การแก้ไขเอกสารประกอบสัญญาเงินกู้ระหว่างกระทรวงการคลังกับสถาบันการเงินระหว่างประเทศเพื่อรองรับการยุติการใช้ London Interbank Offered Rate (LIBOR) เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 25 May 2021 23:45
- Hits: 235
การแก้ไขเอกสารประกอบสัญญาเงินกู้ระหว่างกระทรวงการคลังกับสถาบันการเงินระหว่างประเทศเพื่อรองรับการยุติการใช้ London Interbank Offered Rate (LIBOR) เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง
คณะรัฐมนตรีรับทราบการแก้ไขเอกสารประกอบสัญญาเงินกู้ระหว่างกระทรวงการคลังกับสถาบันการเงินระหว่างประเทศเพื่อรองรับการยุติการใช้ London Interbank Offered Rate (LIBOR) เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558) ซึ่งกำหนดให้ในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องปรับปรุงถ้อยคำหรือสาระสำคัญของหนังสือสัญญาที่คณะรัฐมนตรีได้เคยอนุมัติหรือเห็นชอบไปแล้ว หากไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้ ให้สามารถดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง)
สาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างสัญญาเงินกู้และอนุมัติให้กระทรวงการคลังดำเนินการกู้เงินในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยจากธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชียเพื่อดำเนินโครงการของรัฐ โดยมีสัญญาเงินกู้ที่ยังมียอดหนี้คงค้างหรืออยู่ระหว่างเบิกรับเงินกู้จำนวน 5 สัญญา ดังนี้
(หน่วย : ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
มติคณะรัฐมนตรี |
โครงการและผู้ให้กู้ |
วันที่สิ้นสุด การชำระหนี้ |
วงเงิน |
|
8 กันยายน 2552 |
โครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) (ธนาคารพัฒนาเอเชีย) |
15 ธันวาคม 2567 |
77.10 |
|
27 เมษายน 2553 |
โครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (ธนาคารโลก) |
15 กรกฎาคม 2573 |
1,000 |
|
โครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (ธนาคารพัฒนาเอเชีย) |
1 มิถุนายน 2568 |
300 |
||
21 พฤศจิกายน 2560 |
โครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) (ธนาคารพัฒนาเอเชีย) |
15 สิงหาคม 2573 |
99.40 |
|
4 สิงหาคม 2563 |
โครงการกู้เงินภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (ธนาคารพัฒนาเอเชีย) |
15 กุมภาพันธ์ 2573 |
1,500 |
|
รวม |
2,976.50 |
ทั้งนี้ เงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ระหว่างกระทรวงการคลังกับธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชียได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวโดยอ้างอิงจาก LIBOR สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
2. อัตราดอกเบี้ย LIBOR เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในตลาดการเงินโลกและเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชียใช้ประกอบการกำหนดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในการให้เงินกู้กับคู่สัญญาประเทศต่างๆ อย่างไรก็ตาม Financial Conduct Authority (FCA) ซึ่งเป็นองค์การกำกับนโยบายทางการเงินของสหราชอาณาจักรและเป็นผู้เผยแพร่อัตราดอกเบี้ย LIBOR ได้ตรวจพบการบิดเบือนการรายงานข้อมูลของผู้ร่วมตลาดเพื่อจัดทำอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ส่งผลให้ความน่าเชื่อถือของ LIBOR ลดลอง และเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2564 FCA ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะยุติการเผยแพร่และจะไม่รับรอง LIBOR ให้เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงทางการโดยเริ่มหลังจากปี 2564 เป็นต้นไป ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจของประเทศต่างๆ ที่ใช้ LIBOR ในการกู้ยืมและใช้ LIBOR เป็นองค์ประกอบในการคำนวณอัตราดอกเบี้ยลอยตัวผูกกับสกุลเงินของตนจึงได้ให้ความสำคัญกับการหาแนวทางรองรับและพัฒนาอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงใหม่ที่สามารถใช้เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่เชื่อถือได้เพื่อรองรับการยุติการเผยแพร่การใช้ LIBOR
3. ธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชียได้มีหนังสือถึงกระทรวงการคลังเพื่อขอให้เห็นชอบการแก้ไขเอกสารประกอบสัญญาเงินกู้เพื่องรองรับการยุติการใช้ LIBOR ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงได้เห็นชอบการแก้ไขเอกสารประกอบสัญญาเงินกู้ดังกล่าวพร้อมทั้งลงนามในหนังสือตอบตกลงการแก้ไขรายละเอียดประกอบสัญญาเงินกู้ของธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชียเรียบร้อยแล้ว
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 25 พฤษภาคม 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A51025
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ