WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมตลอดทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่ง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน กรณีขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อลูกจ้างรับเหมาค่าแรง

GOV3 copy copyรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมตลอดทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่ง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน กรณีขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อลูกจ้างรับเหมาค่าแรง

          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนรวมตลอดทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่ง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน กรณีขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อลูกจ้างรับเหมาค่าแรงของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป

          เรื่องเดิม

          1. กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้แทนของลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานอยู่ในบริษัท ฮิตาชิ คอนซูมเมอร์ โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด ขอให้ตรวจสอบกรณีกล่าวอ้างว่า บริษัทฯ ได้จ้างลูกจ้างบางส่วนโดยวิธีการเหมาค่าแรงมาตั้งแต่ปี 2544 ปัจจุบันได้จ้างลูกจ้างรับเหมาค่าแรงโดยมอบหมายให้บริษัทรับเหมาค่าแรง 4 แห่ง เป็นผู้จัดหาคนเข้ามาทำงาน ทั้งนี้ ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงมีลักษณะการทำงานเช่นเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง โดยสามารถทำงานทดแทนกันได้ในทุกกรณีเมื่อได้รับมอบหมาย อีกทั้งอัตราส่วนของลูกจ้างรับเหมาค่าแรงกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรงนั้นใกล้เคียงกัน แต่สิทธิประโยชน์และสวัสดิการแตกต่างกันมาก ในกรณีนี้พนักงานตรวจแรงงานได้ทำการตรวจสภาพการจ้างและการทำงานของบริษัทฯ แล้วมีคำสั่งให้บริษัทฯ จัดสิทธิประโยชน์และสวัสดิการให้แก่ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับลูกจ้างที่บริษัทฯ จ้างเองโดยตรง แต่บริษัทฯ ได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งการที่บริษัทฯ ยังคงเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานดังกล่าว ทำให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงไม่ได้รับสิทธิอันพึงมีพึงได้ตามกฎหมาย

          2. กสม. ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่บริษัทฯ มิได้จัดให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงซึ่งทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยเท่าเทียมกันนั้นเป็นการปฏิบัติที่แตกต่างกันต่อบุคคล ซึ่งทำงานในลักษณะเดียวกันด้วยเหตุแห่งสถานะและรูปแบบการจ้างแรงงานที่แตกต่างกัน ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการจ้างแรงงาน ผู้ทำงานที่มีคุณค่าเท่ากันกลับไม่ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เท่าเทียมและเป็นธรรม จึงเป็นการเลือกปฏิบัติและลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของแรงงานอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อลูกจ้างรับเหมาค่าแรง แต่ในระหว่างการตรวจสอบลูกจ้างรับเหมาค่าแรงบางส่วนได้ยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานภาค 2 ในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน .. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งต่อมาได้มีการไกล่เกลี่ยและยอมความกันในชั้นศาลแล้ว กสม. จึงได้สั่งให้ยุติเรื่อง อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน .. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จะบัญญัติรับรองและคุ้มครองสิทธิของลูกจ้างรับเหมาค่าแรงให้ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและหนังสือสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามแล้วแต่ยังไม่สามารถคุ้มครองและเป็นหลักประกันสิทธิของลูกจ้างรับเหมาค่าแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีข้อสังเกตเกี่ยวกับบทกำหนดโทษกรณีที่ผู้ประกอบกิจการไม่สามารถปฏิบัติตาม ซึ่งกฎหมายได้บัญญัติให้ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท แต่หากพิจารณาถึงสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่ผู้ประกอบการซึ่งถือเป็นนายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงตามความเป็นจริงอาจมีมูลค่าสูงกว่าจำนวนเงินค่าปรับที่กฎหมายกำหนด เมื่อคำนวณจากฐานของจำนวนลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่แตกต่างกันในแต่ละสถานประกอบกิจการ โดยเฉพาะสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ที่มีการจ้างลูกจ้างโดยวิธีการเหมาค่าแรงเป็นจำนวนมาก ผู้ประกอบกิจการอาจยินยอมให้เปรียบเทียบและชำระค่าปรับในชั้นพนักงานเจ้าหน้าที่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กลไกทางกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองลูกจ้างรับเหมาค่าแรงให้ได้รับความเท่าเทียมและเป็นธรรมดังกล่าว ไม่สามารถบรรลุผลตามเจตนารมณ์ได้อย่างแท้จริง

          3. นอกจากนี้ ยีงมีปัญหาในการตีความและบังคับใช้กฎหมาย เนื่องจากไม่ระบุถึงลักษณะความผูกพันทางสัญญาระหว่างผู้ประกอบกิจการ ผู้รับเหมาค่าแรง และลูกจ้างรับเหมาค่าแรงให้ชัดเจนและไม่มีการกำหนดถึงขอบเขตหรือมูลเหตุแห่งความจำเป็นในการจ้างเหมาค่าแรง ทำให้ผู้ประกอบกิจการนำการจ้างเหมาค่าแรงมาบิดเบือนและนำไปใช้กับการจ้างแรงงานระยะยาวหรือมีลักษณะเป็นการประจำ เพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดที่ผู้ประกอบกิจการมีต่อลูกจ้างรับเหมาค่าแรงอันเป็นการลิดรอนสิทธิของลูกจ้างรับเหมาค่าแรงโดยตรง บทบัญญัติดังกล่าวอาจมีประสิทธิภาพในเชิงบริบทแต่ไม่มีประสิทธิผลในการใช้บังคับ ทำให้เกิดความสับสนและคลาดเคลื่อนไปจากเจตนารมณ์ที่แท้จริงของกฎหมาย อีกทั้งยังไม่มีการบัญญัติถึงเกณฑ์มาตรฐานกำหนดการใช้ดุลยพินิจของพนักงานตรวจแรงงานหรือศาลให้มีความชัดเจน แต่ปรากฎเพียงในคำชี้แจงพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) .. 2551 ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน รง. ซึ่งมิได้มีสถานะเป็นกฎหมาย จึงอาจทำให้เกิดการใช้ดุลยพินิจที่แตกต่างกันและไม่เป็นเอกภาพ ประกอบกับไม่มีการเผยแพร่หลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติในการจัดสิทธิประโยชน์และสวัสดิการแก่ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงสำหรับผู้ประกอบกิจการอย่างทั่วถึง ซึ่งหากจะอาศัยแต่เพียงกลไกการตรวจสอบโดยพนักงานตรวจแรงงานคงไม่อาจปกป้องคุ้มครองสิทธิของลูกจ้างรับเหมาค่าแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กสม. จึงได้มีข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมตลอดทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่ง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนกรณีขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อลูกจ้างรับเหมาค่าแรงต่อคณะรัฐมนตรี

          4. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ รง. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้ รง. สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          รง. รายงานว่า ได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ พม. มท. ยธ. อก. และ สคก. แล้ว เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งมีผลการพิจารณาในภาพรวมสรุปได้ ดังนี้

 

ข้อเสนอแนะของ กสม.

 

สรุปผลการพิจารณา

1. ทบทวนและปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานที่ยังมีช่องว่างระหว่างกฎหมายและทางปฏิบัติ โดยพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติมาตรา 11/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน .. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) .. 2551 ให้มีความชัดเจนทั้งในเรื่องลักษณะความสัมพันธ์ของการจ้างแรงงานในรูปแบบการจ้างเหมาค่าแรง ขอบเขต และมูลเหตุจำเป็นในการจ้างเหมาค่าแรง และหลักเกณฑ์ในทางปฏิบัติ

 

บทบัญญัติตามมาตรา 11/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน .. 2541 มีความชัดเจนและไม่มีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการตีความตัวบทกฎหมาย จึงยังไม่ควรปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติดังกล่าว แต่ควรนำมาตรา 11/1 เข้าสู่กระบวนการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางกฎหมายต่อไป และให้กำหนดแนวปฏิบัติหรือมาตรการให้นายจ้าง ลูกจ้าง มีความเข้าใจเกี่ยวกับบทบัญญัติตามมาตรา 11/1 มากขึ้น

2. ควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของบทกำหนดโทษตามมาตรา 144/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน .. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) .. 2551 ให้ได้สัดส่วนกับความเสียหายจากการที่ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงไม่ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการตามสิทธิที่พึงมีพึงได้ตามกฎหมาย โดยคำนึงถึงความสมดุลระหว่างการคุ้มครองสิทธิของลูกจ้างรับเหมาค่าแรงและผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบกิจการ

 

บทกำหนดโทษที่กำหนดไว้มีความเหมาะสมแล้ว เนื่องจากการกำหนดโทษดังกล่าวสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในการกำหนดโทษทางอาญาตามมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องแนวทางการกำหนดโทษตามมาตรา 77 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย .. 2560 ประกอบกับพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย .. 2562 ที่กำหนดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายทุกรอบระยะเวลาห้าปี ทั้งนี้ เมื่อครบรอบกำหนดระยะเวลาที่จะต้องนำพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน .. 2541 ทั้งฉบับเข้าสู่กระบวนการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน รง. จะนำข้อเสนอแนะในประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 2 (มาตรา 11/1 และมาตรา 144/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน .. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม) เข้าสู่กระบวนการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายด้วย เพื่อพิจารณาว่าสมควรมีการแก้ไขปรับปรุงหรือไม่อย่างไรต่อไป

3. เผยแพร่หลักเกณฑ์ที่เป็นรูปธรรมในการจัดสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติตามมาตรา 11/1 แก่ผู้ประกอบกิจการอย่างทั่วถึงเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในเชิงป้องกัน

 

มอบหมายให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน รง. ดำเนินการเผยแพร่แนวปฏิบัติ ตามมาตรา 11/1 ให้หน่วยปฏิบัติ นายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ที่เกี่ยวข้อง (องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาสังคม ฯลฯ) ได้ทราบอย่างทั่วถึงในการปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงให้นำไปเขียนไว้ในคู่มือพนักงานตรวจแรงงาน และหลักสูตรฝึกอบรมพนักงานตรวจแรงงาน เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 30 มีนาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A31112

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!