WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดระบบบริการและระบบประกันสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังที่มีปัญหาสถานะบุคคลและต่างด้าวในเรือนจำ

GOV 6

ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดระบบบริการและระบบประกันสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังที่มีปัญหาสถานะบุคคลและต่างด้าวในเรือนจำ

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการให้จัดระบบหลักประกันสุขภาพ* สำหรับผู้ต้องขังที่มีปัญหาทางสถานะบุคคลและต่างด้าว จำนวน 16,000 คน [จำนวนกลุ่มผู้ต้องขังดังกล่าวมีจำนวนจริง 19,506 คน ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 3,506 คน ยังมีความคลาดเคลื่อนทางทะเบียน] โดยให้มีการลงทะเบียนเพื่อเข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพ พร้อมกับเสนอให้มีงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการเข้าถึงบริการสุขภาพตามชุดสิทธิประโยชน์** ในอัตราเทียบเท่ากับผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (Universal Coverage: UC) (ปัจจุบันสิทธิในระบบดังกล่าวคิดค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่ายรายหัวจำนวน 3,719.23 บาทต่อผู้มีสิทธิ) ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ โดยให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นผู้จัดระบบดังกล่าวไปพลางก่อน

          สำหรับงบประมาณในการดำเนินการ ค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ .. 2564 จำนวน 13.71 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีต่อๆ ไป ขอให้ สธ. ใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ (เงินบำรุงโรงพยาบาล) เป็นลำดับแรกก่อน เพื่อช่วยลดภาระงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด หากไม่เพียงพอขอให้พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณไปดำเนินการ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

          โดยให้ ยธ. เป็นหน่วยงานหลักหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดแนวทางในการจัดระบบบริการและประกันสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังที่มีปัญหาสถานะบุคคลและต่างด้าวในระยะยาวให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรม และให้ ยธ.ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณากำหนดแนวทางในการตรวจสอบและยืนยันตัวตนของผู้กระทำความผิดให้ถูกต้อง ชัดเจน รวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาในกรณีที่ไม่สามารถยืนยันตัวตนของผู้กระทำความผิดได้ด้วย

_________________________

หมายเหตุ *ระบบหลักประกันสุขภาพ คือ เครื่องมือทางการคลังเพื่อจัดการความแตกต่างของราคาบริการสุขภาพและความเสี่ยงซึ่งเชื่อมโยงกับการผันแปรของค่าใช้จ่ายสุขภาพส่วนบุคคล โดยกระจายความเสี่ยงเหนือตัวบุคคล (Across Individuals) และเวลา (Over Time) ด้วยการนำคนที่มีความเสี่ยงน้อยหรือป่วยน้อย เช่น คนวัยหนุ่มสาวมาเฉลี่ยความเสี่ยงกับคนที่มีความเสี่ยงมากหรือป่วยมาก เช่น ผู้สูงอายุและเด็ก เพื่อให้สามารถเก็บเบี้ยประกันซึ่งเมื่อรวมกันแล้วควรได้อย่างน้อยเท่ากับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

**ชุดสิทธิประโยชน์ คือ การกำหนดรายการบริการในสิทธิประโยชน์ โดยกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรในรายละเอียดต่างๆ เช่น ชนิดบริการ วิธีการให้บริการ ข้อจำกัดในการใช้บริการ และราคา เป็นต้น

 

          สาระสำคัญของเรื่อง

          ยธ. (กรมราชทัณฑ์) รายงานว่า

          1. คนไทยทุกคนมีสิทธิและสามารถเข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพได้จาก 3 สิทธิ/กองทุน ได้แก่ (1) สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (2) กองทุนประกันสังคม และ (3) กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่สิทธิดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงผู้ต้องขังที่มีปัญหาสถานะบุคคลและต่างด้าวในเรือนจำ และเมื่อผู้ต้องขังกลุ่มดังกล่าวเกิดการเจ็บป่วยจำเป็นซึ่งเกินศักยภาพการรักษาจากสถานพยาบาลเรือนจำ จะต้องส่งตัวกลุ่มผู้ต้องขังดังกล่าวออกมารักษาภายนอกเรือนจำ โดยโรงพยาบาลในพื้นที่ต้องเป็นผู้รับภาระค่ารักษาพยาบาลดังกล่าว ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้เคยมีการมอบหมายให้ สธ. จัดประชุมหารือเกี่ยวกับการจัดบริการทางการแพทย์ในเรือนจำทั้งระบบแล้ว

          2. กรมราชทัณฑ์จึงได้รวบรวมข้อมูลการรักษาพยาบาลของผู้ต้องขังที่มีปัญหาสถานะบุคคลและต่างด้าวระหว่างเดือนมกราคม - ธันวาคม 2563 จากเรือนจำและทัณฑสถาน จำนวน 127 แห่ง [จากจำนวนทั้งสิ้น 142 แห่ง (คิดเป็นร้อยละ 89)] พบว่า มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้ต้องขังรวม 13.71 ล้านบาท ซี่งโรงพยาบาลในพื้นที่ต้องเป็นผู้รับภาระค่ารักษาพยาบาลดังกล่าว จากปัญหาดังกล่าว ยธ. จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานจัดระบบบริการและระบบประกันสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังที่มีปัญหาสถานะบุคคลและต่างด้าวในเรือนจำ เพื่อเสนอแนวทาง วิธีการ กลไก และงบประมาณในการจัดระบบบริการและระบบประกันสุขภาพสำหรับกลุ่มบุคคลดังกล่าวให้สามารถปฏิบัติได้จริง และต่อมากรมราชทัณฑ์ สปสช. กรมการปกครองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดทำฐานทะเบียนผู้ต้องขังเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดการสิทธิด้านการรักษาพยาบาลสำหรับผู้ต้องขัง ซึ่งผลการดำเนินการตั้งแต่ปี .. 2560 - 2563 สามารถสรุปได้ ว่า ผู้ต้องขังที่สามารถใช้สิทธิในการเข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพจากสิทธิ UC และสิทธิอื่นในปี .. 2563 มีจำนวน 325,711 คน (คิดเป็นร้อยละ 94.35 ของจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด) ส่วนผู้ต้องขังที่ไม่สามารถใช้สิทธิในการเข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพเนื่องจากมีปัญหาทางสถานะบุคคลและต่างด้าวมีจำนวน 19,506 คน (คิดเป็นร้อยละ 5.65 ของจำนวนผู้ต้องขังทั้งหมด) ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง

          3. จากปัญหาข้างต้น คณะทำงานฯ จึงได้ยกร่างข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดระบบบริการและระบบประกันสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังที่มีปัญหาสถานะบุคคลและต่างด้าว เพื่อให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวสามารถใช้สิทธิในการเข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพได้เมื่อเจ็บป่วยจำเป็น และมีสิทธิที่เทียบเท่ากับประชาชนภายนอกเรือนจำ เพื่อให้เป็นไปตามข้อ 24 (1) ของข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำขององค์การสหประชาชาติในการสำหรับปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง [The United Nations Standard Minimum Rules for the Treatment of Prisoners (Mandela Rules)] ที่กำหนดให้การให้บริการด้านการรักษาพยาบาลแก่ผู้ต้องขังเป็นความรับผิดชอบของรัฐ โดยผู้ต้องขังควรได้รับการรักษาพยาบาลตามมาตรฐานเช่นเดียวกับที่รัฐจัดให้กับประชาชนอื่น และจะต้องสามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็นโดยไม่คิดมูลค่าและไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งสถานภาพด้านกฎหมายของตน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 25 พฤษภาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A51042

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!