มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2563
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 26 May 2021 01:26
- Hits: 2141
มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2563
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2563 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการตามมติในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เสนอ รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของหน่วยงานต่างๆ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย สำหรับค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2464 และในปีงบประมาณปีต่อๆ ไป ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
สาระสำคัญของเรื่อง
คสช. รายงานว่า ในคราวประชุม คสช. ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2564 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2563 รวม 2 มติ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการตามมติในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปสรุปได้ ดังนี้
มติ 1 ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต |
||||
• สถานการณ์และปัญหาเกี่ยวกับประเด็นความมั่นคงทางอาหารในประเทศไทย ทั้งที่มา การเข้าถึงและการกระจายอาหาร พบว่า ในสถานการณ์วิกฤตการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด-19) ปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารปรากฏเด่นชัดมากขึ้น เช่น ไม่มีอาหารจำหน่าย คนจำนวนมากไม่มีกำลังซื้ออาหารและในอีกด้านหนึ่งได้ปรากฏให้เห็นถึงการปรับตัวของผู้คน ชุมชน องค์กรและเครือข่ายสังคมที่ร่วมกันดำเนินการรับมือกับปัญหา รวมถึงสถานะของนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องในปัจจุบันทั้งที่มีผลเชิงลบและที่หนุนเสริมให้เกิดความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต จึงกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา ดังนี้
|
||||
ประเด็น |
แนวทางการดำเนินการ |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น |
||
1. การดำเนินการ เรื่อง “สิทธิในอาหาร”* |
- ดำเนินการเพื่อปกป้อง “สิทธิในอาหาร” ของประชาชนทุกคน โดยตระหนักในความต้องการด้านอาหารและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน - ให้มีการบัญญัติ “สิทธิในอาหาร” ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย |
รัฐบาลและทุกภาคส่วน |
||
2. การจัดทำนโยบายและแผนปฏิบัติการระดับชาติ |
- จัดทำนโยบายและแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี |
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) |
||
3. การพัฒนาระบบอาหารให้พร้อมรับภาวะวิกฤต 3.1) ด้านการผลิตอาหาร |
- บังคับใช้มาตรา 12 ของพระราชบัญญัติคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ. 2551 เพื่อกำหนดให้เขตพื้นที่ใดเป็นเขตพื้นที่ที่จำเป็นต้องสงวนไว้เพื่อประโยชน์ด้านความมั่นคงทางอาหารเป็นการชั่วคราว |
คณะรัฐมนตรี (โดยการเสนอของคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ) |
||
- สนับสนุนและส่งเสริมการสร้างความมั่นคงทางอาหารจากฐานของชุมชน รวมทั้งองค์ความรู้และการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น |
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) |
|||
- สนับสนุนให้มีมาตรการที่เป็นธรรมเพื่อนำที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมาใช้ประโยชน์เพื่อความมั่นคงทางอาหารและสุขภาพของประชาชน |
กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) การรถไฟแห่งประเทศไทย อปท. |
|||
- ส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรรม เกษตรกร ครัวเรือนและชุมชนให้มีความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงการควบคุมคุณภาพ ความปลอดภัย และคุณค่าทางโภชนาการ |
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) มท. |
|||
3.2) ด้านการสำรองอาหาร |
- สนับสนุนให้เกิดการผลิตและระบบการสำรองอาหารตั้งแต่ระดับประเทศจนถึงระดับชุมชนและครัวเรือน โดยมีรูปแบบที่หลากหลาย ปลอดภัย เพียงพอ และพร้อมกระจาย อีกทั้งให้สอดคล้องกับภูมินิเวศวัฒนธรรมของท้องถิ่นและวิถีชุมชน เช่น ธนาคารอาหาร ครัวกลางชุมชน เป็นต้น |
กษ. มท. อปท. |
||
- สนับสนุนเครือข่ายด้านการศึกษาวิจัยในการพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการผลิต แปรรูป และถนอมอาหารเพื่อการสำรองอาหารสำหรับภาวะวิกฤตและกระจายเทคโนโลยีสู่ชุมชน |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กษ. กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) |
|||
3.3) ด้านการกระจายการแลกเปลี่ยนและการแบ่งปันอาหาร เช่น |
- จัดทำแผนชุมชนเพื่อจัดระบบการกระจาย การแลกเปลี่ยนและการแบ่งปันอาหารเพื่อเตรียมการและรับมือกับภาวะวิกฤตทั้งภายในชุมชน ชุมชนใกล้เคียง และเชื่อมโยงกับชุมชนอื่นๆ |
กษ. กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) มท. ผู้ว่าราชการจังหวัด อปท. |
||
- ส่งเสริมการตลาดที่เชื่อมโยงโดยตรงระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค |
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กษ. พณ. มท. อก. |
|||
- ส่งเสริมให้เกิดการค้าที่เป็นธรรมระหว่างระบบค้าปลีกแบบดั้งเดิมและระบบการค้าสมัยใหม่ รวมถึงการผลักดันการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 |
พณ. คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า |
|||
4. การพัฒนาระบบดูแลประชากรเปราะบาง* และประชาชนที่ขาดความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต |
- พัฒนาฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน จัดทำระบบการค้นหา การช่วยเหลือ การสื่อสาร รวมถึงพัฒนากลไกของชุมชนและสนับสนุนระบบอาสาสมัครให้สามารถช่วยเหลือดูแลประชากรเปราะบางและประชาชนที่ขาดความมั่นคงทางอาหารอย่างรวดเร็วและทั่วถึง |
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ดศ. มท. อปท. |
||
- จัดระบบและแผนปฏิบัติการนำอาหารที่มีคุณภาพมากระจายให้ทั่วถึงอย่างเป็นธรรม |
กษ. พณ. |
|||
5. การพัฒนาระบบการจัดการร่วมกัน เพื่อความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต เช่น |
- เพิ่มมาตรการควบคุมราคาสินค้าอาหาร ดำเนินการทางกฎหมายและเพิ่มบทลงโทษทางกฎหมายต่อผู้กักตุนสินค้าอาหารอย่างจริงจัง |
พณ. มท. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
||
- ส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงทางอาหารของชุมชน สนับสนุนให้เกิดพื้นที่ต้นแบบด้านการสำรองอาหารของชุมชน ศูนย์เรียนรู้ชุมชนด้านความมั่นคงทางอาหาร และจัดการความรู้โดยรวบรวมและถอดบทเรียนจากการดำเนินการจริงของพื้นที่ต่างๆ |
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) |
|||
- ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำผังนโยบายการใช้ประโยชน์พื้นที่ระดับต่างๆ และผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในการจัดทำแผนผังและเงื่อนไขข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อเพิ่มประโยชน์ของการใช้ที่ดินในพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่สาธารณะ พื้นที่รกร้างว่างเปล่า เป็นต้น รวมถึงการสงวนพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อเป็นพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต
|
มท. |
|||
มติ 2 การบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพแบบมีส่วนร่วม กรณีโรคระบาดใหญ่ |
||||
• โรคระบาดใหญ่ ส่วนใหญ่เป็นโรคอุบัติใหม่ที่มีแนวโน้มเกิดความรุนแรงขึ้นเป็นภัยพิบัติ มีผลกระทบเกิดขึ้นเป็นวงกว้างในทุกมิติ เกิดเป็น “วิกฤตสุขภาพ”* ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะทางกาย จิตใจ สังคม และปัญญา ซึ่งนโยบายสาธารณะ “การบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพแบบมีส่วนร่วม กรณีโรคระบาดใหญ่” จะเป็นนโยบายสำคัญที่สนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน “ประชาชนทุกคนบนผืนแผ่นดินไทยมีสุขภาวะที่ดี” การบริหารจัดการจึงไม่ใช่เฉพาะกรณีโรคโควิด-19 เท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงโรคระบาดใหญ่ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในอนาคตด้วย จึงกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา ดังนี้
|
||||
ประเด็น |
แนวทางการดำเนินการ |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น |
||
1. การบูรณาการด้านการบริหารจัดการเตรียมความพร้อมศักยภาพและทรัพยากรของระบบบริการสุขภาพ โดยใช้บทเรียนจากการระบาดของโรคโควิด-19 เช่น |
- จัดตั้งศูนย์บริหารจัดการภาวะฉุกเฉินการแพร่ระบาดของโรค เพื่อรองรับเหตุการณ์ระบาดที่มีผลกระทบในวงกว้างสามารถปฏิบัติการได้ทันที เบ็ดเสร็จ |
สธ. |
||
- อำนวยความสะดวกในการนำเข้าสินค้าประเภทยารักษาโรค เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้สามารถใช้ได้อย่างเพียงพอและทันการณ์ เช่น ชุดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้พร้อมใช้สำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนอย่างเพียงพอและปลอดภัย |
กค. สธ. |
|||
- บริหารจัดการงบประมาณในการเฝ้าระวัง ป้องกัน คัดกรอง รักษา ฟื้นฟู และควบคุมการแพร่ระบาดที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตวิถีใหม่ เช่น การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในรูปแบบการแพทย์ทางไกล การตรวจคัดกรอง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพ |
กค. มท. สธ. กระทรวงแรงงาน (รง.) สำนักงบประมาณ (สงป.) อปท. สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย |
|||
2. การบริหารจัดการด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ และระบบข้อมูล เพื่อให้เกิดการสื่อสารอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ทันการณ์ เช่น |
- จัดให้มีช่องทางการสื่อสารสาธารณะและสื่อทางเลือกที่หลากหลาย ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ป้องกันการเกิดภัยพิบัติจากข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือน จัดการกับข่าวปลอมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการสื่อสาร |
ดศ. สธ. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ |
||
- พัฒนาระบบข้อมูลขนาดใหญ่และจัดการให้มีการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศเพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลในการตัดสินใจและการเฝ้าระวังได้ในทุกระดับ |
กระทรวงการต่างประเทศ ดศ. มท. รง. สธ. |
|||
3. การจัดให้มีกำลังคนและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นให้เพียงพอทางสาธารณสุข เพื่อให้เกิดระบบการแจ้งเตือนการเกิดโรคระบาดและควบคุมในระดับพื้นที่ได้ทันเวลา เช่น |
- พิจารณาจัดสรรอัตรากำลังบุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่ขาดแคลนในการปฏิบัติการเฝ้าระวัง สอบสวนโรคระบาด เช่น แพทย์สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงระบาดวิทยา นักระบาดวิทยา เป็นต้น |
สำนักงาน กพ. |
||
- จัดโครงสร้างระบบบัญชาการเหตุการณ์ พัฒนาทีมตระหนักรู้สถานการณ์ ทีมสอบสวนควบคุมโรค สถานที่กักกันโรคแห่งรัฐ จัดทำและซ้อมแผนเผชิญเหตุสำหรับการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินของโรคระบาดใหญ่ และติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง |
มท. สธ. |
|||
4. การกำหนดมาตรการลดผลกระทบด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นทั้งในระหว่างและหลังการเกิดวิกฤตสุขภาพ เช่น |
- กำหนดแนวทางมาตรการในการเฝ้าระวังและจัดการปัญหาสุขภาพจิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว |
สธ. ศธ. |
||
- จัดทำและฝึกซ้อมแผนการตอบสนองที่รวดเร็วในบริการรูปแบบใหม่ทั้งระดับวิกฤต ระบบส่งต่อ และระบบบริการปฐมภูมิในพื้นที่ |
สธ. |
|||
- สนับสนุนงบประมาณในการสร้างอาชีพและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ |
พม. รง. |
|||
5. การจัดให้มีกลไกนโยบายสนับสนุนส่งเสริมการจัดการความรู้ การวิจัย และพัฒนานวัตกรรม ในการป้องกันการป่วยและการเสียชีวิตจากโรคระบาด เช่น |
- กำหนดทิศทางและแนวทางการสนับสนุนงบประมาณในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ทั้งงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์เพื่อรองรับการเกิดวิกฤตสุขภาพจากโรคระบาดใหญ่ |
อว. สธ. สสส. |
||
- สร้างความมั่นคงทางด้านยา วัคซีน และชุดตรวจวินิจฉัยโรค โดยการพัฒนาระบบการจัดหาที่เพียงพอต่อความต้องการ และสนับสนุนอุตสาหกรรมวัคซีนของประเทศ |
อว. กษ. สธ. อก. |
หมายเหตุ *สิทธิในอาหาร (Right to Food) หมายถึง สิทธิของมนุษย์ทุกคนที่จะมีความมั่นคงทางอาหารและรอดพ้นจากภาวะความอดอยากอย่างหิวโหย
*ประชากรเปราะบาง หมายถึง กลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับอันตรายต่อสุขภาพจากการไม่มีความมั่นคงทางอาหาร เนื่องด้วยสถานะสุขภาพ สถานะทางเศรษฐกิจหรือบริบททางสังคมที่ทำให้ไม่สามารถจัดการกับความเสี่ยงหรือสถานการณ์ที่กระทบกับความมั่นคงทางอาหารได้
*วิกฤตสุขภาพ หมายถึง ภาวะทางสุขภาพทั้ง 4 มิติ (กาย จิตใจ สังคม และปัญญา) ที่ไม่อยู่ในภาวะปกติ อาจเกิดจากธรรมชาติหรือไม่ก็ได้ เป็นเหตุการณ์ที่มีอยู่ในภาวะอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม หรือสิ่งแวดล้อม ที่ควรต้องมีนโยบายหรือการตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหาภายในเวลาที่จำกัด
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 25 พฤษภาคม 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A51034
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ