WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

(ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (พ.ศ. 2563 - 2565)

GOV 5(ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (.. 2563 - 2565)

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (.. 2563 – 2565) [(ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ] และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อน (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          วธ. รายงานว่า

          1. วธ. (สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย) ได้ดำเนินการทบทวนนโยบายและยุทธศาสตร์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย .. 2560 - 2564 ตามการจำแนกระดับของแผนตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 และได้ปรับปรุงนโยบายและยุทธศาสตร์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เป็นแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (.. 2563 - 2565)” ซึ่งสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒนาฯ) ได้พิจารณาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2563 และมีมติให้ความเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ แล้ว โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เช่น (1) ควรปรับปรุงวิสัยทัศน์ให้มีความชัดเจนและครอบคลุมถึงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยทั้งระบบและการกำหนดเป้าหมายในการนำทุนทางวัฒนธรรมของไทยมาพัฒนาต่อยอดและปรับให้เหมาะสม (2) ควรกำหนดแผนการดำเนินการในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยที่มีการบูรณาการและเชื่อมโยงกับ หลายหน่วยงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (3) ควรส่งเสริมการผลิตและพัฒนาทักษะบุคลากรทางด้านงานสร้างสรรค์และวัฒนธรรมร่วมสมัยให้มีคุณภาพและเพียงพอกับความต้องการของผู้ประกอบการ (4) ควรส่งเสริมให้ภาคเอกชนเป็นผู้ขับเคลื่อน โดยภาครัฐควรเป็นเพียงผู้สนับสนุนหรือผู้อำนวยความสะดวกเพื่อให้เกิดการต่อยอดทุน ทางศิลปวัฒนธรรมและสามารถสร้างมูลค่าให้กับประเทศได้เพิ่มมากขึ้น (5) ควรให้ความสำคัญกับการต่อยอดศิลปวัฒนธรรมไทยร่วมสมัยให้เกิดเป็น Creative Culture และ (6) ควรมีการติดตามและประเมินผลแผนปฏิบัติ การฯ ในช่วงที่ผ่านมา และกำหนดตัวชี้วัดให้สามารถบ่งชี้ถึงผลลัพธ์จากการดำเนินงาน รวมทั้งขอบเขตการวัดผลที่ชัดเจน เป็นต้น

          2. วธ. (สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย) ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ตามข้อเสนอแนะของสภาพัฒนาฯ โดยคณะกรรมการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 ได้มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ แล้ว

          3. (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

 

ประเด็น

สาระสำคัญ

1. วิสัยทัศน์

ประเทศไทยเป็นศูนย์บูรณาการการเรียนรู้และความร่วมมือในการพัฒนาและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยทั้งระบบ เพื่อต่อยอดสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

2. พันธกิจ

2.1 พัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยและประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีดิจิทัล

2.2 ส่งเสริมพื้นที่ทางศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ

2.3 สนับสนุนการสร้างสรรค์งานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์

2.4 บูรณาการความร่วมมือทั้งในและต่างประเทศให้ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยไทยมีบทบาทในเวทีโลก

3. วัตถุประสงค์

3.1 เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่ตระหนักถึงคุณค่างานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

3.2 เพื่อให้ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยได้รับการส่งเสริมครอบคลุมทุกมิติ และให้กลุ่มเป้าหมายทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาต่อยอดจากทุนทางวัฒนธรรมในทุกระดับ ทั้งระดับชุมชนท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ ตลอดจนถึงระดับนานาชาติ

3.3 เพื่อยกระดับการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์จากพื้นฐานของศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยไทย

3.4 เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยไทยไปทั่วโลกเป็นการส่งเสริมทัศนะเชิงบวกต่อประเทศไทย รวมถึงเป็นการสร้างความเข้าใจและการยอมรับภาพลักษณ์ และความนิยมไทยในสากลด้วยอำนาจแบบนุ่มนวลของไทย

4. เป้าหมาย

ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาจิตใจ สร้างพลังทางสังคม และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยกำหนดเป้าหมายในระยะ 3 ปี (.. 2563 - 2565) ดังนี้

4.1 อัตราการขยายตัวของมูลค่าเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากการต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม

4.2 ระบบฐานข้อมูลเทคโนโยดิจิทัลด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ

4.3 ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยอย่างเป็นรูปธรรม

5. ตัวชี้วัดหลัก

5.1 การนำทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5

5.2 เปิดให้บริการหอศิลป์แห่งชาติที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค จำนวน 1 แห่ง

5.3 เปิดให้บริการ Big Data ระบบศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ด้านวัฒนธรรม จำนวน 1 ระบบ

5.4 จำนวนภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

6.1 มูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์จากการต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น

6.2 คนทุกช่วงวัยมีความรู้ความเข้าใจศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยสามารถต่อยอดพัฒนา ภูมิปัญญาผสานกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ และนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อการพัฒนาทักษะสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21

6.3 พื้นที่และแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยได้รับการส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการและพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม

6.4 การบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยใน การขับเคลื่อนและทำงานร่วมกัน เกิดผลลัพธ์ตอบสนองต่อเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม

 

          4. ยุทธศาสตร์ต่างๆ ของ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ตัวอย่างกิจกรรม/โครงการที่จะดำเนินการ และกรอบวงเงินงบประมาณจากงบดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ ดังนี้

 

ยุทธศาสตร์

 

วงเงินงบประมาณ (ล้านบาท)

ปี 2563

ปี 2564

ปี 2565

1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมการวิจัย องค์ความรู้ นวัตกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ ประกอบด้วย 37 โครงการ เช่น โครงการพัฒนาระบบข้อมูลเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม โครงการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล และโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เป็นต้น

หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ กรมศิลปากร เป็นต้น

 

619.69

2,071.91

658.04

2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมให้มีการพัฒนาพื้นที่ทางศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อการเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม ประกอบด้วย 34 โครงการ เช่น โครงการพัฒนาระบบนิเวศการท่องเที่ยว โครงการพัฒนากลุ่มท่องเที่ยวมรดกโลก และโครงการศูนย์สร้างสรรค์และพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมไทย เป็นต้น

หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กรมศิลปากร องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) เป็นต้น

 

510.16

2,151.16

754.64

3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยที่สร้างคุณค่าทางจิตใจ สังคม และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการบนฐานของทุนทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย 42 โครงการ เช่น โครงการส่งเสริมและพัฒนาช่องทางการตลาด โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและความเป็นไทย เป็นต้น

หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กระทรวงมหาดไทย (มท.) โดยกรมการพัฒนาชุมชน วธ. (กรมการศาสนา) เป็นต้น

 

2,043.52

2,390.07

2,184.96

4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริมความร่วมมือภาคีเครือข่าย

ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยทั้งในและต่างประเทศบนฐานมรดกทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย 17 โครงการ เช่น โครงการพัฒนาความร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรมและนำความเป็นไทยสู่สากล โครงการเผยแพร่แลกเปลี่ยนศิลปะร่วมสมัย โครงการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับมิตรประเทศและองค์การระหว่างประเทศ เป็นต้น

หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) วธ. สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เป็นต้น

 

5,346.11

5,453.25

5,382.54

รวมทั้งสิ้น

8,519.48

12,066.39

8,980.08

29,565.95

 

          5. การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ สรุปได้ ดังนี้

 

ประเด็น

สาระสำคัญ

1. กลไกขับเคลื่อน

การดำเนินงาน

มีหน่วยงานหลักที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน ได้แก่ (1) คณะกรรมการส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย (2) สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และ (3) คณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย .. 2551

2. แนวทางขับเคลื่อน

การดำเนินงาน

เพื่อให้เกิดความสอดคล้องและเชื่อมโยงระหว่างแผนปฏิบัติการฯ กับแผนบริหารราชการแผ่นดินของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

(1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนปฏิบัติการฯ แปลงแผนสู่การปฏิบัติ ประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการระยะ 5 ปี และรายปีของหน่วยงานนั้นๆ (2) ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ รับทราบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (3) ประเมินผลสำเร็จของการดำเนินงานในระดับโครงการ (4) ประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานภาพรวม และการบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด และ (5) ดำเนินการติดตามตรวจสอบ และประเมินผล ด้วยระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR)

3. แนวทางการติดตามและประเมินผล

เพื่อติดตามความก้าวหน้า รวมทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโครงการ โดยมี แนวทางการดำเนินงาน ดังนี้ (1) กลไกในระดับนโยบายมีแนวทางในการกำกับ ติดตาม การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน (2) พัฒนากลไกในการติดตามและประเมินผลแผนปฏิบัติการฯ เพื่อทำหน้าที่ในการติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่กำหนด การประเมินตัวชี้วัด ความสำเร็จของการแปลงแผนสู่การปฏิบัติ จัดทำรายงานประจำปี (3) ใช้กระบวนการติดตามและประเมินผลแบบมีส่วนร่วมจากผู้ปฏิบัติงาน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง (4) พัฒนาระบบฐานข้อมูลให้เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายทุกระดับ และ (5) รายงานผลการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ อย่างต่อเนื่อง

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 2 กุมภาพันธ์ 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A2089

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!