การรับรองแถลงการณ์ร่วมจากการประชุมระดับอนุภูมิภาคว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและความมั่นคงข้ามชาติ (The Sub – Regional Meeting on Counter Terrorism and Transnational Security) ครั้งที่ 3
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 26 January 2021 20:56
- Hits: 6136
การรับรองแถลงการณ์ร่วมจากการประชุมระดับอนุภูมิภาคว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและความมั่นคงข้ามชาติ (The Sub – Regional Meeting on Counter Terrorism and Transnational Security) ครั้งที่ 3
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบต่อแถลงการณ์ร่วมจากการประชุมระดับอนุภูมิภาคว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและความมั่นคงข้ามชาติ (The Sub – Regional Meeting on Counter Terrorism and Transnational Security) ครั้งที่ 3 ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
สาระสำคัญของแถลงการณ์ร่วมฯ มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น |
สาระสำคัญ |
|
1) การแสวงหาผลประโยชน์จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกลุ่มที่มีแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง |
การหารือเกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้ายในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เนื่องจากกลุ่มหัวรุนแรงทั่วโลกยังคงเผยแพร่อุดมการณ์ที่สุดโต่งและแสวงหาผลประโยชน์จากความแตกแยก โดยผนวกประเด็นปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไว้ในเรื่องเล่าและการโฆษณาชวนเชื่อ โดยการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตเพื่อให้กลุ่มก่อการร้ายและผู้มีแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรงและสามารถเผยแพร่แนวคิดของตนทั่วภูมิภาคได้ |
|
2) การแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายอย่างยั่งยืน |
เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องทุ่มเทในการตอบสนองต่อปัญหาแบบ รวมอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การริเริ่มนโนบายสร้างสังคมที่มีความยึดโยงระหว่างกันและทุกคนมีส่วนร่วม ตลอดจนการให้ความสำคัญกับการตอบสนองที่เป็นไปตามหลักกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายที่มีความทันสมัยและเหมาะสม |
|
3) การหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามและแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการกลุ่มนักรบก่อการร้ายต่างชาติ |
- การเดินทางเข้า – ออก ภายในภูมิภาคโดยเฉพาะพื้นที่ขัดแย้งของนักรบก่อการร้ายต่างชาติและสมาชิกในครอบครัว ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่คุกคามความมั่นคงของภูมิภาค - ความท้าทายด้านสังคมและกฎหมายที่มีความซับซ้อน ซึ่งเชื่อมโยงกับการเคลื่อนไหวของนักรบก่อการร้ายต่างชาติและสมาชิกในครอบครัวรวมทั้งประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการระบุตัวตน การย้ายที่อยู่ใหม่ การส่งกลับประเทศต้นทาง - ถึงแม้ว่าแต่ละประเทศจะมีรูปแบบการดำเนินคดี การบำบัดฟื้นฟู และการกลับเข้าสู่สังคมตามบริบทแต่ละประเทศ แต่การกำหนดแนวทางร่วมกันในการดำเนินคดี การหลุดพ้นจากกลุ่มและแนวคิดก่อการร้าย การบำบัดฟื้นฟู และการกลับเข้าสู่สังคมของนักรบก่อการร้ายต่างชาติ เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่และแนวปฏิบัติที่ดีในการตอบสนองภัยคุกคามด้านการก่อการร้ายในภูมิภาค |
|
4) การมีส่วนร่วมของประชาชน |
- ย้ำถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ภาคเอกชน สตรี เยาวชน ชุมชน และผู้นำศาสนาในการป้องกันแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง และการสร้างสังคมให้เป็นสังคมที่มีความสามารถในการปรับตัวและฟื้นตัว - บทบาทของภาคประชาสังคมในการช่วยเสริมงานของภาครัฐในการบำบัดฟื้นฟูและนำผู้ที่เคยมีแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรงและครอบครัวกลับสู่สังคม |
|
5) ความร่วมมือในการจัดตั้งเวทีหารือระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านนโยบายการต่อต้านการก่อการร้าย |
จัดตั้งเวทีหารือด้านนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ภายใต้การสนับสนุนของการประชุมระดับอนุภูมิภาคว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและความมั่นคงข้ามชาติ เพื่อหาแนวทางและแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการประเด็นทางนโยบายที่เกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้าย รวมถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของนักรบก่อการร้ายต่างชาติ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายของรัฐและหน่วยงานอื่นที่มีความเชี่ยวชาญด้านการต่อต้านการก่อการร้ายเข้าร่วมด้วย ทั้งนี้ อินโดนีเซียกับออสเตรเลียจะเป็นเจ้าภาพร่วมกันในการจัดประชุมด้านนโยบายครั้งแรกผ่านทางระบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2564 |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 26 มกราคม 2563
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A1707
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ