แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 - 2565)
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 16 December 2020 04:26
- Hits: 8258
แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 - 2565)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เสนอดังนี้
1. เห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 - 2565)
2. เห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และภาคเอกชนแปลงแนวทางตามแผนปฏิบัติการฯ สู่การปฏิบัติ โดยกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการประจำปี และรายงานผลการดำเนินงานตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำหนด (สศช.) กำหนด
สาระสำคัญของเรื่อง
คณะกรรมการ ป.ป.ช. รายงานว่า
1. คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการประชุมครั้งที่ 64/2563 เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2563 มีมติเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 - 2565) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแปลงแนวทางการพัฒนาของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (21) ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ. 2561 - 2580) ผลักดันไปสู่การปฏิบัติและบริหารการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายของแผนแม่บทฯ ที่กำหนดว่า “ประเทศไทยปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ” โดยได้รับผลการประเมินดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) อยู่ในอันดับ 1 ใน 54 และ/หรือได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 50 คะแนน ในปี 2565
2. แผนปฏิบัติการฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
หัวข้อ |
สาระสำคัญ |
|||||||||||||||||||||||||||||||
วัตถุประสงค์ |
เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแปลงแนวทางการพัฒนาของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (21) ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ผลักดันไปสู่การปฏิบัติและบริหารการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายของแผนแม่บทฯ ภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนด |
|||||||||||||||||||||||||||||||
แผนปฏิบัติการ/ เป้าหมาย/ตัวชี้วัด |
แผนปฏิบัติการฯ ประกอบด้วย 2 แผนย่อย คือ แผนย่อยการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ และแผนย่อยการปราบปรามการทุจริต โดยมีเป้าหมายและตัวชี้วัด ดังนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||
กลุ่มเป้าหมาย | เด็ก เยาวชน ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ | |||||||||||||||||||||||||||||||
แนวทาง การพัฒนา |
เช่น (1) ปลูกและปลุกจิตสำนึกการเป็นพลเมืองที่ดี มีวัฒนธรรม และการปลูกฝังและหล่อหลอมวัฒนธรรมในกลุ่มเด็ก เยาวชน และประชาชนทุกช่วงวัย ทุกระดับ (2) ส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความใสสะอาดปราศจากพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริต (3) เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของกระบวนการและกลไกการปราบปรามการทุจริต (4) พัฒนาการจัดการองค์ความรู้ด้านการปราบปรามการทุจริต | |||||||||||||||||||||||||||||||
รูปแบบ การดำเนินการ |
พัฒนาเครื่องมือวัดเพื่อสำรวจ (1) พฤติกรรมที่ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตของเด็กและเยาวชน และ (2) วัฒนธรรม ค่านิยม ทัศนคติและพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริตของประชาชน รวมทั้งประเมินผลคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ | |||||||||||||||||||||||||||||||
โครงการ/ งบประมาณ |
โครงการภายใต้แนวทางการพัฒนามีจำนวนทั้งสิ้น 971 โครงการ วงเงินรวม 10,248,313,500 บาท เช่น (1) โครงการพัฒนาบุคลากรสายงานป้องกันการทุจริต (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) (2) โครงการสัมมนาซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายปฏิบัติราชการ (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) (3) โครงการพัฒนานวัตกรรมการป้องกันการทุจริตเชิงรุก (กระทรวงศึกษาธิการ) | |||||||||||||||||||||||||||||||
ระยะเวลา ดำเนินการ |
พ.ศ. 2563 - 2565 |
3. สศช. ได้นำแผนปฏิบัติการฯ เสนอต่อสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้ว โดยในการประชุมครั้งที่ 10/2563 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2563 สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบในหลักการ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม จำนวน 3 ประเด็นหลัก ดังนี้
ประเด็น |
ข้อเสนอแนะ |
|
การประเมินผล การดำเนินงาน ที่ผ่านมา |
เช่น ควรประเมินผลสำเร็จของการดำเนินการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบของประเทศไทยที่ผ่านมา โดยการเปรียบเทียบผลการดำเนินการและงบประมาณที่ใช้ในการต่อต้านการทุจริตในอดีตกับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทย เพื่อใช้ประเมินผลความสำเร็จในการดำเนินงานและสามารถใช้เป็นข้อมูลเพื่อนำมาปรับปรุงในการจัดทำแผนและกำหนดแนวทางที่เหมาะสมให้เกิดประสิทธิภาพสามารถบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายได้ต่อไป |
|
การกำหนด ตัวชี้วัด |
เช่น ตัวชี้วัดด้านข้อร้องเรียนเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่ถูกชี้มูลความผิด ควรพิจารณาเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลที่มาจากการร้องเรียนของประชาชน เช่น ข้อมูลการร้องเรียนหรือร้องทุกข์ของประชาชนที่ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน (สายด่วน 1111) ซึ่งสามารถจำแนกตำแหน่งที่ตั้งของผู้ร้องเรียนเพื่อทำฐานข้อมูลการร้องเรียนด้วยระบบดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพและเปิดเผยได้ รวมทั้งกำหนดระดับความสำเร็จในการดำเนินการแก้ไขตามข้อร้องเรียนของประชาชนไว้ในตัวชี้วัดด้วย เพื่อให้เห็นประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน |
|
การตรวจสอบ ทรัพย์สิน |
เช่น ควรนำเทคโนโลยีการเชื่อมโยงข้อมูลดิจิทัลจากหน่วยงานต่างๆ ที่ทำหน้าที่เก็บทะเบียนสินทรัพย์ต่างๆ (เช่น ที่ดิน บ้าน หุ้น รถยนต์ บัญชีเงินฝาก) รวมเข้ากับระบบของ ป.ป.ช. เพื่อให้การยื่นบัญชีทรัพย์สินเหลือเพียงการตรวจสอบทะเบียนที่รวบรวมได้กับการยื่นในส่วนที่ไม่มีหน่วยงานใดเป็นผู้เก็บทะเบียนของสินทรัพย์ เช่น เงินสด หรือทรัพย์สินที่เป็นของรูปพรรณต่างๆ ในขณะที่บัญชีทรัพย์สินในส่วนที่สามารถเข้าถึงได้ด้วยระบบเทคโนโลยีนั้น ควรกำหนดให้สำนักงาน ป.ป.ช. สามารถขอรับข้อมูลผ่านระบบดิจิทัลจากสถาบันการเงินหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องได้ |
ในการนี้ สศช. ได้แจ้งให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช. เสนอแผนปฏิบัติการฯ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 15 ธันวาคม 2563
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A12392
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ