WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2565 - 2568)

GOV 5แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2565 - 2568)

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2565 - 2568) ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐเสนอ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดเก็บหรือหารายได้ การจัดทำงบประมาณและการก่อหนี้ของหน่วยงานของรัฐ ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ .. 2561 ต่อไป

          สาระสำคัญของแผนการคลังระยะปานกลางฯ

          แผนการคลังระยะปานกลางฯ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 สถานะและประมาณการเศรษฐกิจ ส่วนที่ 2 สถานะและประมาณการการคลัง และส่วนที่ 3 เป้าหมายและนโยบายการคลัง โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

          1. สถานะและประมาณการเศรษฐกิจ

          ในปี 2565 คาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) จะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 3.0 – 4.0 (ค่ากลางร้อยละ 3.5) และ GDP Deflator อยู่ในช่วงร้อยละ 0.7 – 1.7 (ค่ากลางร้อยละ 1.2) สำหรับในปี 2566 คาดว่า GDP จะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.7 – 3.7 (ค่ากลางร้อยละ 3.2) และจะเร่งขึ้นอยู่ในช่วงร้อยละ 2.9 – 3.9 (ค่ากลางร้อยละ 3.4) ในปี 2567 และร้อยละ 3.2 – 4.2 (ค่ากลางร้อยละ 3.7) ในปี 2568 และ GDP Deflator อยู่ในช่วงร้อยละ 0.7 – 1.7 ในปี 2566 และเร่งขึ้นเป็นเฉลี่ยในช่วงร้อยละ 0.8 - 1.8 ในปี 2567 และร้อยละ 0.9 – 1.9 ในปี 2568

          2. สถานะและประมาณการการคลัง

                 2.1 ประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิปีงบประมาณ 2565 - 2568 เท่ากับ 2,400,000 2,490,000 2,619,500 และ 2,750,500 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้ การจัดทำประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิดังกล่าวมีสมมติฐานด้านนโยบายทางภาษีที่สำคัญ ได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (e-service) รายได้จากค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งผลจากการปรับเปลี่ยนระบบสัญญาสัมปทานปิโตรเลียมเป็นระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract: PSC)

                 2.2 ประมาณการงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2565 - 2568 เท่ากับ3,100,000 3,200,000 3,310,000 และ 3,420,000 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งมีสมมติฐานที่สำคัญ เช่น สัดส่วนงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นร้อยละ 2.0 – 3.5 ของวงเงินงบประมาณ รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้มีสัดส่วนร้อยละ 2.5 - 4 ของวงเงินงบประมาณ ค่าใช้จ่ายบุคลากรมีอัตราเพิ่มโดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 3.5 โดยใช้มาตรการให้หน่วยรับงบประมาณที่มีเงินรายได้นำมาสมทบ เป็นต้น

                 2.3 จากประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิและงบประมาณรายจ่ายดังกล่าวในปีงบประมาณ 2565 - 2568 รัฐบาลจะขาดดุลงบประมาณจำนวน 700,000 710,000 690,500และ 669,500 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.0 3.9 3.6 และ 3.4 ต่อ GDP ตามลำดับ

                 2.4 ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง สิ้นปีงบประมาณ 2563 มีจำนวน 7,848,156 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 49.3 ต่อ GDP และประมาณการสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP สำหรับปีงบประมาณ 2565 - 2568 เท่ากับร้อยละ 57.6 58.6 59.0 และ 58.7 ตามลำดับ

          3. เป้าหมายและนโยบายการคลัง

          การดำเนินนโยบายการคลังในระยะปานกลาง รัฐบาลยังมีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัว ผ่านการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมภายหลังจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ส่งผลกระทบให้ภาคเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้การจัดเก็บรายได้ลดลงตามสภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสถานะการคลังของประเทศ ขณะเดียวกัน ภาครัฐยังได้ดำเนินนโยบายและมาตรการทางการคลังโดยเฉพาะการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อเยียวยา พื้นฟู และกระตุ้นศรษฐกิจจากที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด - 19 ที่ก่อให้เกิดการขาดดุลเงินสดมากกว่าที่ได้ประมาณการไว้ และเงินคงคลังลดลง จึงต้องระมัดระวังการบริหารจัดการสภาพคล่องของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ การออกพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 .. 2563 ภายใต้วงเงิน 1 ล้านล้านบาท ได้ทำให้ระดับหนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น เป้าหมายการคลังในระยะสั้นถึงระยะปานกลางจำเป็นต้องมีการเพิ่มศักยภาพทางการคลัง ทั้งด้านรายได้ รายจ่าย และหนี้สาธารณะอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อให้ภาคการคลังสามารถรองรับสถานการณ์ที่ผ่านมาและพร้อมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทั้งนี้ เป้าหมายการคลังในระยะยาวยังควรกำหนดให้รัฐบาลปรับลดขนาดการขาดดุลและมุ่งสู่การจัดทำงบประมาณสมดุลในที่สุด โดยมีประมาณการสถานะการคลังระยะปานกลาง ดังนี้

 

ปีงบประมาณ

2564

2565

2566

2567

2568

รายได้รัฐบาลสุทธิ

2,677,000

2,400,000

2,490,000

2,619,500

2,750,500

     อัตราการเพิ่ม (ร้อยละ)

(2.0)

(10.3)

3.8

5.2

5.0

งบประมาณรายจ่าย

3,285,962.5

3,100,000

3,200,000

3,310,000

3,420,000

     อัตราการเพิ่ม (ร้อยละ)

2.7

5.7

3.2

3.4

3.3

ดุลการคลัง

(608,962.5)

(700,000)

(710,000)

(690,500)

(669,500)

     ดุลการคลังต่อ (GDP) ร้อยละ

(3.7)

(4.0)

(3.9)

(3.6)

(3.4)

หนี้สาธารณะคงค้าง

9,081,326

9,772,428

10,409,697

10,971,967

11,458,221

     หนี้สาธารณะคงค้างต่อ (GDP) (ร้อยละ)

56.0

57.6

58.6

59.0

58.7

     ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)

16,550,200

17,328,000

18,090,500

18,940,700

19,906,700

 

ที่มา : กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

           เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการคลังทั้งในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาวดังกล่าวข้างต้น รัฐบาลจะต้องมุ่งบริหารจัดการเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการคลัง ทั้งในด้านรายได้ รายจ่าย และหนี้สาธารณะผ่านแนวทางการเพิ่มศักยภาพทางการคลัง 3Rs ประกอบด้วย (1) Reform หรือการปฏิรูปการจัดเก็บรายได้ (2) Reshape หรือการปรับเพื่อควบคุมการจัดสรรงบประมาณ และ (3) Resilience หรือการบริหารหนี้สาธารณะอย่างมีภูมิคุ้มกันและสามารถรองรับต่อเหตุการณ์ไม่คาดคิดต่างๆ ได้ ดังนี้

                 3.1 Reform หรือการปฏิรูปการจัดเก็บรายได้ โดยในระยะสั้น และระยะปานกลาง รัฐบาลควรมุ่งเน้นการทบทวนโครงสร้างภาษีในปัจจุบันเพื่อสร้างความมั่นคงด้านรายได้ และนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาพัฒนาระบบการจัดเก็บให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับในระยะยาวจะต้องวางแผนปฏิรูประบบภาษีอากร และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีอากร เพื่อให้รายได้จากภาษีอากรเป็นแหล่งรายได้ที่มั่นคงในการพัฒนาประเทศต่อไป

                 3.2 Reshape หรือการปรับเพื่อควบคุมการจัดสรรงบประมาณ โดยดำเนินการควบคุมการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนสำคัญต่างๆ เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายสำคัญของรัฐบาล เป็นต้น รวมทั้งให้ความสำคัญกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มศักยภาพการถ่ายโอนภารกิจ ลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาประสิทธิภาพ การจัดเก็บรายได้ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำงบประมาณให้ครอบคลุมทุกแหล่งเงิน รวมทั้งชะลอ ปรับลดยกเลิกโครงการที่ไม่มีความจำเป็น และดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ภาครัฐควรกำหนดกลยุทธ์ในการจัดโครงสร้างแหล่งเงินทุนสำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐาน

                  3.3 Resilience หรือ การบริหารหนี้สาธารณะอย่างมีภูมิคุ้มกันและสามารถรองรับต่อเหตุการณ์ไม่คาดคิดต่างๆ ได้ โดยยึดหลักความระมัดระวังสูงสุด (Conservative) ในการบริหารหนี้สาธารณะผ่านการกู้เงินที่เน้นความเสี่ยงต่ำภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสมเพื่อให้ Portfolio หนี้รัฐบาลมีภูมิคุ้มกันรองรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดต่างๆ ในอนาคตได้ รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศเพื่อให้เป็นแหล่งระดมทุนสำคัญให้กับทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน ดำเนินกลยุทธ์การกู้เงินที่เน้นความเสี่ยงต่ำ รวมถึงการกระจายความเสี่ยงของเครื่องมือในการกู้เงินและตอบสนองนักลงทุนหลากหลายกลุ่ม เป็นต้น

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 22 ธันวาคม 2563

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A12738

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!