดยไม่ต้องรอการอนุมัติจากราชการส่วนกลาง เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที และประชาชนได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว

 

- กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เห็นว่า ในกรณีเกิดสาธารณภัยในพื้นที่ อปท. ไม่ว่าจะมีการประกาศเขตให้ความช่วยเหลือหรือไม่ก็ตาม อปท. สามารถช่วยเหลือประชาชนโดยทันทีได้ตามความจำเป็น ตามข้อ 6 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น .. 2560 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) .. 2561

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 1 มิถุนายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A6065

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!