WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอบประทุษร้ายประชาชน ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการลอบประทุษร้ายประชาชน สภาผู้แทนราษฎร

GOV5 copy copy

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอบประทุษร้ายประชาชน ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการลอบประทุษร้ายประชาชน สภาผู้แทนราษฎร

          คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอบประทุษร้ายประชาชน ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการลอบประทุษร้ายประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป

          เรื่องเดิม

          1. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอบประทุษร้ายประชาชนของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอบประทุษร้ายประชาชน มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอบประทุษร้ายประชาชนในประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1) ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงจากความขัดแย้งทางการเมือง 2) การบังคับบุคคลสูญหาย 3) การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะหรือการคุกคามโดยการใช้กฎหมาย 4) ความรุนแรงเชิงโครงสร้างทางสังคม และความรุนแรงที่เกี่ยวกับเพศสภาพ 5) การละเมิดสิทธิในพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 6) การละเมิดสิทธิชนเผ่าและชาติพันธุ์ และ 7) การดำเนินการให้มีกฎหมายกลางเรื่องการเยียวยาผู้เสียหายจากกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน

          2. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ ยธ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สำนักงบประมาณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) สำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมข้อสังเกตดังกล่าวและสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

          ข้อเท็จจริง 

          ยธ. ได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานตามข้อ 2 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณารายงานและข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอบประทุษร้ายประชาชน สภาผู้แทนราษฎร เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการลอบประทุษร้ายประชาชน โดยสรุปผลการพิจารณาได้ว่า ขณะนี้กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ แล้ว ในหลายประเด็น เช่น ในประเด็นความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงจากความขัดแย้งทางการเมือง ปัจจุบันได้มีการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมอยู่แล้ว รวมทั้งได้มีองค์กรอิสระและภาคประชาสังคมในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย ในประเด็นการบังคับคนสูญหาย รัฐบาลได้มีการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และร่วมมือกับต่างประเทศในการประสานความร่วมมือเพื่ออำนวยความยุติธรรมให้กับพลเมืองไทยที่ถูกบังคับสูญหายในต่างประเทศ ในประเด็นการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะ หรือการคุกคามโดยการใช้กฎหมาย ขณะนี้ประมวลกฎหมายอาญาได้มีบทบัญญัติเพื่อป้องกันการฟ้องคดีเชิงยุทธศาสตร์โดยที่ราษฎรเป็นโจทก์อยู่แล้ว นอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังอยู่ระหว่างการจัดทำร่างกฎหมายเพื่อป้องกันการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์ โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย ในประเด็นความรุนแรงเชิงโครงสร้างทางสังคม และความรุนแรงที่เกี่ยวกับเพศสภาพ รัฐบาลได้มีโครงการและมาตรการต่างๆ ในการส่งเสริมความเท่าเทียมและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อสตรีอยู่แล้ว ในประเด็นการละเมิดสิทธิในพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐบาลได้ดำเนินการทบทวนกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่แล้ว ในประเด็นการละเมิดสิทธิชนเผ่าและชาติพันธุ์ รัฐบาลได้มีโครงการและแผนงานผ่านทางหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือกับชนเผ่าพื้นเมือง ทั้งด้านการส่งเสริมอาชีพ ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่วัฒนธรรม และการให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมาย และในประเด็นการดำเนินการให้มีกฎหมายกลางเรื่องการเยียวยาผู้เสียหายจากกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ปัจจุบันได้มีกฎหมายเพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายจากกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่แล้ว รวมทั้งมีโครงการในการจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนสำหรับประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมด้วย เป็นต้น สำหรับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ในประเด็นอื่น กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้มีการพิจารณาศึกษาเพื่อดำเนินการต่อไปในอนาคต

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 18 พฤษภาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A5715

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!