ขออนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณตามแผนการดำเนินงานระยะ 5 ปี ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2564 - 2568) ของศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 04 November 2020 01:45
- Hits: 12088
ขออนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณตามแผนการดำเนินงานระยะ 5 ปี ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2564 - 2568) ของศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณตามแผนการดำเนินงานระยะ 5 ปี ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2564 - 2568) ของศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมีโอ) (ศูนย์สะเต็มศึกษาฯ) วงเงินรวมทั้งสิ้น 235.91 ล้านบาท ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ โดยให้ ศธ. จัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่ายและเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) รายงานว่า
1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 เห็นชอบในหลักการการจัดตั้งศูนย์ สะเต็มศึกษาฯ ในประเทศไทย ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 อนุมัติการจัดทำและลงนามบันทึกความตกลงในการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวนั้น ศธ. และสำนักงานเลขาธิการซีมีโอได้ลงนามในบันทึกความตกลงในการจัดตั้งศูนย์สะเต็มศึกษาฯ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2562 ซึ่งถือเป็นการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวอย่างเป็นทางการแล้ว
2. ศูนย์สะเต็มศึกษาฯ ได้จัดทำแผนการดำเนินงานระยะ 5 ปี ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2564 - 2568) และวงเงินงบประมาณเพื่อเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานตามภารกิจของศูนย์ดังกล่าว ภายใต้วิสัยทัศน์ว่า “เป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศในระดับภูมิภาคด้านการวิจัยและการพัฒนาศักยภาพด้านสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมนโยบายและแนวปฏิบัติที่รองรับด้วยงานวิจัย” ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ |
รายละเอียดแผนการดำเนินงานฯ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พันธกิจ |
1. ส่งเสริมการใช้งานวิจัยเชิงนโยบายด้านสะเต็มศึกษาและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายด้านสะเต็มศึกษาที่สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของภูมิภาค 2. พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและผู้กำหนดนโยบายด้านสะเต็มศึกษา 3. พัฒนาสื่อการเรียนรู้สะเต็มที่เหมาะกับบริบทของภูมิภาคด้วยการระดมทรัพยากรที่มีในเครือข่าย 4. แสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานที่กำหนดนโยบาย ผู้ปฏิบัติ และภาคเอกชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านสะเต็มศึกษา
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เป้าหมาย/ ตัวชี้วัด |
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กลยุทธ์/ กิจกรรม และโครงการ
|
- กรอบแนวทางการดำเนินงานตามภารกิจของศูนย์สะเต็มศึกษาฯ ในช่วงปีที่ 1 - 5 (พ.ศ. 2564 - 2568) ประกอบด้วยกลยุทธ์ 3 ด้าน ได้แก่ 1. การประเมินและวิจัยเกี่ยวกับสะเต็มศึกษา (STEM Education Research and Evaluation) เพื่อพัฒนาศักยภาพของประเทศและภูมิภาคด้านงานวิจัยเกี่ยวกับสะเต็มศึกษา เพื่อให้ผู้นำทางการศึกษามีข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบายที่มีฐานจากงานวิจัย ประกอบด้วยโครงการที่สำคัญ ได้แก่ 1.1 What Works เป็นโครงการที่ให้ความรู้แก่นักวิจัยในการรวบรวม สังเคราะห์ และพัฒนางานวิจัย เพื่อเผยแพร่บนเว็บไซต์ เวทีวิชาการ หรือเวทีนโยบายสาธารณะ 1.2 การประเมินผลโครงการ เป็นการประเมินและสรุปผลลัพธ์ของโครงการที่สำคัญ โดยใช้มาตรฐานงานวิจัยที่เป็นสากล 2. การพัฒนาสื่อและศักยภาพบุคลากรทางการศึกษา (Resources and Capacity Building) เพื่อวิจัย พัฒนา และทดสอบสื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และเผยแพร่สู่สถาบันการศึกษาและโรงเรียน อีกทั้งพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ทั้งในระดับผู้นำด้านนโยบาย ผู้บริหารการศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู ศึกษานิเทศก์ในด้านการเป็นผู้นำด้านการจัดการสะเต็มศึกษา ประกอบด้วยโครงการที่สำคัญ ได้แก่ 2.1 STEM Learning Modules เป็นโครงการที่ประเมิน วิจัย และพัฒนาสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับสะเต็มที่มีคุณภาพ 2.2 STEM Career Academies เป็นโครงการที่สร้างแรงบันดาลใจและเตรียมความพร้อมผู้เรียนสู่โลกอาชีพ 2.3 STEM Professional Academy เป็นโครงการพัฒนาบุคลกรทางการศึกษาทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ 3. การให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การสร้างพันธมิตร และการสื่อสาร (Advocacy, Partnership and Communication) เพื่อให้เกิดความตระหนักและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีฐานจากงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง ด้วยการจัดกิจกรรมสร้างความตระหนัก เวทีวิชาการ หรือเว็บไซต์เผยแพร่ข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหมู่นักวิชาการและบุคลากรทางการศึกษาในการยกระดับคุณภาพการจัดการสะเต็มศึกษา ประกอบด้วยโครงการสำคัญ ได้แก่ 3.1 Public - Private Partnership Networks : เป็นโครงการที่สร้างเครือข่ายภาคีรัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัยในการร่วมมือกันดำเนินโครงการ 3.2 Policy Advocacy Forum : เป็นโครงการที่จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านงานวิจัยหรือบทเรียนจากการดำเนินโครงการเพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อผู้วางนโยบายด้านสะเต็มศึกษา 3.3 Communications and Dissemination : เป็นโครงการสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลในเครือข่ายนักวิชาการผู้ปฏิบัติและผู้ที่เกี่ยวข้องด้านสะเต็มศึกษา
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประมาณการรายจ่ายและแหล่งเงินที่ใช้ตลอดระยะเวลาดำเนินการ
|
ใช้งบประมาณปี พ.ศ. 2564 - 2568 รวมทั้งสิ้น 235.91 ล้านบาท ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท
หมายเหตุ ศธ. แจ้งว่า ได้รับจัดสรรงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำหรับปีที่ 1 แล้ว จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 10 ล้านบาท
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประโยชน์ ที่จะได้รับ |
1. ส่งเสริมการใช้งานวิจัยเชิงนโยบายด้านสะเต็มศึกษาและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายด้านสะเต็มศึกษาที่สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของภูมิภาค 2. พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและผู้กำหนดนโยบายด้านสะเต็มศึกษา 3. พัฒนาสื่อการเรียนรู้สะเต็มที่เหมาะกับบริบทของภูมิภาคด้วยการระดมทรัพยากรที่มีในเครือข่าย 4. แสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานที่กำหนดนโยบาย ผู้ปฏิบัติ และภาคเอกชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านสะเต็มศึกษา
|
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 3 พฤศจิกายน 2563
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A11060
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ