ร่างความตกลงระหว่างสำนักงานกลางตำรวจแห่งชาติตำรวจสากลประเทศไทย (ตำรวจสากลกรุงเทพ) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ ว่าด้วยการเข้าถึงระบบข้อมูลข่าวสารขององค์การตำรวจสากลโดยตรง
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 23 February 2021 21:20
- Hits: 5796
ร่างความตกลงระหว่างสำนักงานกลางตำรวจแห่งชาติตำรวจสากลประเทศไทย (ตำรวจสากลกรุงเทพ) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ ว่าด้วยการเข้าถึงระบบข้อมูลข่าวสารขององค์การตำรวจสากลโดยตรง
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบร่างความตกลงระหว่างสำนักงานกลางตำรวจแห่งชาติตำรวจสากลประเทศไทย (ตำรวจสากลกรุงเทพ) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ ว่าด้วยการเข้าถึงระบบข้อมูลข่าวสารขององค์การตำรวจสากลโดยตรง (ร่างความตกลงฯ) ทั้งนี้ หากก่อนการลงนามมีความจำเป็นต้องปรับปรุง แก้ไข หรือเพิ่มเติมร่างความตกลงฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ ให้กระทรวงยุติธรรมหารือกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้นๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง โดยให้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นผู้ลงนามในความตกลงฯ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
ร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น |
สาระสำคัญ |
|||||||||||||||||||
1. วัตถุประสงค์ |
เพื่อให้กรมสอบสวนคดีพิเศษสามารถเข้าถึงระบบฐานข้อมูลองค์การตำรวจสากล จำนวน 9 ฐานข้อมูลได้โดยตรง |
|||||||||||||||||||
2. กรอบกฎหมายว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลโดยตรง |
การเข้าถึงและการใช้ระบบข้อมูลข่าวสารขององค์การตำรวจสากลจะต้องเป็นไปตามกฎว่าด้วยการประมวลผลข้อมูลขององค์การตำรวจสากล และเกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจกรรมและงานของกรมสอบสวนคดีพิเศษโดยตรง รวมถึงไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์หรือความเป็นกลางขององค์การตำรวจสากล นอกจากนี้กฎหมายภายในของไทยไม่ได้ห้ามกรมสอบสวนคดีพิเศษในการเข้าถึงและการใช้ระบบข้อมูลข่าวสารขององค์การตำรวจสากล |
|||||||||||||||||||
3. ขอบเขตของการเข้าถึงข้อมูลโดยตรง |
3.1 การอ่านข้อมูล
3.2 การประมวลผลข้อมูล: จะต้องดำเนินการเพื่อความมุ่งประสงค์ในภารกิจงานตำรวจและ การปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติเป็นการเฉพาะเท่านั้น |
|||||||||||||||||||
4. พันธะหน้าที่ |
|
|||||||||||||||||||
5. การกำกับและการตรวจสอบโดยตำรวจสากลกรุงเทพ |
ตรวจสอบการประมวลผลข้อมูลในระบบข้อมูลข่าวสารขององค์การตำรวจสากล ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษได้เข้าไปอ่าน และใช้มาตรการเพื่อป้องกันหรือเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่จำเป็นในกรณีที่เกิดเหตุเกี่ยวกับการประมวลผล รวมทั้งอาจเพิกถอนสิทธิในการเข้าถึงและสิทธิในการประมวลผลที่ให้แก่กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามพันธหน้าที่ |
|||||||||||||||||||
6. การเข้าแทรกแซงของสำนักเลขาธิการองค์การตำรวจสากล |
สำนักเลขาธิการองค์การตำรวจสากล (ในฐานะที่เป็นผู้บริหารจัดการระบบข้อมูลข่าวสารขององค์การตำรวจสากล) ย่อมมีสิทธิในการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมใดๆ ภายใต้ขอบเขตของกฎว่าด้วยการประมวลผลของข้อมูลขององค์การตำรวจสากลเพื่อยุติการประมวลผลข้อมูลใดๆ ที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนด รวมถึงการเพิกถอนการเข้าถึงระบบข้อมูลข่าวสารขององค์การตำรวจสากล |
|||||||||||||||||||
7. การบังคับใช้ |
ความตกลงฯ จะมีผลบังคับใช้เมื่อครบกำหนด 30 วัน หลังจากที่ได้แจ้งผลการลงนามในความตกลงให้สำนักเลขาธิการองค์การตำรวจสากลทราบ |
|||||||||||||||||||
8. การแก้ไข |
อาจแก้ไขเพิ่มเติมได้โดยความยินยอมร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ ตำรวจสากลกรุงเทพต้องแจ้งให้สำนักเลขาธิการองค์การตำรวจสากลทราบถึงการแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตหรือวิธีการดำเนินการเรื่องสิทธิในการเข้าถึงและสิทธิในการประมวลผลที่ได้ให้แก่กรมสอบสวนคดีพิเศษ |
|||||||||||||||||||
9. การสิ้นสุด |
ภาคีแต่ละฝ่ายอาจบอกเลิกความตกลงได้ฯ โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ภาคีอีกฝ่ายหนึ่งและสำนักเลขาธิการองค์การตำรวจสากลทราบเป็นเวลาสามสิบวันเป็นอย่างน้อย |
ทั้งนี้ ร่างความตกลงฉบับนี้เป็นความตกลงในลักษณะเดียวกันกับที่สำนักงานกลางแห่งชาติตำรวจสากลประเทศไทย (ตำรวจสากลกรุงเทพ) ได้จัดทำขึ้นกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (18 เมษายน 2560) เห็นชอบไว้แล้ว
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 23 กุมภาพันธ์ 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A2759
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ