WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน และความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. ….

GOV4 copy

ร่างกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน และความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร .. ….

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน และความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร .. …. ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ มท. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

          ทั้งนี้ มท. เสนอว่า

          1. โดยที่ปัจจุบัน ได้มีการประกาศใช้บังคับกฎกระทรวง จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่

                  1.1 กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (.. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร .. 2522 

                  1.2 กฎกระทรวง ฉบับที่ 48 (.. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร .. 2522 

ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร หรือพื้นดินที่รองรับอาคาร ตลอดจนลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ดัดแปลงหรือซ่อมแซมอาคาร เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกแก่การจราจร

          2. อย่างไรก็ตาม กฎกระทรวงจำนวน 2 ฉบับ ตามข้อ 1. ได้มีผลใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว จึงเห็นควรให้มีการปรับปรุงข้อกำหนดในส่วนที่เกี่ยวกับงานก่อสร้างฐานรากอาคารเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพงานก่อสร้างฐานรากอาคารในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป และเพื่อให้งานก่อสร้างฐานรากอาคารมีความมั่นคงแข็งแรง เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนและผู้เข้าใช้อาคาร โดยได้แยกเรื่องงานก่อสร้างฐานรากอาคารไว้เป็นการเฉพาะ มท. จึงได้จัดทำร่างกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน และความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร .. …. ขึ้น ซึ่งคณะกรรมการควบคุมอาคารได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว

          สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 

          1. กำหนดให้ฐานรากของอาคารจะต้องมีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักตัวอาคารเองและน้ำหนักบรรทุกที่เกิดจากการใช้งานของอาคารตามปกติ และสามารถส่งผ่านน้ำหนักดังกล่าวลงสู่ดินฐานรากโดยตรงหรือผ่านเสาเข็มสู่ดินฐานรากได้อย่างปลอดภัย โดยหน่วยแรงแบกทานที่ยอมให้ของดินฐานรากหรือแรงต้านทานที่ยอมให้ของเสาเข็ม และการทรุดตัวของฐานรากจะต้องเป็นไปตามที่กำหนด

          2. กำหนดให้อาคารสูง อาคารใหญ่พิเศษ อาคารขนาดใหญ่ที่มีความสูงตั้งแต่ 4 ชั้นขึ้นไป และอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 4 ชั้นขึ้นไปที่ก่อสร้างในโครงการจัดสรรที่ดิน ต้องมีรายงานการสำรวจดินฐานรากประกอบรายการคำนวณหน่วยแรงแบกทานที่ยอมให้ของดินฐานราก หรือแรงต้านทานที่ยอมให้ของเสาเข็ม

          3. กำหนดให้ฐานรากแผ่ต้องวางอยู่บนดินฐานรากที่ไม่มีส่วนของอนินทรีย์สารหรืออินทรีย์สารที่ยังสลายไม่หมด โดยความหนาของฐานรากแผ่ต้องไม่น้อยกว่า 0.20 เมตร และมีระดับความลึกที่ฝังในดินจากระดับผิวดินถึงระดับต่ำสุดของฐานรากไม่น้อยกว่า 1.00 เมตร เว้นแต่ฐานรากแผ่ที่วางอยู่บนชั้นหิน นอกจากนี้ ค่าหน่วยแรงแบกทานที่ยอมให้ของชั้นดินฐานรากต้องเพียงพอต่อการรับน้ำหนักบรรทุกทั้งในขณะก่อสร้างและขณะใช้งาน

          4. กำหนดให้ฐานรากของเสาเข็มต้องมีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอที่จะสามารถถ่ายเทน้ำหนักจากโครงสร้างอาคารส่วนบนสู่ดินฐานรากโดยรอบเสาเข็มได้อย่างปลอดภัย กรณีปลายเสาเข็มฝังอยู่ในชั้นทรายต้องฝังอยู่ในชั้นทรายไม่น้อยกว่า 3 เมตร ส่วนเสาเข็มที่มีปลายฝังอยู่บนชั้นดินแข็งและส่วนบนอยู่ในชั้นดินเหนียวอ่อนมากการคำนวณและออกแบบโครงสร้างเสาเข็มให้คำนึงถึงผลของความชะลูดของเสาเข็มต่อการรับน้ำหนักบรรทุกด้วย นอกจากนี้ การคำนวณและออกแบบฐานรากเสาเข็มที่อยู่ในบริเวณชั้นดินเหนียวอ่อนหรืออ่อนมากที่มีการถมดินหรือมีการสูบน้ำบาดาลในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง หรือบริเวณที่มีปัจจัยที่อาจทำให้ดินฐานรากมีอัตราการทรุดตัวเร็วกว่าอัตราการทรุดตัวของเสาเข็ม ให้พิจารณาผลของแรงเสียดทานฉุดลงที่อาจเกิดขึ้นกับเสาเข็มด้วย

          5. กำหนดให้การทดสอบกำลังแบกทานของดินฐานรากสำหรับฐานรากแผ่โดยวิธีทดสอบความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของพื้นดิน (Plate bearing) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบที่กำหนดในมาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือมาตรฐานอื่นที่คณะกรรมการควบคุมอาคารให้การรับรอง และเป็นไปตามกฎกระทรวงนี้

          6. กำหนดให้ในการคำนวณและออกแบบกำแพงกันดิน ผู้คำนวณและออกแบบจะต้องคำนึงถึงผลของแรงประเภทต่างๆ ที่กระทำต่อกำแพงกันดิน อันได้แก่ แรงดันของมวลดิน แรงดันหรือแรงยกตัวของน้ำหนัก น้ำหนักบรรทุกที่กระทำด้านหลังของกำแพงกันดิน เป็นต้น ทั้งนี้ การคำนวณแรงที่กระทำกับกำแพงกันดินให้เป็นไปตามมาตรฐานว่าด้วยการคำนวณแรงดันดินของกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือมาตรฐานอื่นที่คณะกรรมการควบคุมอาคารให้การรับรอง

          7. กำหนดให้กฎกระทรวงฉบับนี้ไม่ใช้บังคับกับการยื่นขออนุญาต หรือแจ้งการก่อสร้างอาคารก่อนหรือในวันที่กฎกระทรวงฉบับนี้ใช้บังคับ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 18 พฤษภาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A5736

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!