WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอบเขตพื้นที่เมืองเก่า และแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าอุทัยธานี เมืองเก่าตรัง และเมืองเก่าฉะเชิงเทรา

GOV10ขอบเขตพื้นที่เมืองเก่า และแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าอุทัยธานี เมืองเก่าตรัง และเมืองเก่าฉะเชิงเทรา

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขอบเขตพื้นที่เมืองเก่า และแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าอุทัยธานี เมืองเก่าตรัง และเมืองเก่าฉะเชิงเทรา ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          ทส. รายงานว่า

          1. ในปีงบประมาณ .. 2563 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทส. ในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า ได้ดำเนินการกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าเพื่อประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าอุทัยธานี เมืองเก่าตรัง และเมืองเก่าฉะเชิงเทรา (ซึ่งจัดเป็นเมืองเก่ากลุ่มที่ 2) โดยมีมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นที่ปรึกษาดำเนินการภายใต้โครงการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า : เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า โดยศึกษาบริบทของพื้นที่และกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าทั้งสามเมืองดังกล่าว ภายใต้การให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะด้านวิชาการของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพิจารณาแผนการดำเนินงานในพื้นที่เมืองเก่า รวมทั้งการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น จังหวัด หน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ประชาชน และชุมชนในเขตพื้นที่เมืองเก่า

          2. คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2564 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน มีมติเห็นชอบการประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่า : เมืองเก่าอุทัยธานี เมืองเก่าตรัง และเมืองเก่าฉะเชิงเทรา และแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาและจัดทำรายละเอียดเพื่อดำเนินการต่อไป โดยมอบให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการฯ นำมติดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า .. 2546 ต่อไป

          3. ขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าอุทัยธานี เมืองเก่าตรัง และเมืองเก่าฉะเชิงเทรา

                 3.1 ขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าอุทัยธานี เนื้อที่ประมาณ 1.69 ตารางกิโลเมตร (1,058.87 ไร่) และขอบเขตพื้นที่ต่อเนื่องเนื้อที่ประมาณ 7.21 ตารางกิโลเมตร (4,504.43 ไร่)

                 - ขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าไม่มีการแบ่งเขตพื้นที่ (Zoning) เนื่องจากพื้นที่ภายในเมืองเก่า มีองค์ประกอบที่สำคัญของเมืองส่วนใหญ่ตั้งกระจุกตัวหนาแน่นอยู่บริเวณใจกลางเมือง และตามแนวถนนศรีอุทัย

                 - องค์ประกอบเมืองที่สำคัญ อาทิ (1) แม่น้ำสะแกกรัง (2) เขาสะแกกรัง (3) วัดอุโปสถาราม (วัดโบสถ์) (4) วัดขวิด (ร้าง) (5) วัดสังกัสรัตนคีรี (6) วัดธรรมโฆษก (7) วัดมณีสถิตกปิฏฐาราม (วัดทุ่งแก้ว) (8) วัดพิชัยปุรณานาม (9) พื้นที่ย่านการค้าดั้งเดิมบริเวณถนนท่าช้าง (10) ย่านชุมชนชาวจีนตรอกโรงยา และ (11) ชุมชนชาวแพแม่น้ำสะแกกรัง

                 - กลุ่มอาคารไม้เก่ามีสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ส่วนใหญ่เป็นเรือนแถวไม้สูง 2 ชั้น หลังคา ทรงจั่วมุงกระเบื้องดินเผาหรือสังกะสี ด้านหน้าอาคารชั้นบนเป็นไม้ฝาตีตามแนวนอน มีหน้าต่างบานเปิดคู่ ชั้นล่างเป็นประตูบานเฟี้ยม

                 3.2 ขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าตรัง เนื้อที่ประมาณ 1.91 ตารางกิโลเมตร (1,192.95 ไร่) และขอบเขตพื้นที่ต่อเนื่องเนื้อที่ประมาณ 4.05 ตารางกิโลเมตร (2,528.92 ไร่

                 - ขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าไม่มีการแบ่งเขตพื้นที่ (Zoning) เนื่องจากพื้นที่ภายในเมืองเก่าตรังมีองค์ประกอบที่สำคัญของเมืองส่วนใหญ่ตั้งกระจุกตัวหนาแน่นอยู่บริเวณใจกลางเมือง ย่านศูนย์กลางพาณิชยกรรมเก่าแก่ของเมือง หรือเกาะเมืองเก่าทับเที่ยงเป็นหลัก

                 - องค์ประกอบเมืองที่สำคัญ อาทิ (1) หอนาฬิกาจังหวัดตรัง (2) สถานีรถไฟตรัง (3) วิหารคริสตจักรตรัง (4) จวนผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง (5) อาคารสโมสรข้าราชการ (6-9) พื้นที่ย่านศูนย์กลางการค้าดั้งเดิมบริเวณถนนพระราม 6 ถนนวิเศษกุล ถนนกันตัง และถนนราชดำเนิน ซึ่งมีอาคารเรือนแถว และบ้านร้านค้าแบบจีนและแบบผสมผสาน อาคารพาณิชย์ที่มีคุณค่า เช่น (10) บ้านไทรงาม (11) ร้านค้าสิริบรรณ และ (12) โรงแรมจริงจริง และมีองค์ประกอบเมืองที่อยู่นอกขอบเขตพื้นที่เมืองเก่า อาทิ วัดกะพังสุรินทร์ (พระอารามหลวง) วัดนิคมประทีป พระอุโบสถวัดกะพังสุรินทร์ และย่านเก่าชุมชนเก่าแก่ชานเมืองที่ทรงคุณค่า (เช่น ชุมชนท่าจีน ย่านรอบกะพังสุรินทร์ และชุมชนบ้านโพธิ์)

                 3.3 ขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าฉะเชิงเทรา เนื้อที่ประมาณ 3.96 ตารางกิโลเมตร (2,475.69 ไร่) และขอบเขตพื้นที่ต่อเนื่องเนื้อที่ประมาณ 2.73 ตารางกิโลเมตร (1,704.89 ไร่

                 - ขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าไม่มีการแบ่งเขตพื้นที่ (Zoning) เนื่องจากองค์ประกอบที่สำคัญของเมืองเก่าฉะเชิงเทราส่วนใหญ่ตั้งเกาะกลุ่มและเรียงตัวตามแนวถนนศุภกิจ และถนนมรุพงษ์ ซึ่งทอดตัวตามแนวริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงในแกนทิศเหนือ - ใต้

                 - ขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าฉะเชิงเทรา ครอบคลุมอาณาบริเวณ (1) ป้อมและกำแพงเมือง ตามแนวตะวันออก - ตะวันตกขนานกับแม่น้ำบางปะกง (2) วัดโสธรวรารามวรวิหาร (3) วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ (4) อาคารไปรษณีย์หลังเก่า (5) ศาลหลักเมืองฉะเชิงเทรา (6) ตำหนักกรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ (7) อนุสาวรีย์พระยาศรีสุนทรโวหาร (8) และอาคารไม้สัก 100 ปี (9) ย่านการค้าตลาดทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ จังหวัดฉะเชิงเทรา (10) ปากคลองท่าไข่ และ (11) ตลาดเกื้อกูล

                 - พื้นที่ต่อเนื่องกำหนดให้มีระยะห่างจากแนวเขตพื้นที่เมืองเก่าฉะเชิงเทราออกไปทุกด้านเป็นระยะทาง 200 เมตร

          4. แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า ประกอบด้วย แนวทางทั่วไปและแนวทางสำหรับพื้นที่หลัก สรุปได้ดังนี้

                 4.1 แนวทางทั่วไป ได้แก่ การมีส่วนร่วมและการประชาสัมพันธ์การสร้างจิตสำนึก การอนุรักษ์และพัฒนาอย่างยั่งยืน การส่งเสริมกิจกรรมและวิถีชีวิตท้องถิ่น การส่งเสริมคุณภาพชีวิต การป้องกันภัยคุกคามจากมนุษย์และธรรมชาติ การประหยัดพลังงานด้านการสัญจรและสภาพแวดล้อม และการดูแลและบำรุงรักษาอาคารและสาธารณูปการ

                 4.2 แนวทางสำหรับพื้นที่หลัก ได้แก่ ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้านอาคารและสภาพแวดล้อม ด้านระบบการจราจรและคมนาคมขนส่ง ด้านการพัฒนาภูมิทัศน์และด้านการบริหารและการจัดการ

          5. นอกจากมติในส่วนที่คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2564 เห็นชอบให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่เสนอในครั้งนี้ (ตามข้อ 2) คณะกรรมการฯ ยังได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าอุทัยธานี เมืองเก่าตรัง และเมืองเก่าฉะเชิงเทรา เพื่อให้ทำหน้าที่กำกับดูแลการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าให้เป็นไปตามแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า (ตามข้อ 4) ต่อไป

          6. (ร่าง) ขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าอุทัยธานี เมืองเก่าตรัง และเมืองเก่าฉะเชิงเทรา และกรอบ แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า ได้ผ่านการประชุมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาคราชการ (จัดประชุม 1 ครั้ง ในจังหวัดที่ตั้งเมืองเก่าทุกแห่ง) และภาคประชาชน (จัดประชุม 2 ครั้ง ในจังหวัดที่ตั้งเมืองเก่า ทุกแห่ง) แล้ว โดยที่ประชุมเห็นด้วยกับ (ร่าง) ขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าอุทัยธานี เมืองเก่าตรัง และเมืองเก่าฉะเชิงเทรา และกรอบแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า

___________________________

* การแบ่งกลุ่มเมืองเพื่อประกาศเป็นเมืองเก่า ได้กำหนดเป็น 3 กลุ่ม เพื่อประกาศเป็นเมืองเก่าตามนโยบายของรัฐบาล ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี มีขนาดใหญ่ในฐานะศูนย์กลางของอาณาจักรในยุคใดยุคหนึ่ง มีหลักฐานของงานศิลปกรรมที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของอาณาจักรนั้นๆ และในปัจจุบันมีการอยู่อาศัยของชุมชนใหม่ทับซ้อนชุมชนเดิม กลุ่มที่ 2 เป็นเมืองที่มีความสำคัญรองลงมาจากกลุ่มที่ 1 โดยมีขนาดเมืองที่เล็กกว่า ความสำคัญของเมืองตั้งแต่อดีตและหลักฐานทางศิลปกรรมน้อยกว่าเมืองใน กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 เป็นเมืองโบราณขนาดเล็กที่มีหลักฐานทางโบราณคดีและศิลปกรรมค่อนข้างน้อย และปัจจุบันอาจมีชุมชนหรือไม่มีการอยู่อาศัยจึงอยู่ในสภาพเมืองร้าง ถ้ามีการอยู่อาศัยจะเป็นเพียงชุมชนในระดับตำบลหรืออำเภอเท่านั้น จึงยังไม่อยู่ในข่ายจำเป็นเร่งด่วนในการประกาศเป็นเมืองเก่า

 

          ความเป็นมาและความสำคัญของเมืองเก่าอุทัยธานี เมืองเก่าตรัง และเมืองเก่าฉะเชิงเทรา มีรายละเอียดดังนี้

          1. ความเป็นมาและความสำคัญของเมืองเก่าอุทัยธานี

                 เมืองเก่าอุทัยธานีในปัจจุบันตั้งอยู่ พื้นที่ริมแม่น้ำสะแกกรังบริเวณบ้านท่าหรือบ้านสะแกกรังซึ่งมีมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยมีหลักฐานสำคัญ คือวิหารวัดพิชัยปุรณารามซึ่งเดิมเป็นวิหารของวัดกร่างที่ถูกทิ้งร้างลง มีรูปแบบศิลปสถาปัตยกรรมที่อยู่ในช่วงสมัยสุโขทัยตอนปลายและอยุธยาตอนต้น ส่วนการตั้งถิ่นฐานเป็นเมืองอุทัยธานีในปัจจุบันนั้น เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งพระยาเมืองอุทัยธานี (เสือ พยัฆวิเชียร) ขอพระราชทานย้ายที่ตั้งเมืองจากท้องที่เมืองอุไทยธานี (หรือเมืองอุไทยเก่าที่ปัจจุบันตั้งอยู่ใน เขตท้องที่อำเภอหนองฉาง) เนื่องจากเมืองอุไทยเก่าอยู่ท่ามกลางป่าดง ตลอดจนการศึกสงครามกับพม่าร้างลง จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้เมืองอุไทยธานีเป็นที่มั่นเพื่อรับศึกในฐานะเมืองหน้าด่านอีกต่อไป

                 เมืองอุทัยธานี บ้านท่าสะแกกรัง มีความสะดวกในการคมนาคมทางน้ำเพื่อเชื่อมต่อไปยังแม่น้ำเจ้าพระยา โดยในสมัยรัชกาลที่ 4 มีกลุ่มคนที่เข้ามาอยู่อาศัยใหม่ โดยเฉพาะพ่อค้าชาวจีนที่มาเป็นคนกลางในการค้าข้าวที่ใช้แม่น้ำสะแกกรังในการขนส่ง ต่อมาเมืองได้ขยายตัวแผ่ออกไปตามถนนสายสำคัญต่างๆ เกิดเป็นชุมชนและย่านการค้าต่างๆ ที่มีสถาปัตยกรรมในลักษณะของบ้านค้าขาย” (Shop house) ที่ได้รับอิทธิพลจากการย้ายถิ่นฐานของชาวจีนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่แถบชายฝั่งทะเลในจีนภาคใต้ ส่วนในลำน้ำมีที่อยู่อาศัยบนเรือนแพที่จอดอยู่ริมน้ำตามชายฝั่งตลอดลำน้ำสะแกกรัง เรือนแพหลังเก่าแก่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ตั้งอยู่บริเวณหน้า วัดอุโปสถาราม (วัดโบสถ์)

          2. ความเป็นมาและความสำคัญของเมืองเก่าตรัง

                 พื้นที่บริเวณลุ่มน้ำตรังมีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์และ มีความสัมพันธ์กับภูมิภาคอื่นของโลกมายาวนานในฐานะที่เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างโลกทางตะวันออก คือ จีน และโลกทางตะวันตก คือ อินเดีย ลังกา และอาหรับ ส่วนเมืองเก่าตรังในปัจจุบันตั้งอยู่ ชุมชนทับเที่ยงซึ่ง พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต ขอพระบรมราชานุญาตย้ายที่ตั้งเมืองตรังจากกันตัง ในปี .. 2458 ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ว่า ท้องที่ตำบลทับเที่ยงมีความเจริญมีพื้นที่ราบมากและยังเป็นชุมชนขนาดใหญ่ เหมาะกับการเป็นศูนย์กลางเมืองมากกว่าที่กันตังที่กำลังเกิด โรคอหิวาตกโรค รวมทั้งในขณะนั้นเป็นช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ไม่นาน การตั้งเมืองที่กันตังจึงไม่ปลอดภัยจากศัตรู

                 กลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ในตำบลทับเที่ยงในเวลาดังกล่าว กลุ่มที่โดดเด่นมากที่สุด คือ ประชากรชาวจีนพลัดถิ่น ที่เคลื่อนย้ายมาแสวงหาชีวิตใหม่ มีการรวมตัวเหนียวแน่นเป็นสมาคม เช่น สมาคมฮกเกี้ยน สมาคมฮากกา กลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลดังกล่าวเป็นกลุ่มที่บทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของเมืองเก่าตรัง (ทับเที่ยง) อย่างต่อเนื่อง โดยมีพระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ระนอง) เป็นผู้วางรากฐานโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ ส่วนรูปแบบการพัฒนาเมืองมีการก่อสร้างตึกแถวเพื่อรองรับการอยู่อาศัยและ เป็นพื้นที่ค้าขายในอาคารหลังเดียวกัน ในรูปแบบเดียวกับในอาณานิคมช่องแคบ (Straits Settlements)* 

* อาณานิคมช่องแคบ (Straits Settlements) คือ อาณานิคมของอังกฤษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยดินแดนที่เป็นรัฐปีนัง ดินดิง (ส่วนหนึ่งของรัฐเปรัก) รัฐมะละกา สิงคโปร์ และลาบวนในปัจจุบัน

          3. ความเป็นมาและความสำคัญของเมืองเก่าฉะเชิงเทรา

                 เมืองฉะเชิงเทราหรือเมืองแปดริ้วเป็นเมืองที่มีพัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานต่อเนื่องมา ไม่ยาวนานนัก มีหลักฐานปรากฏชัดเจนในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งเมืองฉะเชิงเทรา เป็นเมืองหน้าด่านและเมืองท่า มีการก่อสร้างป้อมและกำแพงเมืองฉะเชิงเทราเพื่อป้องกันข้าศึกที่รุกรานมาจากทางทิศตะวันออกผ่านแม่น้ำบางปะกง ต่อมากลายเป็นศูนย์กลางการค้าและการคมนาคมทางน้ำที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง และเป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพ จึงมีผู้คนเข้ามาอยู่อาศัยใหม่เพิ่มมากขึ้นในบริเวณริมแม่น้ำบางปะกง โดยเฉพาะชุมชนชาวจีนซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มกิจกรรมการค้าขายริมน้ำของพ่อค้าชาวจีน และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมระหว่างไทยและจีนที่ยังคงยึดถือปฏิบัติ สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 27 เมษายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A4866

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!