WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย-บราซิล

GOV 4รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย-บราซิล

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยบราซิล (บันทึกความเข้าใจฯ) และให้ความเห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของฝ่ายไทย โดยมอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตยืนยันการมีผลใช้บังคับของบันทึกความเข้าใจดังกล่าวต่อไป โดยให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถปรับถ้อยคำตามความเหมาะสมที่ไม่กระทบกับสาระสำคัญ ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ

          บันทึกความเข้าใจฯ เป็นการปรับปรุงข้อบทภายใต้ความตกลงฯ เพื่อสนับสนุนให้สายการบินของทั้งสองฝ่ายมีความยืดหยุ่นในการวางแผนการให้บริการเป็นการส่งเสริมการเดินทางระหว่างทั้งสองประเทศ บันทึกความเข้าใจระหว่างไทยบราซิล มีสาระสำคัญ ดังนี้

 

 

รายการ

 

สาระสำคัญ

สายการบินที่กำหนด

 

แต่ละฝ่ายยอมรับการกำหนดสายการบินได้หนึ่งหรือหลายสายการบินในการทำการบินตามเส้นทางที่ระบุ ในภาคผนวกของร่างความตกลงฯ โดยต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ต่อไปนี้

1) สายการบินมีถิ่นที่ตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ในอาณาเขตของภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง

2) การควบคุมเชิงกำกับดูแลของสายการบินดำเนินการและคงไว้โดยภาคีคู่สัญญา ผู้กำหนดสายการบิน

3) ภาคีคู่สัญญาผู้กำหนดสายการบินต้องดำเนินการตามข้อบทเรื่องความปลอดภัย และการรักษาความปลอดภัยการบิน ซึ่งกำหนดไว้ภายใต้ความตกลงฯ

4) สายการบินที่กำหนดจะต้องมีคุณสมบัติซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ภายใต้กฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่ใช้อยู่เป็นปกติในการดำเนินบริการเดินอากาศระหว่างประเทศ โดยภาคีที่ได้รับแจ้งการกำหนดสายการบิน

ใบพิกัดเส้นทางบิน

 

ให้สามารถทำการบินตามเส้นทางบิน ดังต่อไปนี้

ไทย จุดต่างๆ ในไทยจุดระหว่างทางใดๆจุดต่างๆ ในบราซิลจุดพ้นใดๆ

บราซิล จุดต่างๆ ในบราซิลจุดระหว่างทางใดๆจุดต่างๆ ในไทยจุดพ้นใดๆ

โดยไม่มีข้อจำกัดในด้านทิศทางหรือลักษณะทางภูมิศาสตร์และไม่มีสิทธิกาโบตาจ

สิทธิรับขนการจราจร

 

แต่ละฝ่ายสามารถทำการบินด้วยสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 3 4 และ 5 ได้ ภายใต้ความจุความถี่ที่กำหนด

ความจุความถี่

 

ทำการบินได้ฝ่ายละ 14 เที่ยว/สัปดาห์ ด้วยแบบอากาศยานใดๆ

พิกัดอัตราค่าขนส่ง

 

สายการบินสามารถกำหนดพิกัดอัตราค่าขนส่งของตนเองได้ โดยไม่ต้องได้รับการอนุมัติพิกัดอัตราค่าขนส่งจากเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่การเดินอากาศของแต่ละฝ่ายอาจขอให้สายการบินที่กำหนดแจ้งราคาที่กำหนดในการทำการบินไปยัง/มาจากอาณาเขตของตน

การทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกัน (Code Sharing)

 

ให้สายการบินที่กำหนดของทั้งสองฝ่ายสามารถทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกันกับสายการบินใดๆ รวมถึงสายการบินของประเทศที่สามได้ โดยสายการบินที่กำหนดต้องได้รับการอนุญาตที่เหมาะสมและเป็นไปตามข้อกำหนดของการทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกัน นอกจากนี้ จะไม่นับหักสิทธิความจุความถี่ของการบินที่ไม่ได้เป็นผู้ดำเนินบริการ ทั้งนี้ สายการบินต้องได้รับการอนุญาตก่อนเริ่มดำเนินบริการ

การขนส่งต่อเนื่อง

หลายรูปแบบ

 

ให้สิทธิแก่สายการบินในการรวมการขนส่งรูปแบบอื่นๆ ต่อนื่องกับการขนส่งทางอากาศมายังหรือไปจากจุดใดๆ ในอาณาเขตของภาคีคู่สัญญาหรือประเทศที่สาม โดยมีเงื่อนไขว่า จุดต้นทางและจุดปลายทางของการทำการบินต้องอยู่ในอาณาเขตของภาคีคู่สัญญาซึ่งดำเนินการร่วมกับผู้ประกอบการขนส่งอื่นๆ ได้ โดยอยู่ภายใต้กฎหมายและข้อบังคับของภาคีคู่สัญญาแต่ละฝ่าย

 

           ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลการเจรจาการบินระหว่างไทยบราซิล ในครั้งนี้จะมีส่วนช่วยส่งเสริมให้ปฏิบัติการการบินของสายการบินที่กำหนดของทั้งสองฝ่ายมีความยืดหยุ่นในการวางแผนการตลาดให้เกิดความคุ้มทุนมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดการแข่งขันกันในเส้นทางบิน ส่งผลให้ค่าขนส่งเป็นไปตามกลไกตลาด อันเป็นการอำนวยความสะดวกและเพิ่มทางเลือกให้ผู้โดยสารมากขึ้น

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 9 กุมภาพันธ์ 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A2313

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!