การสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และอนุรักษ์ผ้าไทยให้คงอยู่คู่แผ่นดิน และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 12 May 2021 12:02
- Hits: 948
การสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และอนุรักษ์ผ้าไทยให้คงอยู่คู่แผ่นดิน และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ การสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และอนุรักษ์ผ้าไทยให้คงอยู่คู่แผ่นดิน และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563 ที่เห็นชอบมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย และให้ มท. โดยกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการขับเคลื่อนมาตรการดังกล่าวให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดย มท. ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตามมาตรการส่งเสริมฯ
เรื่อง |
ผลการดำเนินงาน |
|
1) การส่งเสริมและสนับสนุนการสวมใส่ผ้าไทยและผ้าพื้นเมือง |
ทุกจังหวัดมีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการสวมใส่ผ้าไทยและผ้าพื้นเมืองตามความเหมาะสมของท้องถิ่น โดยกำหนดให้ข้าราชการ ประชาชนแต่งกายด้วยผ้าไทยและผ้าพื้นเมือง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วัน จำนวน 51 จังหวัด |
|
2) การสร้างการรับรู้มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย |
- จัดกิจกรรมสร้างการรับรู้เพื่อรณรงค์การแต่งกายด้วยผ้าไทยและผ้าพื้นเมืองผ่านสื่อต่างๆ ทั้งสื่อออนไลน์และออฟไลน์ โดยสื่อออฟไลน์ที่ใช้มากที่สุดคือ การจัดนิทรรศการ จำนวน 37 จังหวัด ส่วนสื่อออนไลน์ที่ใช้มากที่สุดได้แก่ Facebook จำนวน 72 จังหวัด - จัดกิจกรรม Road Show ผ้าไทย โดย พช. ได้จัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทผ้าจากผู้ผลิต และผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายและตามหน่วยงานสถานที่ราชการต่างๆ 8 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรุงเทพมหานคร กระทรวงพลังงาน กระทรวงแรงงาน กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) กระทรวงอุตสาหกรรม มท. (พช.) มียอดการจำหน่ายรวม 4,365,320 บาท มีผู้ผลิตและผู้ประกอบการ OTOP ที่เข้าร่วม จำนวน 252 ราย |
|
3) การจัดทำแผนงาน/โครงการรณรงค์การใช้และสวมใส่ผ้าไทยและผ้าพื้นเมือง |
- รวบรวมเนื้อหาสาระและข้อมูลเกี่ยวกับผ้าไทยและผ้าพื้นเมืองในพื้นที่ จำนวน 61 จังหวัด และอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 15 จังหวัด - จัดทำแผนปฏิบัติการรณรงค์การแต่งกายด้วยผ้าไทยและผ้าพื้นเมืองของจังหวัดจำนวน 57 จังหวัด และอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการ จำนวน 19 จังหวัด |
|
4) การสร้างความร่วมมือกับภาคเครือข่าย |
จังหวัดที่มีการสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายสูงสุด 3 จังหวัดแรก ได้แก่จังหวัดสงขลา จำนวน 200 หน่วยงาน อุดรธานี จำนวน 91 หน่วยงาน และบุรีรัมย์ จำนวน 89 หน่วยงาน |
|
5) การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการแต่งกายด้วยผ้าไทยและผ้าพื้นเมืองในจังหวัดตามห้วงเวลาที่เหมาะสม |
จังหวัดที่มีการจัดกิจกรรมสูงสุด 3 จังหวัดแรก ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต จำนวน 96 ครั้ง ชัยภูมิ จำนวน 81 ครั้ง และตาก จำนวน 64 ครั้ง และมีหน่วยงานภาคีที่เข้าร่วมมากที่สุดระหว่าง 1 – 20 หน่วยงาน จำนวน 48 จังหวัด ทั้งนี้ จังหวัดที่มีหน่วยงานภาคีที่เข้าร่วมกิจกรรมสูงสุด 3 จังหวัดแรก ได้แก่ จังหวัดสงขลา จำนวน 170 หน่วยงาน อุทัยธานี จำนวน 120 หน่วยงาน และพิษณุโลก จำนวน 76 หน่วยงาน |
|
6) การจัดให้มีการอนุรักษ์ต่อยอดภูมิปัญญาเกี่ยวกับการแปรรูปผ้าไทยผลิตเป็นสินค้าต่างๆ |
จัดกิจกรรมอนุรักษ์ต่อยอดภูมิปัญญาเกี่ยวกับการแปรรูปผ้าไทย จำนวน 61 จังหวัด รวม 3 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ผ้าไทยและผ้าพื้นเมือง มีกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 750 กลุ่ม/ราย 2) โครงการ “ประกวดผ้าสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” โดยมี 75 จังหวัดส่งผ้าที่ ชนะการประกวดเข้าจัดแสดงในงานศิลปาชีพประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมี ประจำปี พ.ศ. 2563 และร่วมออกบูทแสดงสินค้าภายในงานดังกล่าว และ 3) โครงการ CDD Young Designer Contest โดยดำเนินการในทุกจังหวัดและ ผู้ชนะเลิศจากทุกจังหวัดได้รับโล่ที่งาน OTOP City 2020 และ 4) การจัดประกวดการแต่งกายผ้าไทย จำนวน 39 จังหวัด |
|
7) การประกาศยกย่องหน่วยงาน/องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนต้นแบบ |
มีจังหวัดที่ดำเนินการ จำนวน 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ เชียงราย ตาก นครพนม นครราชสีมา พัทลุง พิจิตร ยโสธร ยะลา ศรีสะเกษ สกลนคร สุโขทัย สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ และอุบลราชธานี |
|
8) การขับเคลื่อนมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยสู่การรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของผ้าไทย |
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้มีพระดำริพระราชทานแก่วงการผ้าไทย ว่า “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” เมื่อคราวเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดงาน OTOP City 2020 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 โดยได้พระราชทานแบบลายผ้า ชื่อลาย “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” รวมทั้งพระราชทาน พระอนุญาตให้เป็นลายต้นแบบในการรังสรรค์ ถักทอเรื่องราวไปตามแต่ละภูมิภาค ให้กลุ่มทอผ้าทุกกลุ่ม ทุกเทคนิค สามารถนำไปใช้ทอผ้า ผลิตผ้า มีผลการดำเนินงาน ดังนี้ 1) นำลายผ้าพระราชทาน “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ไปต่อยอด จำนวน 1,042 กลุ่ม 10,168 คน มียอดจำหน่าย จำนวน 6,856,740 บาท 2) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ผ่านสื่อช่องทางต่างๆ เพื่อเชิญชวนแต่งกายด้วยผ้าไทยและผ้าพื้นเมือง และ 3) ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการทอผ้า โดยดำเนินโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการทอผ้าจังหวัดตราด และจัดตั้งกลุ่มอาชีพทอผ้า ซึ่ง พช. ได้สนับสนุนงบประมาณ จำนวน 796,100 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและค่าวัสดุในการฝึกอบรม |
|
9) ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ |
- รายได้จากการจำหน่าย (เดือนมิถุนายน 2563 – มกราคม 2564) จำนวน 8,511,653,145 บาท จังหวัดที่มียอดจำหน่ายสูงสุด 3 จังหวัดแรก ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา และอุดรธานี - ผู้ผลิตและผู้ประกอบการ OTOP ได้รับประโยชน์ จำนวน 8,016 กลุ่ม/ราย โดยจังหวัดที่มีจำนวนผู้ผลิตและผู้ประกอบการ OTOP ได้รับประโยชน์มากที่สุด 3 จังหวัดแรก ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ์ - สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตและผู้ประกอบการ OTOP ที่ได้รับประโยชน์จำนวนทั้งสิ้น 69,553 คน โดยจังหวัดที่มีจำนวนสมาชิกที่ได้รับผลประโยชน์สูงสุด 3 จังหวัดแรก ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ และร้อยเอ็ด |
2. ปัญหา อุปสรรค แนวทางการแก้ไขและข้อเสนอแนะ สรุปได้ ดังนี้
ปัญหา/อุปสรรค |
แนวทางการแก้ไข |
|
2.1 ด้านการผลิต |
||
1) ต้นทุนการผลิตสูง เนื่องจากต้องซื้อวัตถุดิบจากนอกพื้นที่ และไม่ได้สั่งซื้อวัตถุดิบอื่นๆ เช่น ด้าย เข็ม จากโรงงานโดยตรง 2) ผู้ประกอบการบางส่วนมีข้อจำกัดด้านการผลิตไม่สามารถผลิตสินค้าครั้งละจำนวนมากได้ เน้นผลิตตามยอดสั่งซื้อ และจะผลิตในช่วงว่างจากการทำการเกษตร 3) ความไม่ต่อเนื่องในการผลิตของบางจังหวัดเนื่องจากจังหวัดไม่มีผ้าเอกลักษณ์หรือผ้าพื้นเมือง |
1) ส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบการผลิตในพื้นที่เพื่อลดต้นทุน เช่น เลี้ยงไหม ปลูกฝ้าย ตลอดจนการรวมกลุ่มซื้อวัตถุดิบเพื่อต่อรองราคา 2) ผลิตผ้าพื้นถิ่น และประยุกต์ให้มีรูปแบบสวยงาม แปลกใหม่ น่าสนใจ มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง 3) ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มทอผ้าให้มีเพิ่มมากขึ้น |
|
2.2 ด้านการพัฒนาและแปรรูป |
||
1) กลุ่มทอผ้าขาดทักษะ เทคนิคการทอไม่มีผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบลวดลายที่เป็นอัตลักษณ์ และการให้เฉดสีที่ตรงกลุ่มลูกค้า ตลอดจนผู้ทอผ้าส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ 2) กลุ่มตัดเย็บผ้า บางพื้นที่ขาดความประณีต การออกแบบ และการตัดเย็บผ้า/แปรรูปผ้าที่สวยงามและทันสมัย |
1) ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการออกแบบ ทักษะการตัดเย็บและความรู้ในด้านต่างๆ ที่จำเป็น ให้กับผู้ประกอบการ OTOP เช่น จัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบลายผ้าและนักออกแบบรุ่นใหม่ออกแบบเสื้อผ้าที่สามารถใส่ได้จริงในทุกเทศกาล 2) ส่งเสริมและพัฒนากลุ่มอาชีพทอผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ ให้สามารถผลิตผ้ามัดย้อมได้เพียงพอต่อการแปรรูป 3) ส่งเสริมให้นักออกแบบออกแบบเสื้อผ้าให้ตรงตามความสนใจของแต่ละวัย 4) ส่งเสริมและพัฒนาต่อยอดผ้าไทย และสร้างผู้ทอผ้ารุ่นใหม่ |
|
2.3 ด้านการตลาด |
||
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้การจัดกิจกรรมต่างๆ ไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายและผู้ซื้อสินค้าน้อยลง |
1) การส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเพิ่มการรับรู้ 2) จัดหาช่องทางการตลาด ให้มีช่องทางการจำหน่ายหลายช่องทาง 3) ส่งเสริมการจำหน่ายออนไลน์ |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 11 พฤษภาคม 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A5400
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ