WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สรุปผลการดำเนินงานสำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ

GOV 7

สรุปผลการดำเนินงานสำคัญ ประจำปีงบประมาณ .. 2563 คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่คณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ (คณะกรรมการฯ) เสนอสรุปผลการดำเนินงานสำคัญของคณะกรรมการฯ ประจำปีงบประมาณ .. 2563 [เป็นการดำเนินการตามนัยมาตรา 19 (9) แห่งพระราชกำหนดการประมง .. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่บัญญัติให้คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติจัดทำรายงานผลการดำเนินงานประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ] โดยคณะกรรมการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการและมอบฝ่ายเลขานุการฯ นำข้อเสนอของกรรมการไปประกอบการพิจารณาโดยเสนอคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายพิจารณาก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานฯ ฉบับสมบูรณ์ เสร็จเรียบร้อยแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. การบริหารจัดการทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน โดยกำหนดนโยบายการบริหารจัดการเพื่อให้ทรัพยากรประมงและสินค้าประมงตลอดสายการผลิตของประเทศมีความยั่งยืน แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) การบริหารจัดการทรัพยากรประมงทะเลน้ำจืด โดยใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดเพื่อกำหนดมาตรการในการทำการประมง รวมถึงการฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยมุ่งเน้นคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ผลผลิตสัตว์น้ำปลอดภัย ตลาดนำการผลิต และทรัพยากรมีความสมดุลและยั่งยืน และ 3) การพัฒนาอุตสาหกรรมประมง เพื่อให้สินค้าประมงมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและการตรวจสอบรับรองสินค้าประมงเพื่อการส่งออก

          2. การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย โดยดำเนินการ ดังนี้

                    2.1 การปรับปรุงกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง จำนวน 17 ฉบับ เช่น ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ 12) .. 2562 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562) และกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ .. 2562 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562) 

                   2.2 การบริหารจัดการประมงทะเลไทยและการจัดการกองเรือไทย โดยมีการบริหารจัดการจำนวนเรือประมงเพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณทรัพยากรประมง การออกใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ในปีการประมง 2563 และการออกใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านน้ำ

                   2.3 การติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวังการทำประมงให้เป็นไปตามกฎระเบียบของประเทศไทย (ไทย) และกฎระเบียบระหว่างประเทศ เช่น การตรวจสอบ ติดตามและเฝ้าระวัง การทำประมงของเรือประมงต่างประเทศผ่านระบบ e-PSM (Electronic Port State Measure) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเรือประมงที่ไม่ใช่สัญชาติไทย รวมถึงวิเคราะห์พฤติกรรมของเรือว่าต้องไม่มีพฤติกรรมที่ผิดกฎหมาย

                   2.4 การบังคับใช้กฎหมายด้วยมาตรการทางปกครองควบคู่กับการใช้บทลงโทษทางอาญา

                   2.5 การใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับด้วยมาตรการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าประมงไปยังแหล่งที่มาของสัตว์น้ำ ครอบคลุมตั้งแต่การตรวจสอบการทำประมงในทะเล การตรวจสอบที่ท่าเทียบเรือ และการตรวจสอบที่โรงงาน โดยสามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้ทุกขั้นตอน เช่น ข้อมูลเรือ ข้อมูลการทำประมง และข้อมูลการจับสัตว์น้ำขึ้นท่า

                   2.6 การจัดระเบียบแรงงานประมง โดยมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของคนประจำเรือและป้องกันการใช้แรงงานผิดกฎหมายในภาคการประมง รวมทั้งการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของไทยและการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานประมงทะเล

                   2.7 แนวทางและมาตรการในการพัฒนาการประมงของไทยให้ปลอดสัตว์น้ำและสินค้าสัตว์น้ำที่มาจากการทำประมงผิดกฎหมาย [Illegal, Unreported and Unregulated Fishing (IUU)-Free Thailand] ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ 1) การดำเนินนโยบาย IUU-Free Thailand อย่างมีประสิทธิภาพ 2) การสร้างความเข้มแข็งในความร่วมมือ การติดต่อสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูล 3) การพัฒนามาตรฐานการควบคุมการน้ำเข้าสัตว์น้ำและสินค้าสัตว์น้ำ และ 4) การปรับปรุงระบบการตรวจสอบย้อนกลับของไทย

          3. การดำเนินการด้านการประมงต่างประเทศ โดยมีการกำหนดนโยบายด้านการประมงระหว่างประเทศซึ่งสอดคล้องกับกฎระเบียบและข้อกำหนดของประเทศคู่ค้าสำคัญ รวมถึงความร่วมมือกับองค์กรจัดการประมงระดับภูมิภาคและประเทศต่างๆ ในฐานะรัฐเจ้าของธง รัฐเจ้าของท่า รัฐชายฝั่ง และรัฐตลาด แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) มาตรการการค้าสินค้าประมงที่กำหนดโดยประเทศคู่ค้า โดยคณะกรรมการฯ ได้ศึกษาและพิจารณาแนวปฏิบัติเพื่อให้สามารถรองรับกฎระเบียบของประเทศคู่ค้าที่กำหนดเพื่อไม่ให้เกิดอุปสรรคทางการค้าสินค้าประมงของไทย 2) การขยายความร่วมมือในการต่อต้านประมงผิดกฎหมายไปยังประเทศอาเซียน โดยรัฐบาลไทยได้เสนอให้อาเซียนมีการจัดตั้งเครือข่ายอาเซียนเพื่อการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกและจัดทำกรอบความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนและระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับคู่เจรจาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งร่วมกันติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวังทางทะเล เพื่อป้องกันการทำประมงผิดกฎหมาย และ 3) ความร่วมมือกับองค์กรจัดการประมงระดับภูมิภาค โดยไทยเป็นภาคีองค์กรจัดการประมงระดับภูมิภาค 2 องค์กร ได้แก่ คณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดียและความตกลงการทำประมงสำหรับพื้นที่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย และได้รับอนุญาตให้นำเรือประมงนอกน่านน้ำของไทยเข้าไปทำประมงในพื้นที่ของทั้งสององค์กรดังกล่าวได้ตามข้อกำหนดของแต่ละองค์กร

          4. การดำเนินโครงการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและชาวประมง โดยได้ช่วยเหลือเกษตรกรและชาวประมงที่ได้รับผลกระทบ ดังนี้

                   4.1 นำเรือประมงออกนอกระบบ จำนวน 53 ลำ โดยได้จ่ายเงินเยียวยาให้เจ้าของเรือประมงแล้ว

                   4.2 ดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการประมง วงเงินสินเชื่อ 10,300 ล้านบาท โดย วันที่ 18 ธันวาคม 2563 มีผู้ประกอบการประมงประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 4,828 ราย วงเงินสินเชื่อที่ต้องการประมาณ 6,111 ล้านบาท โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรอนุมัติเงินกู้แล้ว จำนวน 323 ราย วงเงิน 109.338 ล้านบาท และธนาคารออมสินอนุมัติเงินกู้แล้ว จำนวน 65 ราย วงเงิน 230.606 ล้านบาท

                   4.3 จัดทำร่างพระราชบัญญัติกองทุนการประมงแห่งชาติ .. .... (ข้อมูลเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา) และร่างพระราชบัญญัติสภาการประมงแห่งชาติ .. .... (อยู่ระหว่างจัดทำหนังสือถึงกรมบัญชีกลางเพื่อจัดส่งข้อมูลเพิ่มเติมการขอจัดตั้งกองทุนการประมงแห่งชาติ

                   4.4 ยกเว้นค่าธรรมเนียมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ส่งผลให้มีเกษตรกรได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมจำนวน 21,041 ราย คิดเป็นวงเงินรวม 59.494 ล้านบาท

                   4.5 เยียวยาเกษตรกร ชาวประมง และผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการจ่ายเงินช่วยเหลือ จำนวน 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ให้แก่เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมประมงและผู้ทำการประมง รวม 188,134 ราย คิดเป็นเงินงบประมาณรวม 2,822 ล้านบาท

                   4.6 ดำเนินโครงการสร้างรายได้จากอาชีพประมงในแหล่งน้ำชุมชน โดยการสนับสนุนลูกพันธุ์กุ้งก้ามกราม จำนวน 200,000 ตัวต่อแหล่งน้ำ ให้แก่แหล่งน้ำชุมชน 1,436 แห่ง ในพื้นที่ 19 จังหวัด และโครงการพัฒนาเสริมทางเลือกอาชีพด้านประมง ซึ่งได้สนับสนุนพันธุ์ปลานิลแปลงเพศให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ 37 จังหวัด จำนวน 44,311 ราย รายละ 800 ตัว และสนับสนุนอาหารสัตว์นำร่องจำนวนรายละ 120 กิโลกรัม

          5. การขอรับจัดสรรงบกลางเพื่อดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (29 กรกฎาคม 2563) อนุมัติให้ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 153.711 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรักษาประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 18 พฤษภาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A5716

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!