WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างข้อเสนอเรื่องมาตรการการห้ามหรือจำกัดการส่งออกสินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้องกับโครงการอาหารโลก

GOV 9ร่างข้อเสนอเรื่องมาตรการการห้ามหรือจำกัดการส่งออกสินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้องกับโครงการอาหารโลก

          คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้

          1. เห็นชอบในหลักการต่อร่างข้อเสนอของสิงคโปร์ เรื่องมาตรการการห้ามหรือจำกัดการส่งออกสินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้องกับโครงการอาหารโลก

          2. หากมีการปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก

          3. อนุมัติให้เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือผู้แทนให้การรับรองร่างข้อเสนอของสิงคโปร์ เรื่องมาตรการการห้ามหรือจำกัดการส่งออกสินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้องกับโครงการอาหารโลกในการประชุมคณะมนตรีใหญ่องค์การการค้าโลกที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 16-17 ธันวาคม 2563 นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

          สาระสำคัญ

          เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2563 สิงคโปร์ได้นำเสนอร่างข้อเสนอเรื่องมาตรการการห้ามหรือจำกัดการส่งออกสินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้องกับโครงการอาหารโลกต่อที่ประชุมคณะกรรมการอาเซียน นครเจนีวา เพื่อขอการสนับสนุน โดยมีสาระสำคัญว่า สมาชิกองค์การการค้าโลกจะไม่ใช้มาตรการห้ามหรือจำกัดการส่งออกสินค้าอาหารที่ซื้อโดยโครงการอาหารโลก ซึ่งไม่มีวัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์และเป็นการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม (Non-Commercial and Humanitarian Purchases) ขององค์การอาหารโลก และจะนำเสนอร่างข้อเสนอดังกล่าวให้ประเทศสมาชิกรับรองในการประชุมคณะมนตรีใหญ่ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 16-17 ธันวาคม 2563

          ทั้งนี้ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะหน่วยงานของไทยที่ประสานงานร่วมกับโครงการอาหารโลกแจ้งว่า ที่ผ่านมาไทยได้บริจาคสินค้าประเภทอาหาร เช่น ข้าว น้ำตาล แป้งมันสำปะหลัง ให้แก่โครงการอาหารโลก อาทิ ปี 2544 ได้บริจาคข้าวจำนวน 3,000 ตัน ให้แก่อัฟกานิสถาน และในปี 2554 ได้บริจาคข้าวจำนวน 20,000 ตัน เพื่อให้ความช่วยเหลือเฮติในกรณีแผ่นดินไหว นอกจากนี้ ไทยยังได้บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการอาหารโลก เช่น เมื่อปี 2554 ไทยบริจาคเงินจำนวน 50,000 เหรียญสหรัฐฯ เพื่อช่วยบรรเทาภาวะขาดแคลนอาหารในประเทศแอฟริกา และล่าสุดเมื่อเดือนเมษายน 2562 ไทยในฐานะประธานอาเซียนได้มอบเงินช่วยเหลือด้านมนุษย์ธรรมผ่านโครงการอาหารโลกจำนวน 150,000 เหรียญสหรัฐฯ เพื่อใช้สนับสนุนภารกิจจำเป็นเร่งด่วนในการดูแลชีวิตความเป็นอยู่และโภชนาการของผู้พลัดถิ่นในบังคลาเทศ

        โครงการอาหารโลกแจ้งว่า ได้จัดซื้อสิ่งของเพื่อการบริโภคจากไทย ดังนี้

 

ปี

สินค้า

ปริมาณ (ตัน)

มูลค่า (เหรียญสหรัฐฯ)

2560

รวม

1,900

 

948,800

 

ข้าว

1,900

 

948,800

 

2561

รวม

19,592

 

9,379,906

 

ข้าว

19,592

 

9,379,906

 

2562

รวม

3,129

 

1,919,571

 

ข้าว

2,959

 

1,621,276

 

ทูน่ากระป๋อง

170

 

298,295

 

 

          เมื่อนำปริมาณที่โครงการอาหารโลกซื้อทั้งหมดเปรียบเทียบกับปริมาณที่โครงการอาหารโลกซื้อจากไทย ระหว่างปี 2560-2562 จะพบว่า โครงการอาหารโลกซื้อสินค้าจากไทย ได้แก่ ข้าว และทูน่ากระป๋อง มีสัดส่วนระหว่างร้อยละ 0.29-ร้อยละ 5.37 ของการจัดซื้อสินค้าดังกล่าวทั้งหมด ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่น้อย เนื่องจากโครงการอาหารโลกให้ความสำคัญสูงสุดกับการจัดซื้อภายในพื้นที่เพื่อลดค่าใช้จ่ายและระยะทางในการขนส่งไปยังประเทศที่ขอรับการช่วยเหลือ ซึ่งสินค้าไทยมีคุณภาพและราคาค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ไทยจึงไม่ใช่แหล่งการจัดซื้ออาหารที่สำคัญของโครงการอาหารโลก ดังนั้น การยกเว้นมาตรการการห้ามหรือจำกัดการส่งออกสินค้าเกษตร ที่เกี่ยวข้องกับโครงการอาหารโลกจึงไม่น่าจะมีผลกระทบต่อปริมาณอาหารในประเทศของไทยอย่างมีนัยสำคัญ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 15 ธันวาคม 2563

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A12376

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!