WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอความเห็นชอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2564 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

GOV3

ขอความเห็นชอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2564 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ 2564 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 2,886.647 ล้านบาท ตามมติคณะกรรมการเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ (คณะกรรมการฯ) ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563 โดยให้ รฟท. รายงานให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ทราบในโอกาสแรกด้วย เพื่อ สศค. จะได้จัดเก็บข้อมูลยอดคงค้างให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงต่อไป ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          กค. รายงานว่า

          1. คณะกรรมการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ได้พิจารณาข้อเสนอการขอรับเงินอุดหนุนบริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ 2564 ของ รฟท. (ข้อเสนอฯ) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้เห็นชอบแล้ว จำนวน 3,033.885 ล้านบาท โดยมีมติให้กระทรวงคมนาคม (คค.) แจ้งให้ รฟท. จัดทำข้อมูลประมาณการรายได้จากการให้บริการสาธารณะที่สอดคล้องกับระยะเวลาการเปิดให้บริการของรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อรังสิต และช่วงบางซื่อตลิ่งชัน และประมาณการต้นทุนจากการให้บริการสาธารณะในเรื่องค่าใช้จ่ายพนักงานการเดินรถและซ่อมบำรุง ค่าซ่อมบำรุง และค่าเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติม รวมทั้งสมมติฐานและวิธีการคำนวณพร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ต่อมา คค. ได้จัดส่งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา ข้อเสนอฯ ของ รฟท. โดย รฟท. ได้นำสมมติฐานของผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) มาคำนวณ ส่งผลให้ประมาณการผู้โดยสารในปี 2564 ลดลง อย่างไรก็ตาม ประมาณการรายได้จากการให้บริการสาธารณะของ รฟท. ภายหลังการปรับสมมติฐานดังกล่าว เท่ากับข้อเสนอฯ เดิมของ รฟท. ซึ่งยังคงจำนวน 314.649 ล้านบาท นอกจากนี้ รฟท. ได้ยืนยันค่าใช้จ่ายพนักงานเดินรถและซ่อมบำรุงจำนวน 1,664.803 ล้านบาท โดยประมาณการมาจากค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้นในปี 2561 – 2562 และนำมาปันส่วนสำหรับการให้บริการสาธารณะตามประเภทของต้นทุน

          2. คณะกรรมการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563 มีมติเห็นชอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2564 ของ รฟท. จำนวน 2,886.647 ล้านบาท โดยมีประมาณการรายได้และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสาธารณะจำนวน 314.649 ล้านบาท และจำนวน 3,201.296 ล้านบาท ตามลำดับ โดยคณะกรรมการฯ พิจารณาปรับประมาณการต้นทุนจากการให้บริการสาธารณะจาก 3,348.534 ล้านบาท เป็น 3,201.296 ล้านบาท ซึ่งเป็นการปรับลดต้นทุนการเดินรถและซ่อมบำรุงจำนวน 147.238 ล้านบาท รวมถึงคณะกรรมการฯ ได้มีการพิจารณาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ตามข้อมูลของ รฟท. ด้วยแล้ว

          3. กรณีการให้กรอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ รฟท. จำนวน 2,886.647 ล้านบาท เข้าข่ายลักษณะของกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามบทบัญญัติในมาตรา 27 และมาตรา 28 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ .. 2561 ซึ่งภาระที่รัฐต้องรับชดเชยจากการดำเนินโครงการดังกล่าวเมื่อรวมกับยอดภาระคงค้างที่มีอยู่เดิม วันที่ 5 มีนาคม 2564 ยังคงอยู่ในกรอบที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนดให้ยอดคงค้างทั้งหมดรวมกันไม่เกินร้อยละ 30 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 18 พฤษภาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A5725

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!