WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ 3/2564

GOV 6สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ 3/2564

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เสนอ ดังนี้

          สรุปสถานการณ์ ปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ

          1. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดและผู้ติดเชื้อ ที่ประชุมรับทราบรายงานสถานการณ์ ดังนี้

                 1) สถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลก วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 มีจำนวนผู้ติดเชื้อรวมทั้งสิ้น 111,954,201 ราย โดยประเทศที่พบผู้ติดเชื้อมาก 3 ลำดับแรกของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินเดีย และบราซิล ในส่วนของประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 114 จาก 217 ประเทศทั่วโลก

                 2) สถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2563 - 22 กุมภาพันธ์ 2564 มีผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 21,267 ราย (เป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ 5,922 ราย คัดกรองเชิงรุก 14,407 ราย มาจากต่างประเทศ 938 ราย) หายป่วยแล้ว 20,184 ราย กำลังรักษาตัวในโรงพยาบาล 736 ราย และอยู่ในโรงพยาบาลสนาม 324 ราย ทั้งนี้ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 พบผู้ป่วยรายใหม่ 89 ราย เป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ 59 ราย การคัดกรองเชิงรุก 14 ราย และผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเทศและอยู่ระหว่างกักตัวในสถานที่กักกันที่ทางราชการกำหนด 16 ราย

                 3) สรุปสถานการณ์โรคโควิด - 19 ระลอกใหม่ของประเทศไทยในภาพรวม พบว่าจังหวัดต่างๆ มีจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงมากและควบคุมการระบาดได้ โดยจังหวัดสมุทรสาครได้ดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคที่กำหนด สำหรับกรุงเทพฯ และปริมณฑลสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ในระดับหนึ่ง แต่ยังพบผู้ติดเชื้อจากตลาดสดในจังหวัดปทุมธานีทั้งในกลุ่มคนไทยและแรงงานต่างด้าว รวมทั้งต้องเน้นการควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ สถานการณ์ทั่วโลกยังพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงประเทศมาเลเซียและเมียนมา จึงต้องคงระดับการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดตามพื้นที่ชายแดนของประเทศ

          2. การดำเนินการให้เป็นไปตามข้ออนุมัติของนายกรัฐมนตรีตามการเสนอของคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ดังนี้

                 1) ที่ประชุมรับทราบการจัดการแข่งขัน JET SKI WORLD CUP SEASON 2020-2021 และ JET SKI PRO TOUR 2021 กำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 21 - 25 เมษายน 2564 โดยกำหนดให้มีความพร้อมในการแข่งขัน ได้แก่ (1) นักกีฬาและเจ้าหน้าที่จากต่างประเทศต้องมีใบรับรองแพทย์ปลอดโควิด (Covid-Free Certificate) (2) ต้องผ่านมาตรการกักกัน (Quarantine) ระยะเวลา 14 วัน (3) ต้องพยายามสร้าง Bubble ในแต่ละกิจกรรม (4) หากสถานการณ์การติดเชื้อโควิด - 19 ในพื้นที่อยู่ในระดับปัจจุบันอนุญาตให้มีผู้เข้าชมได้ตามเกณฑ์ที่ ศบค. กำหนด (5) ใช้ขั้นตอนการปฏิบัติในมาตรการป้องกันโควิด - 19 ซึ่งผ่านความเห็นชอบของ ศบค. แล้ว และ (6) ผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วจำนวนหนึ่ง ทั้งนี้ ให้ทุกขั้นตอนต้องมีมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด - 19 ยึดหลัก D-M-H-T-T

                 2) ที่ประชุมรับทราบแนวทางปฏิบัติกรณีสายการบินทำการบินขนส่งผู้โดยสารแวะต่อเที่ยวบิน (Transit Flight) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมีเงื่อนไขการดำเนินการ ได้แก่ (1) หลีกเลี่ยงประเทศต้นทางที่มีความเสี่ยงสูง (2) ผู้โดยสารจะต้องมีเอกสารใบรับรองแพทย์ (Fit to Fly health Certificate) ใบรับรองแพทย์ปลอดโควิด (Covid-Free Certificate) และกรมธรรม์ประกันภัย (Insurance) (3) สายการบินต้องตรวจคัดกรองและตรวจเอกสารจากประเทศต้นทาง (4) เมื่อมาลงที่สนามบินต้องกำหนดพื้นที่เฉพาะไม่ให้ออกนอกพื้นที่ที่กำหนด (Seal Route) เช่น ร้านค้า เป็นต้น (5) ไม่มีการตรวจคัดกรองที่สนามบิน เนื่องจากคัดกรองจากประเทศต้นทางมาแล้วและหลีกเลี่ยงปัญหาการบริหารจัดการที่สนามบิน (6) กำหนดเวลาการต่อเที่ยว (Transit Flight) ไม่เกิน 12 ชั่วโมง (7) เพิ่ม Security Check Point และ (8) การรอในพื้นที่ Transit ต้องจัดระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัยมีเจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดฆ่าเชื้อ

                 3) การอนุญาตให้ผู้ไม่มีสัญชาติไทยเดินทางเข้าประเทศโดยเครื่องบินส่วนบุคคลและทำการกักตัวบนเรือ สมาคมธุรกิจเรือยอร์ชไทยขอให้พิจารณาการเดินทางเข้าราชอาณาจักรของบุคคล จำนวน 4 คน (ซึ่งเป็นครอบครัวเดียวกัน แบ่งเป็นสัญชาติ จีน 2 คน อเมริกัน 1 คน และออสเตรเลีย 1 คน) ซึ่งมีความประสงค์จะเดินทางเข้าราชอาณาจักรโดยเครื่องบินส่วนบุคคลจากสนามบินซองซาน ไต้หวัน มาลงที่สนามบินนานาชาติภูเก็ต และขอเข้ารับการกักตัวในเรือ Superyacht ส่วนบุคคลชื่อ STARDUST เป็นระยะเวลา 14 วัน โดยโรงพยาบาลคู่สัญญาของบริษัทเรือจะเดินทางไปตรวจหาเชื้อโควิด – 19 ในเรือ ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจฯ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 ได้มีมติให้ความเห็นชอบในหลักการโดยมอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการ ได้แก่ (1) ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) เป็นหน่วยงานบูรณาการการดำเนินการในภาพรวม (2) กรมเจ้าท่าดำเนินการแก้ประกาศและคำสั่งในส่วนที่เกี่ยวข้อง และ (3) คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดภูเก็ตจัดทำคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure: SOP) เกี่ยวกับการดูแลเรื่องมาตรการด้านสาธารณสุข ทั้งนี้ ที่ประชุม ศบค. ได้มีมติ ดังนี้

                          3.1) เห็นชอบในหลักการโดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ และนำแนวทางปฏิบัติดังกล่าวไปปรับใช้อย่างเหมาะสมในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

                          3.2) เห็นชอบหลักการในการพิจารณาอนุญาตให้นักธุรกิจที่ไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งได้รับการฉีดวัคซีนแล้วสามารถเดินทางเข้ามาในประเทศไทย โดยให้ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (ศปก.ศบค.) พิจารณากำหนดรายละเอียดและแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมต่อไป

          3. การเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียและคณะ (รวม 6 คน) ที่ประชุมรับทราบการเดินทางเยือนไทยของนาง Retno Marsudi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย เพื่อหารือกับไทยเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในเมียนมา ในระหว่างวันที่ 23 – 25 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งจะเดินทางโดยเครื่องบินส่วนตัวถึงประเทศไทยวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 และเข้าพัก โรงแรมอนันตรา สยาม (สถานกักกันตัวของภาครัฐ Alternative State Quarantine: ASQ) ซึ่งในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 จะเข้าหารือกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) โรงแรมที่พัก และเดินทางกลับโดยเครื่องบินส่วนตัวในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียและคณะ ยังไม่มีคำขอยกเว้นการตรวจหาเชื้อโควิด – 19

          4. ที่ประชุมเห็นชอบให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร คราวที่ 10 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 - 31 มีนาคม 2564 

          5. ที่ประชุมเห็นชอบให้เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาการปรับระดับของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักรสำหรับการผ่อนคลายกิจการและกิจกรรม จำนวน 4 ประเภทพื้นที่ ดังนี้

                 1) พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จำนวน 1 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร โดยสรุปแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

                          (1) เปิดสถานที่ โดยเข้มงวดมาตรการป้องกันโรคในสถานที่ ได้แก่ ร้านอาหาร เปิดบริการได้ไม่เกิน 21.00 . (รับประทานอาหารในร้านได้ และงดดื่มสุราในร้าน) ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าเปิดบริการได้ไม่เกิน 21.00 . (จำกัดจำนวนคน และงดจัดกิจกรรม)

                          (2) ปิดสถานที่และเข้มงวดการควบคุมกำกับ ได้แก่ สถานบันเทิง ผับ บาร์ และสถานที่ออกกำลังกายกลางแจ้ง ยิม และฟิตเนส รวมทั้งปิดสถานศึกษาทุกระดับและสถาบันกวดวิชาโดยให้เรียน online เท่านั้น

                 2) พื้นที่ควบคุม จำนวน 8 จังหวัด (จากเดิม 20 จังหวัด เป็น 8 จังหวัด) ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสงคราม นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี ตาก และราชบุรี โดยสรุปแนวทางปฏิบัติ ให้เปิดสถานที่ โดยเข้มงวดมาตรการป้องกันโรคในสถานที่ ดังนี้

                          (1) ร้านอาหาร เปิดบริการได้ไม่เกิน 23.00 . (รับประทานอาหารและดื่มสุราในร้านได้)

                          (2) สถานบันเทิง ผับ บาร์ เปิดบริการได้ไม่เกิน 23.00 . (ดื่มสุราและแสดงดนตรีสดในร้านได้ แต่งดเต้นรำ

                          (3) ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า เปิดบริการตามปกติ (จำกัดจำนวนคน งดจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย

                          (4) สถานศึกษาทุกระดับ/สถาบันกวดวิชา ให้เรียนแบบปกติหรือแบบผสมผสาน

                          (5) สถานที่ออกกำลังกาย กลางแจ้ง ยิม ฟิตเนส ให้เปิดบริการปกติ (แข่งขันได้โดยจำกัดผู้ชม)

                 3) พื้นที่เฝ้าระวังสูง จำนวน 14 จังหวัด (จากเดิม 17 จังหวัด เป็น 14 จังหวัด) ได้แก่ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี ระนอง ชลบุรี ระยอง ชุมพร สงขลา ยะลา และนราธิวาส โดยสรุปแนวทางปฏิบัติ ให้เปิดสถานที่ โดยเข้มงวดมาตรการป้องกันโรคในสถานที่ ดังนี้

                          (1) ร้านอาหาร เปิดบริการได้ไม่เกิน 24.00 . (รับประทานอาหารและดื่มสุราในร้านได้)

                          (2) สถานบันเทิง ผับ บาร์ เปิดบริการได้ไม่เกิน 24.00 . (ดื่มสุราและแสดงดนตรีสดในร้านได้ แต่งดเต้นรำ

                          (3) ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า เปิดบริการตามปกติ (จำกัดจำนวนคน งดจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย

                          (4) สถานศึกษาทุกระดับ/สถาบันกวดวิชา ให้เรียนแบบปกติหรือแบบผสมผสาน

                          (5) สถานที่ออกกำลังกาย กลางแจ้ง ยิม ฟิตเนส ให้เปิดบริการปกติ (แข่งขันได้โดยจำกัดผู้ชม)

                 4) พื้นที่เฝ้าระวัง จำนวน 54 จังหวัด (จากเดิม 35 จังหวัด เป็น 54 จังหวัด) ได้แก่ กำแพงเพชร ชัยนาท นครราชสีมา นครสวรรค์ บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พังงา เพชรบูรณ์ สุโขทัย สุราษฎร์ธานี อุทัยธานี กระบี่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น เชียงราย เชียงใหม่ ตรัง นครพนม ชัยภูมิ นครศรีธรรมราช น่าน บึงกาฬ ปัตตานี พะเยา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก แพร่ ภูเก็ต มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ร้อยเอ็ด ลำปาง ลำพูน เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สตูล สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุตรดิตถ์ อุบลราชธานี อ่างทอง สระแก้ว จันทบุรี สิงห์บุรี ตราด ปราจีนบุรี และลพบุรี โดยสรุปแนวทางปฏิบัติ ให้เปิดสถานที่ โดยเข้มงวดมาตรการป้องกันโรคในสถานที่ ดังนี้

                          (1) ร้านอาหาร เปิดบริการได้ตามปกติ

                          (2) สถานบันเทิง ผับ บาร์ เปิดบริการได้ตามปกติ

                          (3) ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า เปิดบริการตามปกติ (จำกัดจำนวนคน งดจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย

                          (4) สถานศึกษาทุกระดับ/สถาบันกวดวิชา ให้เรียนแบบปกติหรือแบบผสมผสาน

                          (5) สถานที่ออกกำลังกาย กลางแจ้ง ยิม ฟิตเนส ให้เปิดบริการปกติ (แข่งขันได้โดยจำกัดผู้ชม)

          6. แผนการกระจายวัคซีนโควิด - 19 ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเสนอแผนการกระจายวัคซีนฯ ดังนี้

                 1) แผนกลยุทธ์การบริหารจัดการวัคซีนโควิด - 19 .. 2564 โดยมี (1) วิสัยทัศน์ ทุกคนในประเทศไทยเข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพ ปลอดภัย มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด - 19 (2) เป้าหมาย ลดการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต รักษาความมั่นคงระบบสุขภาพ ลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ และรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม (3) หลักการ ให้วัคซีนโควิด - 19 แก่ประชาชน โดยคำนึงถึงหลักจริยธรรม ความเท่าเทียม หลักฐานทางวิชาการ ปริมาณวัคซีนที่จัดหาได้ และความสามารถในการบริหารจัดการภายใต้บริบทของประเทศ และ (4) กลยุทธ์ ประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 1 การสื่อสารสาธารณะ สร้างความรู้ความเข้าใจประชาชน กลยุทธ์ที่ 2 การจัดบริการที่มีคุณภาพครอบคลุมประชาชนเป้าหมายอย่างรวดเร็ว กลยุทธ์ที่ 3 การประกันคุณภาพวัคซีน และติดตามอาการข้างเคียง (AEFI) กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาระบบข้อมูลและช่วยการบริหารจัดการ และกลยุทธ์ที่ 5 การจัดการองค์ความรู้เพื่อพัฒนาบริการให้วัคซีน

                 2) กลุ่มเป้าหมายการให้วัคซีนโควิด - 19 ในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 เมื่อมีวัคซีนปริมาณจำกัด

 

ระยะที่ 2 เมื่อมีวัคซีนมากขึ้น และเพียงพอ

- วัตถุประสงค์ (1) เพื่อลดการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตจากโรคโควิด - 19 และ (2) เพื่อรักษาระบบสุขภาพของประเทศ

- กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ (1) บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า ทั้งภาครัฐและเอกชน (2) บุคคลที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหอบหืดที่ควบคุมได้ไม่ดี เป็นต้น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งทุกชนิดที่อยู่ระหว่างเคมีบำบัด รังสีบำบัด และภูมิคุ้มกันบำบัด โรคเบาหวานและโรคอ้วนที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม (3) ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป และ (4) เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด - 19 ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย

 

- วัตถุประสงค์ (1) เพื่อรักษาเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ และ (2) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในระดับประชากรและฟื้นฟูให้ประเทศกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

- กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ (1) กลุ่มเป้าหมายในระยะที่ 1 (2) บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นๆ ที่นอกเหนือจากด่านหน้า (3) ผู้ประกอบอาชีพภาคการท่องเที่ยว อาทิ พนักงานโรงแรม สถานบันเทิง มัคคุเทศก์ นักกีฬา (4) ผู้เดินทางระหว่างประเทศ เช่น นักบิน/ลูกเรือ นักธุรกิจระหว่างประเทศ (5) ประชาชนทั่วไป (6) นักการทูต เจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศ นักธุรกิจต่างชาติ คนต่างชาติพำนักระยะยาว และ (7) แรงงานในภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ

 

                  3) แผนการจัดหาวัคซีนโควิด - 19 ของประเทศไทย .. 2564

วัคซีน

จำนวน

ระยะเวลา

Sinovac

2,000,000 โดส

กุมภาพันธ์เมษายน 2564

AstraZeneca

26,000,000 โดส

มิถุนายนสิงหาคม 2564

AstraZeneca

35,000,000 โดส

กันยายนธันวาคม 2564

 

                 4) แผนการกระจายวัคซีนโควิด - 19 ในระยะที่ 1 และระยะที่ 2

2760 table

 

                 5) ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ดังนี้

                          (1) เห็นชอบแผนกลยุทธ์การบริหารจัดการการให้วัคซีนโควิด - 19 ในประเทศไทย

                          (2) อนุมัติแผนการกระจายวัคซีนโควิด - 19 ของบริษัท Sinovac จำกัด จำนวน 2,000,000 โดส ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2564

                          (3) เห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุข (กรมควบคุมโรค) แก้ไขสัญญาจองซื้อวัคซีนโควิด - 19 กับบริษัท AstraZeneca จำกัด จากเดิม 26,000,000 โดส เป็น 61,000,000 โดส (เพิ่มอีก 35,000,000 โดส) และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอรับการจัดสรรวงเงินงบประมาณเพิ่มเติม จำนวน 6,387.46 ล้านบาท

                          (4) มอบหมายกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรายงานผลความคืบหน้าการบริหารจัดการวัคซีนโควิด - 19 ให้ ศบค. ทราบด้วย

                          (5) การบริหารจัดการวัคซีนโควิด - 19 ต้องยึดเป้าหมายให้ทุกคนในประเทศไทยเข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานของหลักจริยธรรม ความเท่าเทียม และหลักวิชาการ

                          (6) ควรพิจารณาเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนนำเข้าวัคซีนโควิด - 19 ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนในประเทศไทยได้

          ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี

          1. ให้กระทรวงสาธารณสุข และโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 สร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาด ซึ่งถึงแม้ขณะนี้จะสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดไว้ได้แล้ว แต่ยังขอให้ประชาชนให้ความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโควิด - 19 คือ D - M - H - T - T (D = Distancing, M = Mask Wearing, H = Hand Washing, T = Temperature Check, T = Thaichana/Morchana) และขอให้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลจำนวนผู้ติดเชื้อ และจำนวนผู้ติดเชื้อที่รักษาหายแล้ว ตลอดจนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนหน้ากากอนามัยให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้มีใช้อย่างเพียงพอต่อไป

          2. ให้ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (ศปก.ศบค.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจในการผ่อนคลายการจัดกิจกรรมและการแข่งขันกีฬาต่างๆ ซึ่งเป็นการแข่งขันกีฬาระดับชาติที่สืบเนื่องมาจากการที่ประเทศไทยสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับและไว้วางใจ รวมถึงให้พิจารณาผ่อนคลายกิจกรรมอื่นเพิ่มเติม เช่น สนามแข่งม้า เป็นต้น

          3. ให้ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (ศปก.ศบค.) และศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.) ติดตามประเมินผลภายหลังการปรับระดับของพื้นที่ตามสถานการณ์และผ่อนคลายกิจการ/กิจกรรมในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักรอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันมิให้เกิดการแพร่ระบาดขึ้นอีก ทั้งนี้ ให้พิจารณาผลกระทบด้านเศรษฐกิจด้วย

          4. ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.) และโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 ดำเนินการด้านการบริหารจัดการวัคซีน ดังนี้

                 4.1 การดำเนินการเกี่ยวกับแผนบริหารจัดการวัคซีน และการสร้างความรู้ความเข้าใจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแผนการบริหารและกระจายวัคซีน มอบหมายให้คณะอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ภายใต้อำนาจคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เป็นผู้พิจารณาแผนและขั้นตอนการดำเนินการในการบริหารจัดการวัคซีนและการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง และให้นำเสนอคณะกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 (ศบค.) เพื่อทราบ และพิจารณาให้ความเห็นชอบในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

                 4.2 ให้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการสั่งซื้อหรือนำวัคซีนเข้ามาในราชอาณาจักรของภาคเอกชน ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากวัคซีนทุกบริษัทได้ขึ้นทะเบียนภายใต้เงื่อนไขของสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยจึงยังไม่อนุญาตให้ภาคเอกชนนำเข้ามาในราชอาณาจักร และกรณีมีการขึ้นทะเบียนวัคซีนเป็นการทั่วไปที่ได้รับรองความปลอดภัยและมาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั่วโลกหรือในประเทศผู้ผลิตวัคซีนแล้วนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงจะพิจารณาการขึ้นทะเบียนเป็นการทั่วไป โดยขอให้ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติการขึ้นทะเบียนวัคซีนของประเทศเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ประชาชน และมอบหมายให้กรมควบคุมโรคเป็นหน่วยงานให้ข้อมูลในเรื่องวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19

          5. ให้กระทรวงสาธารณสุข และศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 กระทรวงมหาดไทย (ศปก.มท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดูแลความเรียบร้อยในพื้นที่ต่างๆ พร้อมทั้งดำเนินการสุ่มตรวจหาผู้ติดเชื้อและประเมินติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดเป็นระยะ

          6. ให้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดทำมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด - 19 ในสถานศึกษาทุกระดับอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ ให้รับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อการจัดทำมาตรการด้วย

          7. ให้ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (ศปก.ศบค.) และศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.) ตรวจติดตามและประเมินการดำเนินการของโรงแรมที่เป็นสถานที่กักกันตัว State Quarantine, Alternative State Quarantine, Organizational Quarantine, Local Quarantine เพื่อให้ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ หากปรากฏว่ามีผู้เข้าใช้บริการสถานกักกันตัวบิดเบือนหรือนำเสนอข้อมูลของสถานที่กักกันตัวอันเป็นเท็จหรือพบการทุจริต ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายอย่างจริงจัง

          8. ให้ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (ศปก.ศบค.) นำความคิดเห็นและปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่สะท้อนตามสื่อต่างๆ มาพิจารณาประกอบการกำหนดมาตรการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาด และมาตรการผ่อนคลายให้เป็นไปอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 23 กุมภาพันธ์ 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A2760

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!