แผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2564
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 07 April 2021 21:31
- Hits: 9838
แผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2564
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) เสนอแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2564 เพื่อเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงาน โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการในลักษณะพื้นที่เป็นตัวตั้งควบคู่กับการดำเนินการตามมาตรการและแนวทางการดำเนินการเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง ให้ความสำคัญในการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและเคร่งครัด ควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกและความตระหนักด้านความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนและประชาชน ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564 เห็นชอบแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
ประเด็น |
การดำเนินการ |
|
1. ชื่อในการรณรงค์ |
“สงกรานต์สุขใจ ขับขี่ปลอดภัย ห่างไกลโควิด” |
|
2. เป้าหมาย การดำเนินการ |
เพื่อให้ประชาชนเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์อย่างมีความสุขและปลอดภัย |
|
3. ตัวชี้วัด ผลการดำเนินงาน |
เช่น จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุ จำนวนผู้เสียชีวิต และจำนวนผู้บาดเจ็บ ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับสถิติในช่วงเทศกาลสงกรานต์เฉลี่ย 3 ปี ย้อนหลัง (2) จำนวนผู้ถูกดำเนินคดีในพฤติกรรมเสี่ยงหลัก (ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ดื่มแล้วขับ ไม่สวมหมวกนิรภัย และไม่คาดเข็มขัดนิรภัย) เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับสถิติในช่วงเทศกาลสงกรานต์เฉลี่ยย้อนหลัง |
|
4. แนวทางการดำเนินการ |
- ช่วงรณรงค์และประชาสัมพันธ์ ระหว่างวันที่ 15 มีนาคม - 2 เมษายน 2564 - ช่วงดำเนินการ ได้แก่ (1) ช่วงก่อนควบคุมเข้มข้น ระหว่างวันที่ 3 - 9 เมษายน 2564 (2) ช่วงควบคุมเข้มข้น ระหว่างวันที่ 10 - 16 เมษายน 2564 (3) ช่วงหลังควบคุมเข้มข้น ระหว่างวันที่ 17 - 23 เมษายน 2564 |
|
5. มาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน จำนวน 5 ด้าน |
||
5.1 ด้านการบริหารจัดการ |
เช่น (1) จัดตั้งศูนย์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2564 ระดับส่วนกลาง จังหวัด กรุงเทพมหานคร อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่ออำนวยการ ควบคุม กำกับ ดูแล และติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการช่วงเทศกาลสงกรานต์ (2) จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อบูรณาการการดำเนินงานทุกภาคส่วนและกำหนดแนวทาง มาตรการ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2564 ควบคู่กับการเฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (3) จัดทำ “ประชาคมชุมชน/หมู่บ้าน” ให้กำหนดข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางถนนให้ประชาชนถือปฏิบัติเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง และพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ใช้รถใช้ถนน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเยาวชนในพื้นที่ (4) จัดตั้ง “ด่านชุมชน” เพื่อสกัด ป้องปราม และตักเตือนกลุ่มเสี่ยงและบุคคลที่มีพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน และ (5) รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางท่องเที่ยวอย่างระมัดระวัง และเคารพกฎจราจร รวมทั้งแนะนำการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 |
|
5.2 ด้านลดปัจจัยเสี่ยงด้านถนนและสภาพแวดล้อม |
- ด้านถนน เช่น (1) สำรวจและตรวจสอบลักษณะกายภาพของถนน จุดเสี่ยง จุดอันตราย จุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และจุดที่เกิดอุบัติเหตุใหญ่ รวมทั้งดำเนินการปรับปรุงและแก้ไขให้มีความปลอดภัย และ (2) ขอความร่วมมือผู้รับจ้างก่อสร้าง/ซ่อมแซมถนนให้เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนเทศกาลสงกรานต์ หรือกรณีที่ดำเนินการไม่แล้วเสร็จให้หยุดดำเนินการก่อสร้างและคืนพื้นผิวจราจร - ด้านสภาพแวดล้อม ตรวจสอบสิ่งอันตรายข้างทางและปรับปรุงแก้ไขให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ - จุดตัดทางรถไฟ กำหนดมาตรการแนวทางการแก้ไขปัญหาบริเวณจุดตัดทางรถไฟให้มีความปลอดภัยในการสัญจร |
|
5.3 ด้านลดปัจจัยเสี่ยงด้านยานพาหนะ |
เช่น (1) กำกับ ควบคุม ดูแลรถโดยสารสาธารณะ รถโดยสารไม่ประจำทาง พนักงานขับรถโดยสาร และพนักงานประจำรถให้ถือปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย อย่างเคร่งครัด (2) ขอความร่วมมือกลุ่มผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถบรรทุกหยุดประกอบกิจการหรือหลีกเลี่ยงการใช้รถบรรทุกในการประกอบกิจการในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (3) เข้มงวดกับรถตู้ส่วนบุคคลหรือรถเช่าของผู้ประกอบการธุรกิจให้มีมาตรฐานด้านความปลอดภัย และ (4) รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ขับขี่ตรวจสอบสภาพรถยนต์ก่อนออกเดินทาง การบรรทุกของหรือผู้โดยสารในกระบะท้ายในลักษณะที่อาจเกิดอันตราย และการเปิดไฟหน้ารถทุกชนิดในระหว่างสัญจร |
|
5.4 ด้านผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย |
- การบังคับใช้กฎหมาย เช่น (1) บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จริงจัง และต่อเนื่อง โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ในกรณีขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ดื่มแล้วขับ การเสพยาเสพติดหรือของมึนเมาอย่างอื่น ขับรถย้อนศร รถจักรยานยนต์ ไม่ปลอดภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และไม่สวมหมวกนิรภัย เนินการตามมาตรการ “ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์” อย่างเข้มข้นภายใต้มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแล้วทำให้มีผู้บาดเจ็บรุนแรงหรือเสียชีวิต ให้นำแนวทางเฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โค าดำเนินการด้วย - การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เช่น จัดทำแผนการประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่แนวทางความรู้ด้านความปลอดภัยทางถนนในชุมชน/หมู่บ้าน โดยให้ผู้นำชุมชนนำไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านหอประจายข่าว เสียงตามสายและวิทยุชุมชน |
|
5.5 ด้านการช่วยเหลือหลังเกิดอุบัติเหตุ |
เช่น (1) จัดเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล และหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ระบบการติดต่อสื่อสาร การสั่งการ การประสานงาน และการแบ่งมอบพื้นที่ความรับผิดชอบของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเครือข่ายและดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน และ (2) จัดเตรียมความพร้อมของหน่วยกู้ชีพและกู้ภัย |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 7 เมษายน 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A4232
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ