WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การถอดบทเรียนชุมชนย่านกะดีจีน

GOV4

การถอดบทเรียนชุมชนย่านกะดีจีน

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการถอดบทเรียนชุมชนย่านกะดีจีน ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ ดังนี้

          เรื่องเดิม

          1. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการในคราวประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ให้กระทรวงวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นำหลักการบวร : บ้าน วัด โรงเรียนซึ่งถือเป็นสถาบันที่มีบทบาทใกล้ชิดต่อวิถีชีวิตของคนไทยไปขับเคลื่อนและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้เป็นแหล่งปลูกฝัง บ่มเพาะ และเผยแพร่องค์ความรู้ที่มีประโยชน์ เพื่อพัฒนาจิตใจและจิตสำนึกด้านจริยธรรมให้แก่ประชาชนทุกระดับให้มีสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม รู้รักสามัคคี เสียสละ และกตัญญูรู้คุณ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของคนไทยที่ควรธำรงรักษาไว้ รวมทั้ง ให้เป็นแหล่งกระจายข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและเข้าถึงโครงการต่างๆ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

          2. รัฐบาลได้กำหนดให้มีแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (.. 2561 – 2580) เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาประเทศให้บรรลุวิสัยทัศน์ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยการบูรณาการร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อยกระดับรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิต พร้อมสร้างความสุขสู่สังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เล็งเห็นความสำคัญของการนำหลักการบวรควบคู่กับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง สู่สังคมดี จึงได้ดำเนินการถอดบทเรียนชุมชนย่านกะดีจีน เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาสังคม

          สาระสำคัญ ข้อเท็จจริง

          1. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ถอดบทเรียนชุมชนย่านกะดีจีนเพื่อศึกษาวิถีชีวิตการอยู่ร่วมกันของชุมชนพึ่งพากันในพหุวัฒนธรรม บทบาทหน้าที่ของครอบครัวในการดูแลสมาชิกให้มีภูมิคุ้มกัน และพึ่งตนเอง ในมิติทางสังคมที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน และปัจจัยความสำเร็จชุมชนจัดการตนเอง โดยไม่ทิ้งรากเหง้าและคุณค่าเดิมของชุมชน จากข้อมูลการถอดบทเรียนในครั้งนี้ จะเป็นต้นแบบ (Model) เพื่อขยายผล ประยุกต์ใช้ และต่อยอดไปสู่การพัฒนาชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ โดย พม. ได้จัดประชุมเพื่อหาแนวทางการถอดบทเรียน และสรุปผลการถอดบทเรียนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งลงพื้นที่เพื่อดำเนินการถอดบทเรียน

          2. ผลการถอดบทเรียนชุมชนย่านกะดีจีน

                 ชุมชนย่านกะดีจีน เป็นชุมชนต้นแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในการนำหลักการบวรมาใช้ในการดำรงชีวิตร่วมกันในบริบทความหลากหลายทางวัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อ และประเพณี เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง ดังนี้

                  2.1 การถอดรหัสความสำเร็จ (Key Success) ของชุมชนย่านกะดีจีน : ต้นแบบชุมชนเข้มแข็งด้านการพัฒนาสังคม ด้วยหลักการบวร

                          ชุมชนย่านกะดีจีน เป็นชุมชนหนึ่งที่มีการนำหลักการบวรมาใช้ในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อพัฒนาสังคม และดูแลประชาชนกลุ่มเป้าหมายในทุกช่วงวัยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่งมีปัจจัยความสำเร็จเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนย่านกะดีจีน ดังนี้

                          1) ปัจจัยด้านครอบครัวและชุมชน ได้ส่งเสริมบทบาทของครอบครัว และชุมชนในการจัดสวัสดิการสังคมและพัฒนาสังคม ได้แก่

                                  (1) การดูแลกลุ่มเปราะบาง มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ชุมชนมีวิธีการบริหารจัดการดูแลกลุ่มเปราะบางในทุกช่วงวัยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ เช่น ศาลเจ้าเกียนอันเกง มีการขอรับริจาคเครื่องอุปโภคบริโภคสำหรับกลุ่มเปราะบาง และให้โรงเรียน สำนักงานเขต สถานีตำรวจ เป็นผู้พิจารณาในการแจกจ่ายตามความเหมาะสม รวมถึงศูนย์บริการสาธารณสุข 26 เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) มีการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางอย่างต่อเนื่อง

                                  (2) ผู้นำชุมชนเข้มแข็งและมีวิสัยทัศน์ ประธานชุมชนในย่านกะดีจีน 6 ชุมชน เป็นผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนา เสียสละในการทำงาน มีทักษะในการประสานภาคีเครือข่าย อาทิ ภาควิชาการ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม ให้เข้ามาเปลี่ยนแปลงชุมชน รวมทั้งเป็นผู้จุดประกายให้คนในชุมชนมีการตระหนักและมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนในกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้มีอาชีพ มีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดจนชุมชนเกิดความตระหนัก หวงแหน และรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ในชุมชน

                                  (3) การจัดกิจกรรมสัมพันธ์ในชุมชนพหุวัฒนธรรม เป็นการจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างคนในชุมชนที่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม อย่างผสมผสานกลมกลืนกัน เปรียบเสมือนการแสวงหาจุดร่วม สงวนจุดต่าง ซึ่งมีวัดเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมโครงการต่างๆ ร่วมกันโดยวัดประยุรวงศา วาสวรวิหาร ได้มีการจัดทำโครงการที่มีเป้าหมายให้ทุกศาสนาเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งงานสมโภชพระอาราม งานสงกรานต์ งานถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน งานแห่พระบรมสารีริกธาตุทางน้ำ งานลอยกระทง ซึ่งให้คนในชุมชนนำสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคมาวางจำหน่ายในวัด โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย นอกจากนั้น มีการจัดงานผ้าป่าวัฒนธรรม 3 ศาสนา 4 ความเชื่อ

                          2) ปัจจัยด้านวัฒนธรรมและศาสนา เป็นการส่งเสริมให้ชุมชนตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของทุนทางวัฒนธรรมของชุมชน ซึ่งมีเป้าหมายเดียวกันในการฟื้นฟูและรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม จนทำให้มีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ในเชิงวัฒนธรรมและศาสนา ที่ส่งผลให้คนในชุมชนสามารถสร้างอาชีพและสร้างรายได้ จากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการใช้ภูมิปัญญาของชุมชนได้อย่างชัดเจน ได้แก่

                                  (1) ผู้นำทางศาสนา ชุมชนมีแนวคิดเชื่อมโยงความหลากหลายทางศาสนาให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ปลูกฝัง บ่มเพาะ ให้กับคนในชุมชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน มีวินัย สามัคคี และอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

                                  (2) การฟื้นฟูและรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชุมชน เป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและขนมธรรมเนียมประเพณี อาทิ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมอันดับ 1 ด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม จากองค์การยูเนสโก โบราณสถานศาลเจ้าเกียนอันเกง ได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2561 ประเภทปูชนียสถานและวัดวาอาราม ศาลเจ้าแห่งนี้ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงจัดงานวันอาเนี่ยแซแบบไม่เต็มรูปแบบ โดยคำนึงถึงความพอดีและพอประมาณแต่คงไว้ซึ่งวัฒนธรรม

                                  (3) การใช้ภูมิปัญญาชุมชน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ โดยการเปิดร้านอาหารสยาม-โปรตุเกส ที่มี 1 เดียวในประเทศไทย และอาหารที่เป็นเอกลักษณ์เป็นหนึ่งเดียว คือ ขนมฝรั่งกุฎีจีน

                          3) ปัจจัยด้านเครือข่ายชุมชน เป็นการส่งเสริมให้เครือข่ายในชุมชนมีส่วนร่วมจัดสวัสดิการสังคมให้แก่คนทุกช่วงวัยในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่

                                  (1) อาสาสมัครดูแลคนในชุมชน ประกอบด้วย อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) อาสาสมัครยุติธรรม (อสย.) อาสาสมัครคุมประพฤติ (อสค.) อาสาสมัครตำรวจบ้าน (อส.ตร.) อาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด และอาสาสมัครด้านศาสนา (ศาสนาคริสต์) รวมจำนวน 129 ราย มีบทบาทในการเป็นจิตอาสาดูแลชุมชน อาทิ การดูแลผู้ติดเตียง ผู้สูงอายุ คนพิการยากลำบาก การเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในเด็กและเยาวชน และการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

                                  (2) สภาองค์กรชุมชน ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายเข้ามาหนุนเสริมการจัดสวัสดิการชุมชนให้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง เน้นการพัฒนาและขยายฐานสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนจากผู้นำชุมชนสู่การขยายสมาชิกเพิ่มในชุมชน เพื่อให้เข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐานดูแลตั้งแต่เกิดจนตาย

                                  (3) ภาคีเครือข่ายร่วมจัดกิจกรรมในชุมชน (มหาวิทยาลัย/โรงเรียน หน่วยงานราชการ และภาคเอกชน) โดยมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ 1) การสร้างอาชีพ สร้างรายได้ โดยส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ภูมิปัญญาชุมชน 2) การส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชน อาทิ กิจกรรมเยาวชนเจ้าบ้านสืบสานวัฒนธรรม กิจกรรมมอบทุนการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน กิจกรรมอบรมเด็กและเยาวชนภาคฤดูร้อน 3) การพัฒนาที่อยู่อาศัย อาทิ การซ่อมแซมบ้านผู้มีรายได้น้อย โครงการบ้านมั่นคง รวมทั้งการจัดงานศิลป์ในซอยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ 4) การท่องเที่ยว อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และประเพณี อาทิ กิจกรรมอนุรักษ์ศาสนสถาน กิจกรรมประกวดอาหาร 3 ศาสนา กิจกรรมงดสูบบุหรี่ในศาสนสถาน กิจกรรมการปั่นจักรยานเที่ยวบวร On Tour ย่านกะดีจีน การพัฒนามัคคุเทศก์ท้องถิ่นต้อนรับนักท่องเที่ยว รวมทั้งการจัดกิจกรรมทอดน่องล่องเรือของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 5) การพัฒนาชุมชน โดยการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี และ 6) การป้องกันปัญหายาเสพติด โดยชุมชนได้มีการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดร่วมกับสถานีตำรวจนครบาลบุปผาราม ด้วยการส่งผู้ติดยาเสพติดไปรับการบำบัดรักษา และเสริมพลังให้เป็น อปพร. เพื่อการมีส่วนร่วมทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในชุมชน รวมทั้งช่วยเหลือทางด้านการเงินและอาชีพ ทำให้สามารถอยู่ในชุมชนได้อย่างปกติสุข และไม่มีปัญหายาเสพติด ซึ่งในปี 2555 เคยมีการจับกุม จำนวน 10 ราย แต่ปัจจุบันไม่มีคดียาเสพติดในชุมชน

                          ดังนั้น ชุมชนย่านกะดีจีน จึงเป็นชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งด้วยหลักหุ้นส่วนสามประสาน (บวร) เน้นการจัดการตนเองโดยไม่ทิ้งรากเหง้า วิถีชีวิต และวัฒนธรรมเดิมของชุมชนนำไปสู่สังคมดี ซึ่งสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง รวมทั้งเป็นชุมชนที่มีองค์ประกอบที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ และเป็นต้นแบบให้กับทุกชุมชนในประเทศไทย

                  2.2 แนวทางการขับเคลื่อนของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ : สร้างชุมชนเข้มแข็ง สู่สังคมดี ด้วยหลักการบวรชุมชนย่านกะดีจีน เป็นรูปแบบของการพัฒนาชุมชนที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืน ด้วยการใช้หลักการบวรในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อพัฒนาสังคม และดูแลประชาชนกลุ่มเป้าหมายในทุกช่วงวัยให้ได้รับสวัสดิการและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการนำรูปแบบชุมชนเข้มแข็งย่านกะดีจีนมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง สู่สังคมดี ด้วยหลักการบวรดังนี้

                          1) ศึกษาและวิเคราะห์ชุมชนในบริบทพื้นที่เพื่อค้นหาทุนชุมชน โดยมีการค้นหาจุดเด่นของชุมชนจากทุนชุมชนที่มีอยู่ ทั้งทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนกายภาพ และทุนธรรมชาติ เช่น ผู้นำในชุมชน ภูมิปัญญาของชุมชน ผลิตภัณฑ์ของชุมชน และอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ซึ่งทุนชุมชนเหล่านี้จะเป็นปัจจัยในการพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน เพื่อก่อให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน และดูแลกลุ่มเปราะบางในชุมชนได้อย่างชัดเจน ซึ่งทีมกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระดับจังหวัด (One Home) จะดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์ชุมชนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                          2) เชื่อมหลักการบวรและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามบริบทพื้นที่ ชุมชนต้องมีการใช้หลักการบวรมาเชื่อมโยงกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาชุมชน

                          3) พัฒนาศักยภาพและหนุนเสริมชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อพัฒนาและดูแลคนทุกช่วงวัยให้ครอบคลุมทุกมิติ โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะมีการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในการพัฒนาศักยภาพและหนุนเสริมชุมชน เพื่อพัฒนาและดูแลคนทุกช่วงวัยในการจัดกิจกรรมชุมชนร่วมกัน นำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของชุมชนอย่างยั่งยืน โดยเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ใน 5 มิติ ได้แก่ ด้านการศึกษา อาชีพ/รายได้ สุขภาพ ที่อยู่อาศัย และการเข้าถึงสวัสดิการแห่งรัฐ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 18 พฤษภาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A5707

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!