WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานประจำครึ่งปี (กรกฎาคม – ธันวาคม 2563) ของธนาคารแห่งประเทศไทย

GOV6

รายงานประจำครึ่งปี (กรกฎาคมธันวาคม 2563) ของธนาคารแห่งประเทศไทย

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานประจำครึ่งปี (กรกฎาคมธันวาคม 2563) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) (เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติ ธปท. .. 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 61 ซึ่งบัญญัติให้ทุกหกเดือน ให้ ธปท. จัดทำรายงานสภาพเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน นโยบายสถาบันการเงิน นโยบายระบบการชำระเงิน แนวทางการดำเนินงานและประเมินผล เพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีทราบ) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย (ไทย) ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 หดตัว ร้อยละ 5.2 จากระยะเดียวกันของปีก่อน (ปรับตัวดีขึ้นจากที่หดตัวร้อยละ 6.9 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563) ซึ่งเป็นการทยอยฟื้นตัวจากการผ่อนปรนมาตรการปิดเมืองทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ การลงทุนภาคเอกชนยังหดตัวสูงเนื่องจากผู้ประกอบการมีกำลังการผลิตส่วนเกินเหลืออยู่มาก การใช้จ่ายภาครัฐเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญผ่านทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน อย่างไรก็ตามการส่งออกบริการหดตัวรุนแรงและฟื้นตัวช้าตามกำลังซื้อของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไปจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ

          เสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในประเทศปรับตัวดีขึ้นแต่ยังเปราะบางโดยตลาดแรงงานทยอยฟื้นตัว แต่ภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวยังฟื้นตัวช้า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบน้อยลงตามราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลงจากกิจกรรมส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ ขณะที่เสถียรภาพด้านต่างประเทศของไทยอยู่ในเกณฑ์ดีและสามารถรองรับความผันผวนของตลาดการเงินโลกได้ สะท้อนจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ระดับหนี้ต่างประเทศที่ต่ำ และเงินสำรองระหว่างประเทศที่สูง ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐในภาพรวมมีทิศทางแข็งค่าเนื่องจากนักลงทุนยอมรับความเสี่ยงได้มากขึ้นและเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์ประเทศตลาดเกิดใหม่รวมถึงไทย หลังผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกามีความชัดเจนและการพัฒนาวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) มีความคืบหน้าเป็นลำดับ

          2. การดำเนินงานของ ธปท. ประกอบด้วย

                  2.1 แนวทางการดำเนินงานและประเมินผลนโยบายการเงิน ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี โดยประเมินว่าเศรษฐกิจยังคงต้องการแรงสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภาวะที่เศรษฐกิจมีความไม่นอนสูงจากสถานการณ์โควิด-19 และเห็นว่านโยบายการเงินต้องผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งควรเร่งการกระจายสภาพคล่องไปสู่ผู้ที่ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดและทันการณ์ นอกจากนี้ กนง. เห็นควรให้ติดตามตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังเปราะบาง ควบคู่กับการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนไทยอย่างยั่งยืนผ่านการผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของอัตราแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลเข้าออกได้อย่างสมดุลมากขึ้น ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 อนุมัติเป้าหมายนโยบายการเงินตามข้อตกลงร่วมกันระหว่าง กนง. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยกำหนดให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1 – 3 เป็นเป้าหมายนโยบายการเงินด้านเสถียรภาพราคาสำหรับระยะปานกลางและเป็นเป้าหมายสำหรับปี 2564 

                 2.2 แนวทางการดำเนินงานและประเมินผลนโยบายสถาบันการเงิน คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) ให้ความสำคัญ ดังนี้ (1) การออกหรือปรับปรุงนโยบายเพื่อดูแลลูกหนี้สถาบันการเงินและเตรียมความพร้อมให้สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิด–19 เช่น ติดตามและให้ความเห็นต่อมาตรการต่างๆ ในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้และสถาบันการเงินเพื่อบรรเทาผลกระทบและรองรับความเสี่ยงจากสถานการณ์โควิด-19 (2) การติดตามและประเมินความเสี่ยงของเสถียรภาพระบบการเงินในประเด็นที่สำคัญ เช่น ความเสี่ยงของภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในระยะข้างหน้า และความเพียงพอของเงินกองทุนในระบบธนาคารพาณิชย์จากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ และ (3) การพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพบริการทางการเงินจากการใช้เทคโนโลยี การเข้าถึงบริการทางการเงิน และการผลักดันความเชื่อมโยงทางการเงินในภูมิภาคและโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน โดยให้ความเห็นต่อหลักเกณฑ์และติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของ ธปท. ในเรื่องต่างๆ เช่น การสนับสนุนการใช้บริการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ และการจัดทำแบบประเมินตนเองเพื่อใช้ประเมินความคืบหน้าของธนาคารพาณิชย์ ในการดำเนินการตามแนวทางการดำเนินกิจการธนาคารอย่างยั่งยืนในด้านการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ

                  ทั้งนี้ ในรอบหกเดือนหลังของปี 2563 ระบบธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีความมั่นคง เงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่อง เพียงพอ สามารถสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้

                  2.3 แนวทางการดำเนินงานและประเมินผลนโยบายระบบการชำระเงิน ธปท. ได้ดำเนินการต่างๆ เพื่อให้ระบบการชำระเงินของไทยมีประสิทธิภาพและมั่นคงปลอดภัย รวมทั้งยกระดับการกำกับดูแลระบบการชำระเงินของประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล สรุปได้ ดังนี้ (1) การใช้บริการระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น ปริมาณธุรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.1 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 เมื่อเทียบกับปีก่อนการใช้บริการโอนเงินและชำระเงินออนไลน์ผ่าน Mobile Banking/Internet Banking เติบโตสูงสุดที่ร้อยละ 74.6 และปริมาณโอนเงินเฉลี่ยต่อวัน 20.2 ล้านรายการ หรือคิดเป็นมูลค่า 74,300 ล้านบาท และ (2) การดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน ฉบับที่ 4 เช่น ผลักดันและส่งเสริมการใช้มาตรฐานด้านข้อมูล ISO 20022 เพื่อรองรับข้อมูลการชำระเงินและข้อมูลที่เกี่ยวข้องของภาคธุรกิจ ผลักดันการเชื่อมโยงระบบโอนเงินรายย่อยระหว่างประเทศ และขยายการใช้ระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในหน่วยงานภาครัฐ กรมสรรพากร และสถาบันการเงิน โดยเริ่มให้บริการแจ้งและนำส่งเงินภาษีหัก ที่จ่าย ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 18 พฤษภาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A5717

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!