การปรับเงินเดือนค่าจ้างชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างแรกเข้าทำงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 20 April 2021 23:29
- Hits: 9451
การปรับเงินเดือนค่าจ้างชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างแรกเข้าทำงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอการปรับเงินเดือนค่าจ้างชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างแรกเข้าทำงาน (เงินเดือนค่าจ้างชดเชยฯ) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เฉพาะคุณวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี (ปวส. ปวช. และต่ำกว่า ปวช.) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ และใช้สูตรการคำนวณการปรับเงินเดือนค่าจ้างชดเชยฯ ดังนี้
เงินเดือนค่าจ้างใหม่ = อัตราค่าจ้างแรกเข้าขั้นต่ำใหม่ + 0.67 x (เงินเดือนค่าจ้างปัจจุบัน – อัตราค่าจ้างแรกเข้าขั้นต่ำเดิม) |
สาระสำคัญของเรื่อง
พน. ขอความเห็นชอบการปรับเงินเดือนค่าจ้างชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างแรกเข้าทำงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เฉพาะคุณวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี (ปวส. ปวช. และต่ำกว่า ปวช.) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ และใช้สูตรการคำนวณตามแนวทางปฏิบัติที่ภาครัฐใช้กับพนักงานราชการ ทั้งนี้ ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2560 และคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ในการประชุมครั้งที่ 1/2563 ด้วยแล้ว โดย พน. ได้จัดทำข้อมูลตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2560 ประกอบการพิจารณา เช่น
ประเด็น |
คำชี้แจง |
|
1. การเปรียบเทียบค่าตอบแทนของภาคแรงงานของอุตสาหกรรม (Industry Norm) |
กฟผ. มีอัตราค่าจ้างแรกเข้าทำงาน (คุณวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี) ที่ต่ำกว่า จึงจำเป็นต้องปรับอัตราดังกล่าวเพื่อสรรหาและธำรงบุคลากรที่มีความรู้ ประสบการณ์ และทักษะที่จำเป็นต่อการดำเนินภารกิจของ กฟผ. โดยมิได้มีการปรับอัตราให้สูงไปกว่ารัฐวิสาหกิจอื่นแต่อย่างใด |
|
2. สถานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ |
- ในปี 2562 มีรายได้รวม 576,405.62 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิ 45,176.39 ล้านบาท (เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2561 ร้อยละ 15.06) และนำส่งเงินรายได้แผ่นดินเป็นเงิน 22,201.91 ล้านบาท - มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรย้อนหลัง 5 ปี เฉลี่ยปีละ 27,925.72 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 5.24 ของรายได้รวม และมีคะแนนผลการดำเนินงานย้อนหลัง 5 ปี เฉลี่ย 4.6893 คะแนน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้น - ดีมาก |
|
3. ผลกระทบด้านงบประมาณ |
- ในปี 2563 มีผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับผลกระทบจากการปรับเงินเดือนค่าจ้างชดเชยฯ ประมาณ 1,267 คน จากทั้งหมด 18,849 คน แบ่งเป็น ปวส. 755 คน ปวช. 35 คน และต่ำกว่า ปวช. 477 คน และจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นประมาณ 16.28 ล้านบาทต่อปี (ใช้งบประมาณของรัฐวิสาหกิจเอง) - กฟผ. ได้จัดทำแผนวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ปี 2563 – 2573 ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ด้านพลังงานไฟฟ้าเพื่อความมั่นคงและการสร้างศักยภาพในการแข่งขัน และด้านแผนสร้างการเติบโตเพื่อรองรับอนาคตที่ยั่งยืน ซึ่งเพียงพอที่จะรองรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น โดยคำนึงความสามารถในการจ่ายและคำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชนซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อค่ากระแสไฟฟ้า |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 20 เมษายน 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A4557
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ