WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2563 (ครั้งที่ 152)

GOV3มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2563 (ครั้งที่ 152)

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบดังนี้

          1. รับทราบมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2563 (ครั้งที่ 152) ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ และให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

          2. ในการดำเนินโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ระยะที่ 1 ให้กระทรวงพลังงาน กกพ. และสำนักงาน กกพ. เร่งดำเนินการกำหนดรายละเอียดคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละกลุ่มเป้าหมาย หลักเกณฑ์การคัดเลือก ขั้นตอนการดำเนินการและกรอบระยะเวลาดำเนินงานที่ชัดเจน โดยคำนึงถึงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน และเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการในวงกว้างให้ประชาชนรับทราบ เพื่อให้เกิดการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว รวมทั้งให้ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบ โดยให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินโครงการ เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการกำหนดการดำเนินโครงการในระยะต่อไปให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          พน. รายงานว่า ในคราวการประชุม กพช. ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2563 ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติในเรื่องเชิงนโยบายที่สำคัญและได้รับรองมติการประชุมเรียบร้อยแล้ว จำนวน 2 เรื่อง โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

          1. แนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (โครงการโซลาร์ภาคประชาชนฯ)

                 1.1 โดยที่ กพช. และคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแผน PDP 2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 ซึ่งมีการปรับปรุงเป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของโครงการโซลาร์ภาคประชาชนฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานจึงได้มอบหมาย กกพ. พิจารณาปรับปรุงแนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าฯ โดยให้ขยายผลไปยังกลุ่มโรงเรียนและโรงพยาบาล (โครงการใหม่) และในกลุ่มบ้านอยู่อาศัยให้ปรับเพิ่มอัตรารับซื้อให้ผลตอบแทนดีขึ้นเพื่อจูงใจประชาชนให้เข้าร่วมโครงการ รวมถึงกำหนดเป้าหมายกำลังผลิตสะสม 100 เมกะวัตต์ [เฉพาะปี 2564 โดยได้รวมเป้าหมายสะสมในปี 2563 จำนวน 50 เมกะวัตต์ เข้ากับเป้าหมายปี 2564 จำนวน 50 เมกะวัตต์]

                 1.2 กบง. ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2563 (ครั้งที่ 22) เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 มีมติเห็นชอบแนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายแผน PDP 2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 ตามที่ กกพ. เสนอ และได้เสนอ กพช. พิจารณา ซึ่ง กพช. พิจารณาแล้วเห็นชอบ ดังนี้

 

ประเด็น

แนวทางฯ ตาม

แผน PDP 2018

แนวทางฯ ตามแผน PDP 2018 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1

(ตามมติ กพช. ครั้งที่ 3/2563)

ปี 2563

ปี 2564

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มบ้านอยู่อาศัย

(1) กลุ่มบ้านอยู่อาศัย1

 

(2) กลุ่มโรงเรียน สถานศึกษา โรงพยาบาลและสูบน้ำเพื่อการเกษตร2 (โครงการนำร่อง) โดยมีกำลังผลิตติดตั้งมากกว่า 10 กิโลวัตต์แต่น้อยกว่า 200 กิโลวัตต์

ปริมาณรับซื้อ

100 เมกะวัตต์

50 เมกะวัตต์

 

โรงเรียนและสถานศึกษา 20 เมกะวัตต์

โรงพยาบาล 20 เมกะวัตต์

สูบน้ำเพื่อการเกษตร 10 เมกะวัตต์

ราคารับซื้อ

ไฟฟ้าส่วนเกิน

1.68 บาท/หน่วย

2.20 บาท/หน่วย

 

1.00 บาท/หน่วย

ระยะเวลารับซื้อ

10 ปี

10 ปี

หมายเหตุ:   1. กลุ่มที่ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าหรือได้เริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบแล้ว ให้ใช้ราคารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินที่จำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบในอัตรา 2.20 บาท/หน่วย เช่นกัน โดยให้อัตราใหม่มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 

                  2. เสนอเพิ่มโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในระหว่างการประชุม กพช.

 

           ทั้งนี้ มอบหมายให้ กกพ. รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปในกรณีการลงทุนโดยภาครัฐในส่วนของกลุ่มโรงเรียนฯ มอบหมายให้ พน. โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานรับไปหารือกับกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม

          2. แนวทางการกำหนดมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าสำหรับประชาชน 

                  2.1 การกำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าโดย กกพ. ต้องอยู่ภายใต้นโยบายและแนวทางที่ กพช. ให้ความเห็นชอบ แต่โดยที่ไม่สามารถจัดการประชุม กพช. ได้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 พน. จึงเสนอให้มอบหมาย กบง. เป็นผู้พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์สำหรับมาตรการช่วยเหลือด้านพลังงานไฟฟ้าสำหรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19

                 2.2 กบง. ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2564 ได้ดำเนินการดังกล่าวแล้วและมีมติเห็นชอบมาตรการด้านไฟฟ้าเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก ครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวนรวม 23.70 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 97 ของผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศ รวม 3 มาตรการ เป็นระยะเวลา 2 เดือน (เดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2564) โดยใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 8,202 ล้านบาท ดังนี้

                          (1) มาตรการที่ 1 ค่าไฟฟ้าฟรี 90 หน่วยแรก สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์ ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน จำนวน 10.13 ล้านราย ทั้งนี้ ให้เป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 3,649.98 ล้านบาท

                          (2) มาตรการที่ 2 ลดค่าไฟฟ้าในส่วนของหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจาก ใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าประจำเดือนธันวาคม 2563 สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วย/เดือน ซึ่งติดตั้งมิเตอร์ 5 แอมป์ขึ้นไปหรือมิเตอร์แบบอัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาใช้งาน (Time of Use: TOU) จำนวน 11.83 ล้านราย ทั้งนี้ ให้เป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 3,752 ล้านบาท โดยมีแนวทางการคิดค่าไฟฟ้าตามกรณี ดังนี้

 

กรณี

 

มาตรการ

1. ใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าหรือเท่ากับหน่วยตามใบแจ้งหนี้เดือนฐาน (ธันวาคม 2563)

 

คิดค่าไฟฟ้าตามหน่วยการใช้ไฟฟ้าจริงประจำเดือนนั้นๆ

2. ใช้ไฟฟ้ามากกว่าหน่วยตามใบแจ้งหนี้เดือนฐาน

   

2.1 กรณีไม่เกิน 500 หน่วย

 

คิดค่าไฟฟ้าเท่ากับหน่วยการใช้ไฟฟ้าของเดือนฐาน

2.2 กรณีมากกว่า 500 หน่วย แต่ไม่เกิน 1,000 หน่วย

 

คิดค่าไฟฟ้าเท่ากับหน่วยการใช้ไฟฟ้าของเดือนฐาน

บวกกับส่วนที่เกินในอัตราร้อยละ 50

2.3 กรณีมากกว่า 1,000 หน่วย

 

คิดค่าไฟฟ้าเท่ากับหน่วยการใช้ไฟฟ้าของเดือนฐาน

บวกกับส่วนที่เกินในอัตราร้อยละ 70

 

                          (3) มาตรการที่ 3 ค่าไฟฟ้าฟรี 50 หน่วยแรก สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดเล็กที่มีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจรวมกับที่อยู่อาศัย ซึ่งมีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีสูงสุด ต่ำกว่า 30 กิโลวัตต์ ทั้งนี้ ให้เป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 800 ล้านบาท

                 2.3 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เสนอเรื่อง มาตรการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการธุรกิจในระยะเร่งด่วน (เดือนมกราคมถึงมีนาคม 2564) จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในระลอกใหม่ ซึ่งรวมถึงมาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน (ไฟฟ้า) สำหรับประชาชนทั่วไปตามมติ กบง. ดังกล่าว ต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (12 มกราคม 2564) เห็นชอบแล้ว

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 2 มีนาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A3108

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!