รายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ไตรมาสที่ 1)
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 02 February 2021 23:29
- Hits: 2262
รายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ไตรมาสที่ 1)
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอรายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ไตรมาสที่ 1) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563 (เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 หมวด 7 การประเมินผลและการรายงาน ที่บัญญัติให้มีการจัดวางระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จยบประมาณของหน่วยรับงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อการวัดผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณในกรณีที่การประเมินผลสัมฤทธิ์ของการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณใดไม่ได้ตามเป้าหมายหรือตัวชี้วัดที่กำหนด ให้ผู้อำนวยการ สงป. จัดทำข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้หน่วยรับงบประมาณปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด หากหน่วยรับงบประมาณไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ สงป. รายงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อสั่งการตามที่เห็นสมควร) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ไตรมาสที่ 1 วงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 3,285,962.48 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายแล้ว 942,707,43 ล้านบาท และก่อหนี้แล้ว 1,028,434.22 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 28.69 และ 31.30 ตามลำดับ สำหรับงบประมาณรายจ่ายกรณีไม่รวมงบกลาง มีผลการใช้จ่ายงบประมาณ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
งบประมาณ (ไม่รวมงบกลาง) |
ผลการ เบิกจ่าย/ก่อหนี้ |
เป้าหมาย การใช้จ่ายงบประมาณตามมติ คณะรัฐมนตรี |
สูง/ต่ำกว่า เป้าหมาย (ร้อยละ) |
แผนการใช้จ่าย งบประมาณ |
สูง/ต่ำกว่า แผน (ร้อยละ) |
(ภาพรวม 2,671,346.23 ล้านบาท) |
|||||
เบิกจ่าย |
814,685.28 (ร้อยละ 30.50) |
854,830.79 (ร้อยละ 32.00) |
-1.50 |
821,975.74 (ร้อยละ 30.77) |
-0.27 |
ก่อหนี้ |
900,412.06 (ร้อยละ 33.71) |
854,830.79 (ร้อยละ 32.00) |
1.71 |
821,975.74 (ร้อยละ 30.77) |
2.94 |
รายจ่ายประจำ (2,083,973.70 ล้านบาท) |
|||||
เบิกจ่าย |
741,579.94 (ร้อยละ 35.58) |
750,230.53 (ร้อยละ 36.00) |
-0.42 |
706,728.91 (ร้อยละ 33.91) |
1.67 |
ก่อหนี้ |
754,705.64 (ร้อยละ 36.21) |
750,230.53 (ร้อยละ 36.00) |
0.21 |
706,728.91 (ร้อยละ 33.91) |
2.30 |
รายจ่ายลงทุน (587,372.53 ล้านบาท) |
|||||
เบิกจ่าย |
73,105.35 (ร้อยละ 12.45) |
117,474.51 (ร้อยละ 20.00) |
-7.55 |
115,246.83 (ร้อยละ 19.62) |
-7.17 |
ก่อหนี้ |
145,706.42 (ร้อยละ 24.81) |
117,474.51 (ร้อยละ 20.00) |
4.81 |
115,246.83 (ร้อยละ 19.62) |
5.19 |
2. ผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ไตรมาสที่ 1 จำแนกตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ 6 ยุทธศาสตร์ และ 1 รายการ (ไม่รวมงบกลาง) สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
ยุทธศาสตร์/รายการ |
ผลการ เบิกจ่าย/ ก่อหนี้ |
เป้าหมาย การใช้จ่ายงบประมาณตามมติ คณะรัฐมนตรี |
สูง/ต่ำกว่า เป้าหมาย (ร้อยละ) |
แผนการใช้จ่าย งบประมาณ |
สูง/ต่ำกว่า แผน (ร้อยละ) |
(1) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง (399,469.71 ล้านบาท) |
|||||
เบิกจ่าย |
76,136.22 (ร้อยละ 19.60) |
127,830.31 (ร้อยละ 32.00) |
-12.40 |
110,469.49 (ร้อยละ 27.65) |
-8.05 |
ก่อหนี้ |
91,181.47 (ร้อยละ 22.83) |
127,830.31 (ร้อยละ 32.00) |
-9.17 |
110,469.49 (ร้อยละ 27.65) |
-4.83 |
(2) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน (394,588.45 ล้านบาท) |
|||||
เบิกจ่าย |
117,430.25 (ร้อยละ 29.76) |
126,268.30 (ร้อยละ 32.00) |
-2.24 |
134,847.64 (ร้อยละ 34.17) |
-4.41 |
ก่อหนี้ |
156,023.58 (ร้อยละ 39.54) |
126,268.30 (ร้อยละ 32.00) |
7.54 |
134,847.64 (ร้อยละ 34.17) |
5.37 |
(3) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (579,388.33 ล้านบาท) |
|||||
เบิกจ่าย |
152,734.59 (ร้อยละ 26.36) |
185,404.26 (ร้อยละ 32.00) |
-5.64 |
144,718.92 (ร้อยละ 24.98) |
1.38 |
ก่อหนี้ |
161,423.90 (ร้อยละ 27.86) |
185,404.26 (ร้อยละ 32.00) |
-4.14 |
144,718.92 (ร้อยละ 24.98) |
2.88 |
(4) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม (724,132.94 ล้านบาท) |
|||||
เบิกจ่าย |
242,270.42 (ร้อยละ 33.46) |
231,722.54 (ร้อยละ 32.00) |
1.46 |
197,067.47 (ร้อยละ 27.21) |
6.25 |
ก่อหนี้ |
244,825.78 (ร้อยละ 33.81) |
231,722.54 (ร้อยละ 32.00) |
1.81 |
197,067.47 (ร้อยละ 27.21) |
6.60 |
(5) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (116,031.68 ล้านบาท) |
|||||
เบิกจ่าย |
16,768.86 (ร้อยละ 14.45) |
37,130.14 (ร้อยละ 32.00) |
-17.55 |
26,357.72 (ร้อยละ 22.71) |
-8.26 |
ก่อหนี้ |
32,502.52 (ร้อยละ 28.01) |
37,130.14 (ร้อยละ 32.00) |
-3.99 |
26,357.72 (ร้อยละ 22.71) |
5.30 |
(6) ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ (164,280.81 ล้านบาท) |
|||||
เบิกจ่าย |
41,324.50 (ร้อยละ 25.15) |
52,569.86 (ร้อยละ 32.00) |
-6.85 |
47,146.28 (ร้อยละ 28.70) |
-3.55 |
ก่อหนี้ |
46,434.36 (ร้อยละ 28.27) |
52,569.86 (ร้อยละ 32.00) |
-3.73 |
47,146.28 (ร้อยละ 28.70) |
-0.43 |
(7) รายการค่าการดำเนินการภาครัฐ (293,454.32 ล้านบาท) |
|||||
เบิกจ่าย/ก่อหนี้ |
168,020.44 (ร้อยละ 57.26) |
93,905.38 (ร้อยละ 32.00) |
25.26 |
161,368.23 (ร้อยละ 54.99) |
2.27 |
3. ปัญหาและอุปสรรค
3.1 หน่วยรับงบประมาณดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2564 ล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ ส่งผลให้การเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามแผนเนื่องจากในปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พศ. 2563 หน่วยรับงบประมาณบางส่วนได้จัดซื้อจัดจ้างพัสดุด้วยระบบการจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (e-GP) และเตรียมการดำเนินการงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2564 ในลำดับถัดมา รวมทั้งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โควิด-19) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน
3.2 หน่วยรับงบประมาณบางส่วนดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างล่าช้า เนื่องจากมีการปรับปรุงและแก้ไขร่างขอบเขตของงาน (TOR) หลายครั้ง รวมถึงกรณีที่หน่วยรับงบประมาณจัดสรรเงินไปยังสำนักงานในภูมิภาคล่าช้าหลังจากการได้รับการจัดสรรเงินจาก สงป.
3.3 รายจ่ายหน่วยลงทุนส่วนใหญ่อยู่ระหว่างกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง การสำรวจออกแบบและจัดทำรูปแบบรายการ การจัดทำ TOR และการกำหนดราคากลาง บางรายการมีการประกาศประกวดราคาแล้วแต่ประสบปัญหา จึงต้องเข้าสู่กระบวนการใหม่ในส่วนจังหวัดและกลุ่มจังหวัดมีแนวโน้มล่าช้ากว่าแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่กำหนด เนื่องจากต้องอาศัยบุคลากรจากหน่วยงานในภูมิภาคซึ่งมีความรู้เฉพาะทางในการพิจารณาแบบรูปรายการหรือการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ
3.4 กรณีรายการผูกพันใหม่ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่มีวงเงินเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 32 รายการ มี 24 รายการที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเนื่องจากอยู่ในขั้นตอนการจัดทำร่าง TOR การกำหนดราคากลาง การแก้ไขปรับปรุงแบบรูปรายการให้เหมาะสมกับการใช้งาน และอยู่ระหว่างหารือกับกรมบัญชีกลางเพื่อขอยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ด้วย เหตุความจำเป็นทางด้านลักษณะงาน ด้านความมั่นคง จึงเป็นสาเหตุให้การดำเนินการล่าช้า
4. สงป. มีข้อเสนอแนะ เช่น
4.1 หน่วยรับงบประมาณควรเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายและหรือแผนที่กำหนดไว้ และควรให้ความสำคัญกับความพร้อมของโครงการก่อนขอรับการจัดสรรงบประมาณ รวมทั้งพิจารณากำหนดทิศทางหรือแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป (New Normal) เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปตามวัตถุประสงค์และก่อประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
4.2 หน่วยรับงบประมาณควรเร่งรัดการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเฉพาะรายจ่ายลงทุนรายการปีเดียว เห็นสมควรก่อหนี้ผูกพันให้เสร็จสิ้นทุกรายการภายในไตรมาสที่ 2 ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศจากการระบาดของโควิด-19 และ สงป. จะได้นำผลการเบิกจ่ายและการก่อหนี้ผูกพันมาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ด้วย
4.3 หัวหน้าส่วนราชการควรกำกับดูแลรายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณ รวมทั้งปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขโดยเคร่งครัด เนื่องจากในปัจจุบันยังพบว่ามีหน่วยรับงบประมาณดำเนินการไม่ครบถ้วน
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 2 กุมภาพันธ์ 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A2087
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ