WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 9 และมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 4

GOV1 copy copyมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 9 และมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ระยะที่

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMES) ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 9 (โครงการ PGS ระยะที่ 9) และมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 4 (โครงการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 4) พร้อมทั้งอนุมัติงบประมาณวงเงินรวมไม่เกิน 24,000 ล้านบาท สำหรับการดำเนินโครงการ PGS ระยะที่ 9 และอนุมัติงบประมาณวงเงินรวมไม่เกิน 5,750 ล้านบาท สำหรับการดำเนินโครงการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 4 (รวม 2 โครงการ ขออนุมัติงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 29,750 ล้านบาท) จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          กค. รายงานว่า

          1. จากการผ่อนคลายมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มบรรเทาลง รวมไปถึงการดำเนินมาตรการรักษาระดับการบริโภคในประเทศเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ และแนวทางการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจหลังสิ้นสุดมาตรการพักชำระหนี้ ส่งผลให้ภาคธุรกิจบางสาขาเริ่มส่งสัญญาณกลับมาฟื้นตัวได้ อย่างไรก็ดี ยังมีผู้ประกอบการอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs รวมทั้งผู้ประกอบการรายย่อยที่ยังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID - 19 และยังไม่สามารถข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบสถาบันการเงินได้อย่างเพียงพอโดยสาเหตุสำคัญมาจากสถาบันการเงินยังไม่มั่นใจการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากเห็นว่าผู้ประกอบการดังกล่าว ยังมีความเสี่ยงในการชำระหนี้คืน กค. โดย บสย. จึงเสนอมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านโครงการ PGS ระยะที่ 9 และมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยผ่านโครงการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 4 โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

โครงการ PGS ระยะที่ 9

 

โครงการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 4

วัตถุประสงค์

เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ทั่วไปผ่านกลไกการค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่สถาบันการเงินในการให้สินเชื่อ รวมถึงสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ที่มีศักยภาพที่ต้องการสินเชื่อแต่หลักประกันไม่เพียงพอให้มีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อได้หรือผู้ประกอบการ SMEs ที่มีปัญหาด้านสภาพคล่องให้สามารถประกอบธุรกิจจ่อไปได้

 

เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน พ่อค้าแม่ค้า หาบเร่ แผงลอย ผู้ประกอบอาชีพอื่นที่มีสถานประกอบการชัดเจนและประกอบธุรกิจจริง ผ่านกลไกการค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. ให้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนของสถาบันการเงินเป็นการลดต้นทุนการประกอบอาชีพของผู้ประกอบการรายย่อยและช่วยแก้ไขปัญหาการกู้ยิมเงินนอกระบบ

วงเงินค้ำประกันโครงการรวม

150,000 ล้านบาท

 

25,000 ล้านบาท

บสย. สามารถกำหนดเงื่อนไขและวงเงินค้ำประกันสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการรายย่อยแต่ละกลุ่ม หรือแต่ละสถาบันการเงิน หรือโครงการย่อยแต่ละโครงการได้ตามความเหมาะสม

วงเงินค้ำประกันต่อราย

• ไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อราย (รวมทุกสถาบันการเงิน) ทั้งนี้ อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของหลักเกณฑ์การค้ำประกันสินเชื่อต่อรายและต่อกลุ่มลูกค้า (Single Guarantee Limit : SGL) ของ บสย

• การยื่นขอให้ค้ำประกันขั้นต่ำครั้งละไม่น้อยกว่า 200,000 บาท

 

• ไม่เกิน 500,000 บาทต่อราย (รวมทุกสถาบันการเงิน) ทั้งนี้ อยู่ภายใต้ข้อกำหนด SGL ของ บสย

• การยื่นคำขอค้ำประกันขั้นต่ำครั้งละไม่น้อยกว่า 10,000 บาท

ระยะเวลารับคำขอค้ำประกัน

2 ปี นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ

อายุการค้ำประกัน

ไม่เกิน 10 ปี

ค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน

• อัตราค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อในแต่ละปีให้เป็นไปตามที่ บสย. กำหนด

• รัฐบาลรับภาระค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อแทนผู้ประกอบการ SMEs ปีละไม่เกินร้อยละ 1.75 เป็นระยะเวลา 2 ปี หรือไม่เกินร้อยละ 3.5 ตลอดอายุการค้ำประกัน

 

• ไม่เกินร้อยละ 1.5 ต่อปีตลอดอายุการค้ำประกันโครงการ

• รัฐบาลรับภาระค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อแทนผู้ประกอบการรายย่อยปีละไม่เกินร้อยละ 1.5 เป็นะระยะเวลา 2 ปี หรือไม่เกินร้อยละ 3 ตลอดอายุการค้ำประกัน

• บสย. สามารถจัดสรรอัตราค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อที่รัฐบาลจ่ายแทนผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการรายย่อยในแต่ละกลุ่มได้ตามความเหมาะสม

การจ่ายค่าประกันชดเชย

• บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยตลอดโครงการไม่เกินค่าธรรมเนียมรับตลอดอายุการค้ำประกันของโครงการบวกงบประมาณการจ่าย   ชดเชยที่ได้รับจากรัฐบาลไม่เกินร้อยละ 12.5 ของวงเงินอนุมัติค้ำประกันโครงการ เช่น หาก บสย. ได้รับค่าธรรมเนียมร้อยละ 1.75 ต่อปีเป็นระยะเวลา 10 ปี ค่าประกันชดเชยที่ บสย. จะจ่ายได้ตลอดโครงการจะไม่เกินร้อยละ 30 (ร้อยละ 1.75 * 10 ปี บวกเงินชดเชยจากรัฐบาลไม่เกินร้อยละ 12.5) เป็นต้น โดย บสย. สามารถจัดสรรเงินสำหรับการจ่ายค่าประกันชดเชย

ในแต่ละกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ได้ตามความเหมาะสมภายใต้งบประมาณจากภาครัฐเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 12.5 ของวงเงินอนุมัติค้ำประกันโครงการ

 

• บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยตลอดโครงการไม่เกินค่าธรรมเนียมรับตลอดอายุการค้ำประกันของโครงการบวกเงินสมทบที่ได้รับจากรัฐบาลไม่เกินร้อยละ 20 ของวงเงินอนุมัติค้ำประกันโครงการ เช่น หาก บสย. ได้รับค่าธรรมเนียมร้อยละ 1.5 ต่อปี เป็นระยะเวลา 10 ปี ค่าประกันชดเชยที่ บสย. จะจ่ายได้ตลอดโครงการจะไม่เกินร้อยละ 35

(ร้อยละ 1.5 * 10 ปี บวกเงินชดเชยจากรัฐบาลไม่เกินร้อยละ 20) เป็นต้น โดย บสย.สามารถจัดสรรเงินสำหรับการจ่ายค่าประกันชดเชยในแต่ละกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยได้ตามความเหมาะสมภายใต้งบประมาณจากภาครัฐเฉลี่ยไม่เกิน ร้อยละ 20 ของวงเงินอนุมัติค้ำประกันโครงการ

การขอรับการชดเชย

บสย. ขอรับเงินงบประมาณชดเชยจากรัฐบาล เป็นเงินรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 24,000 ล้านบาท (ร้อยละ 16* 150,000 ล้านบาท) แบ่งเป็น

1) เงินชดเชยการจ่ายค่าประกันชดเชยจากรัฐบาลอัตราร้อยละ 12.5 ของวงเงินอนุมัติค้ำประกันจำนวนไม่เกิน 18,750 ล้านบาท (ร้อยละ 12.5 * 150,000 ล้านบาท)

2) เงินชดเชยค่าธรรมเนียมการค้ำประกันให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs จำนวนไม่เกิน 5,250 ล้านบาท (ร้อยละ 35 * 150,000 ล้านบาท)

 

บสย. ขอรับเงินงบประมาณชดเชยจากรัฐบาลเป็นเงินรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 5,750 ล้านบาท (ร้อยละ 23 *25,000 ล้านบาท) แบ่งเป็น

1) เงินสมทบการจ่ายค่าประกันชดเชยจากรัฐบาลอัตราร้อยละ 20 ของวงเงินอนุมัติค้ำประกันจำนวนไม่เกิน 5,000 ล้านบาท (ร้อยละ 20 * 25,000 ล้านบาท)

2) เงินชดเชยค่าธรรมเนียมการค้ำประกันให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย จำนวนไม่เกิน 750 ล้านบาท (ร้อยละ 3 * 25,000 ล้านบาท)

เงื่อนไขอื่นๆ

กค. และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะกำหนดเกณฑ์และตัวชี้วัดในการติดตาม

การดำเนินงานของโครงการ เพื่อให้การดำเนินโครงการสามารถให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยอาจปรับปรุงรายละเอียดของโครงการได้ตามสมควรต่อไป

 

-

ผลเชิงเศรษฐกิจที่คาดว่า

จะได้รับ

• มีผู้ประกอบการ SMEs ได้รับสินเชื่อเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 42,500 ราย (เฉลี่ย 3.5 ล้านบาทต่อราย)

• ก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินไม่ต่ำกว่า 225,000 ล้านบาท (1.5 เท่าของวงเงินค้ำประกันโครงการ)

• มีสัดส่วนผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นนิติบุคคลที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อไม่ต่ำกว่าร้อยละ 35

 

• ผู้ประกอบการรายย่อยเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ไม่ต่ำกว่า 100,000 ราย (เฉลี่ย 250,000 บาทต่อราย

• ก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบสถาบันการเงิน 25,000 ล้านบาท (1 เท่าของวงเงินวงเงินค้ำประกันโครงการ)

 

          2. กค.ได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเสนอพร้อมกับการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 27 และมาตรา 28 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ .. 2561 เรียบร้อยแล้ว และเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 29 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ .. 2561 ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการดำเนินโครงการดังกล่าว บสย.จะจัดทำบัญชีสำหรับการดำเนินกิจกรรม มาตรการหรือโครงการที่ได้รับมอบหมายแยกต่างหากจากบัญชีการดำเนินงานทั่วไป พร้อมทั้งเสนอรายงานผลการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและผลสัมฤทธิ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ รวมทั้งเผยแพร่ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์

          3. ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยตามมาตรา 28 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ .. 2561 วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 มียอดคงค้างจำนวน 862,792.119 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 26.26 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี .. 2564 (วงเงิน 3,285,962.4797 ล้านบาท) ทั้งนี้ หากรวมภาระทางการคลังที่อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี วงเงินจำนวน 3,778.993 ล้านบาท จะส่งผลให้ยอดคงค้างทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 866,571.112 ล้านบาท ดังนั้น หากมีการดำเนินโครงการ PGS ระยะที่ 9 จำนวน 24,000 บาท และโครงการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 4 จำนวน 5,750 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นจำนวน 29,750 ล้านบาท จะส่งผลให้ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 896,321.112 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 27.28 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี .. 2564 ซึ่งยังคงไม่เกินอัตราร้อยละ 30 ที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐได้ประกาศกำหนดไว้

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 1 ธันวาคม 2563

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A12036

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!