WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนเมษายน 2564

GOV

สรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนเมษายน 2564

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนเมษายน 2564 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้

          สาระสำคัญ และข้อเท็จจริง

          1. สถานการณ์ราคาสินค้าและบริการเดือนเมษายน 2564 ดังนี้

                  ภาพรวม 

                          ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนเมษายน 2564 กลับมาขยายตัวได้อีกครั้งในรอบ 14 เดือน และขยายตัวสูงสุดในรอบ 8 ปี 4 เดือน เป็นผลจากราคาน้ำมัน ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้เมื่อเทียบกับฐานราคาที่ต่ำมากในปีก่อน ประกอบกับมาตรการลดค่าครองชีพด้านสาธารณูปโภคของรัฐสิ้นสุดลง รวมทั้งอาหารสดหลายชนิดปรับตัวสูงขึ้นตามผลผลิตที่ลดลง ขณะที่สินค้าและบริการอื่นๆ ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ

                          เงินเฟ้อในเดือนนี้ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 3.41 (YoY) โดยมีสาเหตุสำคัญจากสินค้าในกลุ่มพลังงานที่ขยายตัวอย่างก้าวกระโดดร้อยละ 36.38 (เทียบกับร้อยละ 1.35 ในเดือนก่อน) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานราคาน้ำมันที่ต่ำมากในปีก่อน และระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ในประเทศปีนี้ยังปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามราคาตลาดโลก ประกอบกับมาตรการลดค่าไฟฟ้า และค่าน้ำประปาของรัฐได้สิ้นสุดลง นอกจากนั้น สินค้าในกลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะ เนื้อสุกร ผักและผลไม้ ขยายตัวที่ร้อยละ 0.11 เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนส่งผลให้ปริมาณผลผลิตลดลง สำหรับสินค้าในหมวดอื่นๆ ยังเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ สอดคล้องกับผลผลิต การส่งเสริมการขายและความต้องการ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.30 (YoY) ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.09

                          เงินเฟ้อที่กลับมาขยายตัวในเดือนนี้ นอกจากปัจจัยด้านราคาน้ำมันและการสิ้นสุดของมาตรการของรัฐดังกล่าวแล้ว ยังมีสัญญาณด้านสถานการณ์เศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐที่สนับสนุนการใช้จ่ายของประชาชน และอุปสงค์ในตลาดโลกที่เริ่มฟื้นตัวตามลำดับ โดยด้านอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น สะท้อนได้จากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และมูลค่าการส่งออกที่กลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง ประกอบกับรายได้เกษตรกรที่ยังคงขยายตัวได้ดีตามราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวดีขึ้น สอดคล้องกับดัชนีอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ รถยนต์นั่ง และรถจักรยานยนต์ ที่กลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง ขณะที่ด้านอุปทานปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน สะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่กลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง และอัตราการใช้กำลังการผลิตปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในขณะนี้ ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทั้งภาคการผลิตและภาคการบริโภค และเป็นประเด็นข้อกังวลที่อาจทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่ต่อเนื่อง ซึ่งต้องติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดว่าจะสามารถควบคุมให้กลับมาสู่ภาวะใกล้เคียงปกติได้เมื่อไร

                          ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนเมษายน 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 3.41 (YoY) ตามการสูงขึ้นของสินค้าในหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 5.34 ได้แก่ หมวดเคหสถาน สูงขึ้นร้อยละ 4.56 เนื่องจากสิ้นสุดมาตรการบรรเทาภาระค่าครองชีพของภาครัฐ (ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา) หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 10.21 (น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าโดยสารสาธารณะ) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ 0.11 (ค่าแต่งผมชาย ค่าแต่งผมสตรี ยาสีฟัน) หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นเท่ากันที่ร้อยละ 0.01 (เครื่องถวายพระ เครื่องรับโทรทัศน์ เบียร์ ไวน์) ขณะที่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ลดลงร้อยละ 0.30 (เสื้อยืดสตรี เสื้อยืดบุรุษ เสื้อยกทรง) สำหรับหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.40 จากการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ ร้อยละ 2.35 (เนื้อสุกร ปลาหมึกกล้วย กุ้งขาว) กลุ่มผักสด ร้อยละ 8.60 (ต้นหอม ผักชี ผักคะน้า) กลุ่มผลไม้สด ร้อยละ 2.29 (กล้วยน้ำว้า ฝรั่ง องุ่น) กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร ร้อยละ 3.43 (น้ำมันพืช ซีอิ๊ว เครื่องปรุงรส) กลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน และนอกบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 0.49 และ 0.70 ตามลำดับ (กับข้าวสำเร็จรูป อาหารโทรสั่ง ข้าวราดแกง อาหารเช้า) สินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ลดลงร้อยละ 6.74 (ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว) กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม ลดลงร้อยละ 4.77 (ไข่สด นมถั่วเหลือง นมสด) และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.33 (น้ำดื่ม น้ำอัดลม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

                          ดัชนีราคาผู้บริโภค เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2564 สูงขึ้นร้อยละ 1.38 (MoM) และเฉลี่ย 4 เดือน (..-เม..) ปี 2564 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.43 (AoA)

                          ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนเมษายน 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 5.0 (YoY) ขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่มีการปรับปีฐานใหม่เป็นปีฐาน 2558 การสูงขึ้นของดัชนีดังกล่าวสอดคล้องกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม และอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ขยายตัวสูงขึ้น โดยหมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง ยังคงขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 9.7 ตามความต้องการของตลาดและปริมาณผลผลิตเป็นสำคัญ สินค้าที่ราคาสูงขึ้นประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ได้แก่ กลุ่มพืชล้มลุก (ถั่วเขียว ถั่วเหลือง พืชผัก (กะหล่ำปลี ผักคะน้า ผักกาดขาว) หัวมันสำปะหลังสด อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) กลุ่มไม้ผล (องุ่น ลำไย กล้วยหอม) กลุ่มไม้ยืนต้น (ผลปาล์มสด ยางพารา (น้ำยางสด ยางแผ่นดิบ เศษยาง)) กลุ่มสัตว์ (สุกรมีชีวิต) ผลิตภัณฑ์จากการประมง (ปลาทูสด ปลาทรายแดง ปลาสีกุน) หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 4.7 ตามราคาวัตถุดิบ และอุปทานที่ลดลง โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ราคาปรับสูงขึ้นค่อนข้างมาก (น้ำมันดีเซล น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91,95 ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)) กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร (เนื้อโค เนื้อสุกร กุ้งแช่แข็ง น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์) กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง) กลุ่มโลหะขั้นมูลฐาน (เหล็กแผ่น เหล็กเส้น เหล็กฉาก) กลุ่มกระดาษ (เยื่อกระดาษ กระดาษแข็ง) กลุ่มยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ (รถยนต์นั่ง ต่ำกว่า 1,800 ซีซี รถบรรทุกขนาดเล็ก) กลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่นๆ (ทองคำ) ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองหดตัวน้อยลงที่ร้อยละ 4.0 จากที่หดตัวร้อยละ 11.8 ในเดือนก่อนหน้า ตามราคาก๊าซธรรมชาติ เป็นสำคัญ

                          ดัชนีราคาผู้ผลิต เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2564 สูงขึ้นร้อยละ 0.6 (MoM) และเฉลี่ย 4 เดือน (..-เม..) ปี 2564 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 1.7 (AoA)

                          ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เดือนเมษายน 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 8.4 (YoY) สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามต้นทุนวัตถุดิบและความต้องการใช้ ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ การบริโภคและการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กสำเร็จรูปของไทย รวมถึงยอดการจัดเก็บภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ที่ปรับตัวสูงขึ้นค่อนข้างมาก ที่ร้อยละ 36.1 สูงสุดในรอบ 12 ปี เป็นการปรับตัวสูงขึ้นเกือบทุกรายการสินค้า หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา สูงขึ้นร้อยละ 3.6 (ท่อร้อยสายไฟ สายโทรศัพท์ PVC สายไฟฟ้า VCT) หมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ สูงขึ้นร้อยละ 3.3 จากการสูงขึ้นของยางมะตอย ความต้องการในตลาดสูงขึ้นจากโครงการก่อสร้างภาครัฐเป็นสำคัญ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ สูงขึ้นร้อยละ 2.0 (ไม้แบบ ไม้โครงคร่าว บานประตู-หน้าต่าง) หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต สูงขึ้นร้อยละ 1.3 (ชีทไพล์คอนกรีต คอนกรีตผสมเสร็จ คอนกรีตหยาบ) หมวดกระเบื้อง สูงขึ้นร้อยละ 0.3 (กระเบื้องยาง PVC ปูพื้น) ขณะที่หมวดซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 1.5 (ปูนซีเมนต์ผสม ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนฉาบสำเร็จรูป) เนื่องจากการแข่งขันสูงขึ้น และการก่อสร้างภาคเอกชนยังคงซบเซา หมวดสุขภัณฑ์ และหมวดวัสดุฉาบผิว ลดลงร้อยละ 0.2 และ 0.1 ตามลำดับ

                          ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2564 สูงขึ้นร้อยละ 1.9 (MoM) และเฉลี่ย 4 เดือน (..-เม..) ปี 2564 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 5.4 (AoA)

          2. สรุปแนวโน้มเงินเฟ้อ เดือนพฤษภาคม 2564

                 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนพฤษภาคม 2564 มีแนวโน้มขยายตัวสูงต่อเนื่องจากเดือนเมษายน (หากไม่มีมาตรการลดค่าครองชีพอื่นเพิ่มเติมจากรัฐ) โดยมีปัจจัยสำคัญจากราคาพลังงานที่ยังอยู่ในระดับสูง และฐานราคาพลังงานที่ยังต่ำมากในปีก่อน ขณะที่สินค้าและบริการอื่นๆ ยังเคลื่อนไหวตามผลผลิตและความต้องการ โดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของรัฐที่คาดว่าจะออกมาอย่างต่อเนื่อง น่าจะช่วยเพิ่มอุปสงค์ในประเทศ ชดเชยอุปสงค์ที่ลดลงจากการท่องเที่ยวได้ ขณะที่การฟื้นตัวของโลกน่าจะช่วยให้การส่งออกของไทยขยายตัวได้ต่อเนื่อง สำหรับผลผลิตสินค้าเกษตรยังมีโอกาสผันผวนตามสภาพอากาศ ซึ่งส่งผลต่อราคาอาหารสด อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบันยังคงเป็นแรงกดดันต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของประเทศ ซึ่งต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดต่อไป ทั้งนี้ คาดว่าเงินเฟ้อในปี 2564 จะเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 0.7–1.7 (ค่ากลางอยู่ที่ +1.2) ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 1 มิถุนายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A6061

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!