WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ในคราวประชุมครั้งที่ 17/2564 และ ครั้งที่ 18/2564

1aaaD

ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ในคราวประชุมครั้งที่ 17/2564 และ ครั้งที่ 18/2564

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 17/2564 (วันที่ 20 พฤษภาคม 2564) และครั้งที่ 18/2564 (วันที่ 28 พฤษภาคม 2564) ที่ได้พิจารณาจัดทำข้อเสนอแนวทางการดำเนินการตามมาตรา 6 วรรคสามของพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 .. 2563 (พระราชกำหนดฯ) (ครั้งที่ 4) การพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ การพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ และการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการขอยกเลิกโครงการของจังหวัด เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ดังนี้

          1. อนุมัติให้นำวงเงินกู้เพื่อการตามมาตรา 5 (3) มาใช้เพื่อการตามมาตรา 5 (2) เพิ่มเติม (ครั้งที่ 4) จำนวน 16,238 ล้านบาท เพื่อรองรับการให้ความช่วยเหลือ เยียวยา ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา - 2019 รอบใหม่ในประเทศ

          2. อนุมัติโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับบริการประชาชนในประเทศไทย เพิ่มเติมจำนวน 35 ล้านโดส ของกรมควบคุมโรค ระยะเวลาดำเนินการ 5 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - กันยายน 2564 กรอบวงเงิน 6,378.2250 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 1.2 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ และมอบหมายให้กรมควบคุมโรคเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ดำเนินการตามมติคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด

          3. อนุมัติโครงการค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน (เดือนเมษายน - กันยายน 2564) กรอบวงเงิน 10,569.8283 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 1.3 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ และมอบหมายให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการดำเนินการตามมติคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด

          4. อนุมัติโครงการค้นหาเชิงรุกสำหรับกลุ่มเสี่ยงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระดับพื้นที่ของกรมควบคุมโรค ระยะเวลาดำเนินงาน 3 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564 กรอบวงเงิน 129.3028 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 1.5 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ และมอบหมายให้กรมควบคุมโรค เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ดำเนินการตามมติคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด

          5. เห็นควรอนุมัติโครงการค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัย สำหรับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ระยะเวลา 3 เดือน (เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564) กรอบวงเงินรวมไม่เกิน 1,575.4950 ล้านบาท ทั้งนี้ ในกรณีที่มีเหตุการณ์ไม่ปกติในอนาคตและกระทรวงสาธารณสุขได้พิจารณาเห็นว่ามีความจำเป็นต้องจ่ายค่าตอบแทนเพิ่มเติมก็สามารถขอรับเงินค่าตอบแทนเพิ่มเติมให้แก่ อสม. เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจที่ดีให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน อสม. ได้ต่อไป

          6. อนุมัติโครงการภายใต้มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ (ด้านไฟฟ้าและด้านน้ำประปา) จำนวน 4 โครงการ ของการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค กรอบวงเงินรวม 4,512.75 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 2.1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ และมอบหมายให้การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ดำเนินการตามมติคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด

          7. อนุมัติโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 กรอบวงเงิน 16,380.1908 ล้านบาท และโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ กรอบวงเงิน 3,000 ล้านบาท ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - กุมภาพันธ์ 2565 โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 2.1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ และมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการดำเนินตามมติคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด

          8. อนุมัติโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 กรอบวงเงิน 93,000 ล้านบาท และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ กรอบวงเงิน 28,000 ล้านบาท ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2564 - กุมภาพันธ์ 2565 โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 3.3 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ พร้อมทั้งอนุมัติให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของผู้ประกอบการ/ร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการฯ เพิ่มเติมว่าการกำหนดเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสินค้าและบริการของโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 หรือโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้กำหนดและมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ดำเนินการตามมติคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด

          9. เห็นควรมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ติดตามและประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างใกล้ชิด โดยในกรณีที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สามารถเริ่มดำเนินการได้ตามกำหนดการที่เสนอไว้ให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เร่งเสนอเรื่องขอเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป และรับทราบแนวทางป้องกันการทุจริตโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ตามที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเสนอ พร้อมทั้งเห็นควรให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง จัดให้มีสายด่วนเพื่อรับแจ้งเบาะแสความผิดปกติในการใช้จ่ายเงินภายใต้โครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบทั้ง 4 โครงการ เพื่อให้การป้องกันการทุจริตมีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น

          10. อนุมัติโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตโคเนื้อด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ ของกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรอบวงเงิน 75.6218 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือนตั้งแต่เดือนมิถุนายน - ธันวาคม 2564 โดยให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 3.1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ และมอบหมายให้กรมปศุสัตว์ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ดำเนินการตามมติคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด

          11. อนุมัติให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ปรับปรุงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาระบบปกติใหม่ของบริการการแพทย์ฉุกเฉินและพร้อมรับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ โดยขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ จาก 3 เดือน (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2564) เพิ่มเติมอีก 6 เดือน (ระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 30 กันยายน 2564) และมอบหมายให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติดำเนินการตามมติคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด

          12. อนุมัติการยกเลิกโครงการส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัยในโรงเรือนอัจฉริยะเพื่อพัฒนาสู่อินทรีย์รองรับเมืองสุขภาวะ กิจกรรมสนับสนุนการปลูกผักปลอดภัยในโรงเรือนอัจฉริยะและตรวจรับรองตามมาตรฐานการปฏิบัติทางเกษตรที่ดี (GAP) ของสำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ จังหวัดแพร่ กรอบวงเงิน 13,951,500 บาท และมอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ ดำเนินการตามมติคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด

          13. อนุมัติการยกเลิกการดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาการผลิต การแปรรูปแพะเมืองสิงห์ของจังหวัดสิงห์บุรี กรอบวงเงิน 2,340,520 บาท และมอบหมายให้จังหวัดสิงห์บุรีดำเนินการตามมติคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 1 มิถุนายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A6059

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!