มาตรการการรับมือฤดูฝน ปี 2564
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 18 May 2021 23:46
- Hits: 1215
มาตรการการรับมือฤดูฝน ปี 2564
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบดังนี้
1. รับทราบมาตรการการรับมือฤดูฝน ปี 2564 ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการตามมาตรการดังกล่าว ทั้งนี้ ให้รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปด้วย
2. การดำเนินการในปีต่อๆ ไป ให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) และ สทนช. เร่งบูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดมาตรการหรือแผนบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้งและฤดูฝนให้เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์และแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) โดยให้แล้วเสร็จโดยเร็ว แล้วให้ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
สทนช. รายงานว่า
1. กนช. ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 ที่มีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน ได้เห็นชอบการจัดทำแผนและมาตรการต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือในช่วงฤดูฝน ปี 2564 โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
1.1 แผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฤดูฝน ปี 2564
หัวข้อ |
รายละเอียด |
||||||||||||||||||||||||||||||
1. การวางแผนการจัดสรรน้ำในฤดูฝน ปี 2564 |
- แผนการจัดสรรน้ำฤดูฝน : ผลการคาดการณ์ปริมาณน้ำใช้การ ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 แหล่งน้ำทั่วประเทศ พบว่า มีปริมาตรน้ำรวม 38,722 ล้านลูกบาศก์เมตร (ร้อยละ 47 ของความจุ) แต่จากการสำรวจพบว่า ในช่วงฤดูฝน ปี 2564 จะมีปริมาณการใช้น้ำรวม 96,249 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากกว่าปริมาณน้ำที่มีอยู่ในอ่างเก็บน้ำ 57,527 ล้านลูกบาศก์เมตร ดังนั้น สทนช. จึงต้องมีการวางแผนการใช้น้ำโดยให้ใช้น้ำฝนในการทำกิจกรรมต่างๆ เป็นหลักเพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน โดยแบ่งประเภทการใช้น้ำได้ ดังนี้ 1) การอุปโภค - บริโภค รวม 3,429 ล้านลูกบาศก์เมตร 2) การรักษาระบบนิเวศ รวม 12,888 ล้านลูกบาศก์เมตร 3) การเกษตรกรรม รวม 78,905 ล้านลูกบาศก์เมตร 4) การอุตสาหกรรม รวม 1,027 ล้านลูกบาศก์เมตร - พื้นที่จัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรฤดูฝน : กรมส่งเสริมการเกษตรคาดการณ์พื้นที่ปลูกพืชฤดูฝน ปี 2564 ประกอบด้วย 1) ในเขตชลประทาน (ทั้งประเทศ) จำนวน 11.56 ล้านไร่ ได้แก่ นารอบที่ 1 (นาปี) จำนวน 10.02 ล้านไร่ พืชไร่ จำนวน 0.61 ล้านไร่ และพืชผัก จำนวน 0.32 ล้านไร่ 2) นอกเขตชลประทาน (ทั้งประเทศ) จำนวน 61.49 ล้านไร่ ได้แก่ นารอบที่ 1 (นาปี) จำนวน 48.95 ล้านไร่ พืชไร่ จำนวน 11.75 ล้านไร่ และพืชผัก จำนวน 0.79 ล้านไร่
|
||||||||||||||||||||||||||||||
2. พื้นที่เฝ้าระวังฝนน้อยกว่าค่าปกติ ระหว่างเดือน พฤษภาคม – กรกฎาคม 2564 |
สทนช. ร่วมกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ได้คาดการณ์พื้นที่เฝ้าระวังฝนน้อยกว่าค่าปกติโดยระบุพื้นที่เฝ้าระวัง ดังนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||
3. การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค |
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อมูลความเสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค – บริโภค ในพื้นที่ 76 จังหวัด ข้อมูล ณ วันที่ 13 มีนาคม 2564 โดยแบ่งพื้นที่เสี่ยงเป็น 3 ระดับ มีจำนวนพื้นที่เสี่ยง ดังนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||
4. การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย |
สทนช. ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยนำข้อมูลสถิติการเกิดอุทกภัย ประกอบด้วยปริมาณน้ำฝน น้ำล้นตลิ่ง ดินโคลนถล่ม พื้นที่น้ำท่วม มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลฝนคาดการณ์ในระบบ One Map เพื่อคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายน 2564 ได้ดังนี้
|
1.2 มาตรการการรับมือฤดูฝน ปี 2564
สทนช. ได้จัดทำมาตรการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ในช่วงฤดูฝน ปี 2564 เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมรับมือและแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นสรุปได้ ดังนี้
มาตรการ |
ระยะเวลา |
หน่วยงานที่รับผิดชอบ |
||
1. คาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติ - การประเมินพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย (เดือนพฤษภาคม – ธันวาคม 2564) - ประเมินพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ (เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2564) |
ภายในวันที่ 15 เมษายน 2564 และปรับปรุงข้อมูลทุกสิ้นเดือน |
- กรมอุตุนิยมวิทยา - สทนช. - สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) - กรุงเทพมหานคร |
||
2. การบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำ เพื่อรองรับน้ำหลาก - จัดทำแผนการเก็บเกี่ยวในพื้นที่ลุ่มต่ำ/แก้มลิงสำหรับหน่วงน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก - จัดทำแผนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการผันน้ำเข้าทุ่ง |
1 เมษายน – 15 สิงหาคม 2564 |
- กรมชลประทาน - กรมทรัพยากรน้ำ - กรมส่งเสริมการเกษตร - กรุงเทพมหานคร |
||
3. ทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ – กลาง และเขื่อนระบายน้ำ เช่น - ปรับปรุงหลักเกณฑ์และมาตรฐานการบริหารจัดการน้ำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ได้แก่ เกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ (Rule Curve) เพื่อใช้ข้อมูลปริมาณน้ำฝนในการกำหนดการเก็บกักน้ำและระบายน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน |
ภายในวันที่ 30 เมษายน 2564 |
- กรมชลประทาน - กรมทรัพยากรน้ำ - การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย - กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน - กรมประมง |
||
4. ซ่อมแซมและปรับปรุงอาคารชลศาสตร์และระบบระบายน้ำสถานีโทรมาตรให้พร้อมใช้งาน - ตรวจสอบสภาพความมั่นคงและซ่อมแซมอ่างเก็บน้ำ รวมทั้งระบบระบายน้ำ - ตรวจสอบและซ่อมแชมสถานีโทรมาตรให้มีสภาพพร้อมใช้งาน และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อให้ทุกหน่วยงานใช้ในการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา |
ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 |
- กรมชลประทาน - กรมทรัพยากรน้ำ - กรมอุตุนิยมวิทยา - กรมประมง - การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย - กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน - สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) - กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น - กรุงเทพมหานคร |
||
5. ปรับปรุงและแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ - สำรวจ และจัดทำแผนดำเนินการกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำที่เกิดจากการก่อสร้างและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการปรับปรุงคูคลอง เพื่อเพิ่มพื้นที่รับน้ำและระบายน้ำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว |
ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 |
- กรมทางหลวง - กรมทางหลวงชนบท - กรมชลประทาน - กรมทรัพยากรน้ำ - กรมเจ้าท่า - กรุงเทพมหานคร - การรถไฟแห่งประเทศไทย - กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น |
||
6. ขุดลอกคูคลองและกำจัดผักตบชวา - สำรวจปริมาณผักตบชวาและวัชพืชในแหล่งน้ำทั่วประเทศ - จัดทำแผนบูรณาการด้านเครื่องจักร เครื่องมือในการกำจัดผักตบชวาและวัชพืช - ดำเนินการกำจัดวัชพืชในแม่น้ำและคูคลอง |
ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 |
- กรมโยธาธิการและผังเมือง - กรมเจ้าท่า - กรมชลประทาน - กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น - กรุงเทพมหานคร - สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) - กรมทรัพยากรน้ำ |
||
7. เตรียมพร้อม/วางแผนเครื่องจักรเครื่องมือประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติ - เตรียมความพร้อมแผนป้องกันและบรรเทาภาวะน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติ รวมทั้งเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและเครื่องมือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ งานและเข้าช่วยเหลือได้ทันสถานการณ์ - ติดตามวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติด้วยภาพถ่ายดาวเทียม และอากาศยานไร้คนขับ (UAV) กำหนดแนวทางและเงื่อนไขของการแจ้งเตือนตามระดับความรุนแรงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น |
ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 |
- กรมทรัพยากรน้ำ - กรมชลประทาน - กรมทรัพยากรน้ำบาดาล - กรุงเทพมหานคร - กรมทางหลวง - กรมทางหลวงชนบท - กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น - กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย - กองบัญชาการกองทัพไทย - กองทัพบก - กองทัพอากาศ - กองทัพเรือ - สำนักงานตำรวจแห่งชาติ - สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) - กรมฝนหลวงและการบินเกษตร |
||
8. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและปรับปรุงวิธีการส่งน้ำ เช่น - วางแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน และส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ - ลดการสูญเสียน้ำในระบบการส่งน้ำ |
ตลอดระยะเวลาฤดูฝน |
- กรมชลประทาน - การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย - กรมทรัพยากรน้ำ - กรมทรัพยากรน้ำบาดาล - กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น - การประปานครหลวง - การประปาส่วนภูมิภาค |
||
9. สร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ - สร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ในการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ให้ทุกภาคส่วนได้รับรู้และสามารถสื่อสารโดยตรงกับภาคประชาชน |
ตลอดระยะเวลาฤดูฝน |
- สทนช. - กรมประชาสัมพันธ์ - กระทรวงมหาดไทย (มท.) |
||
10. ติดตามประเมินผลปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย |
ตลอดระยะเวลาฤดูฝน |
- สทนช. |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 18 พฤษภาคม 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A5723
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ