การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID - 19)
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Friday, 15 January 2021 05:33
- Hits: 8452
การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID - 19)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID - 19) [มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 เรื่อง มาตรการการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนการลงทุนในประเทศ ปี 2563 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 เรื่อง มาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID - 19) ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 2 และเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีและเสนอมาตรการช่วยเหลือ SMEs เพิ่มเติม] พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กค. รายงานว่า
1. จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID - 19 ที่ยังมีความไม่แน่นอน กค. จึงเห็นควรนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาทบทวนมติคณะรัฐมนตรีตามที่เสนอ เพื่อดูแลและเยียวยาผลกระทบจาก COVID - 19 บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ตลอดจนป้องกันความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้
1.1 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 เรื่อง มาตรการการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนการลงทุนในประเทศ ปี 2563
มาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต |
||
การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเดิม |
กค. เสนอขอทบทวนในครั้งนี้ |
|
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) สนับสนุนสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการส่งออกและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง รวมถึงผู้นำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อพัฒนาประเทศโดยคิดอัตราดอกเบี้ย ในปีที่ 1 - 2 ร้อยละ 2 ต่อปี ในปีที่ 3 - 5 อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับเงินกู้สกุลบาท (Prime Rate) ลบร้อยละ 2 ต่อปี และในปีที่ 6 – 7 คิดอัตรา Prime Rate ต่อปี (อัตรา Prime Rate ของ ธสน. อยู่ที่ประมาณร้อยละ 6) วงเงินสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 5,000 ล้านบาท (วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อราย) โดยระยะเวลาการอนุมัติสินเชื่อตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหรือที่ ธสน. กำหนด ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2563 |
ขยายระยะเวลาการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อออกไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 |
|
หมายเหตุ : การดำเนินมาตรการฯ ถึง ณ วันที่ 3 ธันวาคม 2563 ธสน. อนุมัติสินเชื่อไปแล้วจำนวน 2,858 ล้านบาท จึงยังมีวงเงินคงเหลือภายใต้โครงการดังกล่าวอีกจำนวน 2,142 ล้านบาท |
1.2 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 เรื่อง มาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID - 19) ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 2
1. โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID - 19) |
||
การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเดิม |
กค. เสนอขอทบทวนในครั้งนี้ |
|
ธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อ จำนวน 20,000 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อ 20,000 ล้านบาท ให้แก่ประชาชนที่มีอาชีพอิสระ ไม่มีรายได้ประจำหรือเกษตรกรรายย่อยคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) ไม่เกินร้อยละ 0.10 ต่อเดือน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 2 ปี 6 เดือน (ระยะเวลาปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน) โดยรับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563 |
ขยายระยะเวลารับคำขอสินเชื่อออกไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 |
|
หมายเหตุ : การดำเนินโครงการฯ ถึงวันที่ 14 ธันวาคม 2563 ธนาคารออมสินอนุมัติสินเชื่อไปแล้วจำนวน 17,010 ล้านบาท จังยังมีวงเงินคงเหลือภายใต้โครงการดังกล่าวอีกจำนวน 2,990 ล้านบาท และ ธ.ก.ส. อนุมัติสินเชื่อไปแล้วจำนวน 8,625 ล้านบาท จึงยังมีวงเงินคงเหลือภายใต้โครงการดังกล่าวอีกจำนวน 11,375 ล้านบาท (รวม 2 ธนาคาร มีวงเงินคงเหลือทั้งสิ้น 14,365 ล้านบาท) |
||
2. โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีรายได้ประจำที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID - 19) |
||
การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเดิม |
กค. เสนอขอทบทวนในครั้งนี้ |
|
ธนาคารออมสินเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อ จำนวน 20,000 ล้านบาท (มีการปรับปรุงการดำเนินโครงการฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 คงเหลือ จำนวน 5,000 ล้านบาท)* ให้กับประชาชนที่มีรายได้ประจำแต่มีรายได้ลดลงหรือขาดรายได้เนื่องจากได้รับผลกระทบจาก COVID - 19 วงเงินไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) ไม่เกินร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ระยะเวลาสินเชื่อไม่เกิน 3 ปี โดยรับคำขอกู้ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563 |
จัดสรรวงเงินที่เหลือ (2,987 ล้านบาท) ให้ธนาคารออมสินดำเนินโครงการสินเชื่อเสริมพลังฐานราก (ตามข้อ 1.3) |
|
หมายเหตุ : การดำเนินโครงการฯ ถึงวันที่ 14 ธันวาคม 2563 ธนาคารออมสินอนุมัติสินเชื่อไปแล้ว จำนวน 2,013 ล้านบาท จึงยังมีวงเงินสินเชื่อคงเหลืออยู่อีกจำนวน 2,987 ล้านบาท และโดยที่กลุ่มเป้าหมายของโครงการสินเชื่อเสริมพลังฐานราก ตามข้อ (1.3) ครอบคลุมถึงประชาชนที่มีรายได้ประจำด้วย ดังนั้น จึงเห็นควรปรับปรุงการดำเนินโครงการโดยจัดสรรวงเงินที่เหลือจากการดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีรายได้ประจำที่ได้รับผลกระทบจาก COVID - 19 ให้ธนาคารออมสินดำเนินโครงการสินเชื่อเสริมพลังฐานราก * มติคณะรัฐมนตรี (18 สิงหาคม 2563) เห็นชอบให้ปรับปรุงการดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีรายได้ประจำที่ได้รับผลกระทบจาก COVID - 19 โดยจัดสรรวงเงิน จำนวน 10,000 ล้านบาท ให้โครงการสินเชื่อเสริมพลังฐานราก และจัดสรรวงเงิน จำนวน 5,000 ล้านบาท ให้โครงการ Soft Loan ออมสินฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย |
1.3 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีและเสนอมาตรการช่วยเหลือ SMEs เพิ่มเติม
โครงการสินเชื่อเสริมพลังฐานราก |
||
การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเดิม |
กค. เสนอขอทบทวนในครั้งนี้ |
|
ธนาคารออมสินดำเนินโครงการสินเชื่อเสริมพลังฐานราก (วงเงินจำนวน 1,000 ล้านบาท) เพื่อปล่อยสินเชื่อให้ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ผู้มีรายได้ประจำ รวมถึงบุคคล ในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID – 19 ภัยทางเศรษฐกิจ และภัยทางธรรมชาติ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี ระยะเวลาปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน (6 งวดแรก) เพื่อบรรเทาภาระให้ลูกค้า โดยรับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563 |
ขยายระยะเวลารับคำขอสินเชื่อออกไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 |
|
หมายเหตุ : การดำเนินโครงการฯ ถึงวันที่ 14 ธันวาคม 2563 ธนาคารออมสินอนุมัติสินเชื่อโครงการสินเชื่อ เสริมพลังฐานรากไปแล้วจำนวน 2,575 ล้านบาท มีวงเงินสินเชื่อคงเหลืออยู่อีกจำนวน 7,425 ล้านบาท(ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติในครั้งนี้ ธนาคารออมสินจะมีวงเงินในการปล่อยสินเชื่อในโครงการนี้ รวมทั้งสิ้น 10,412 ล้านบาท) |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 12 มกราคม 2563
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A1221
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ