รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (กปช.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 03 November 2020 22:24
- Hits: 13702
รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (กปช.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (กปช.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และมอบหมายหน่วยงานภาครัฐรับข้อเสนอของประชาชนไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่ กปช. เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กปช. รายงานว่า ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ โดยผลการดำเนินงานของ กปช. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สรุปได้ดังนี้
1. งานสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องสื่อสารที่สำคัญประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยคณะอนุกรรมการทบทวนนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2559 - 2564) ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้ประเมินผลการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเป็นภาพรวมของประเทศผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออื่นๆ ซึ่งประชาชนมีข้อเสนอต่อการพัฒนางานประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานภาครัฐ รวม 12 ประเด็น สรุปได้ดังนี้
ประเด็น |
ข้อเสนอของประชาชน |
หน่วยงานภาครัฐ |
||
1) บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และเบี้ยยังชีพ |
- ควรประชาสัมพันธ์เน้นถึงข้อดีของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเชื่อมโยงกับเรื่องอื่นๆ เช่น การใช้ฐานข้อมูลของผู้ถือบัตรในการพัฒนาอาชีพและแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน - ควรเสนอตัวอย่างความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม - ชี้แจงและอธิบายให้ชัดเจนภายใต้แบรนด์ของหน่วยงานรัฐ |
- สำนักงานเศรษฐกิจ การคลัง |
||
2) การจ้างงานผู้สูงอายุ |
- ควรประชาสัมพันธ์ความสำคัญของกรณีที่ผู้สูงอายุมีงานทำในแง่มุมต่างๆ เช่น ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนวัยทำงานและสร้างคุณค่าและลดภาวะซึมเศร้าให้กับผู้สูงอายุ - ควรเพิ่มวิธีการสมัครงาน โดยให้คนในครอบครัวสมัครงานแทน ผู้สูงอายุได้ |
- สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน - กรมการจัดหางาน |
||
3) การลดความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงบริการ สุขภาพ |
- ควรประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับประเภทของบริการสุขภาพและสิทธิประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากแต่ละประเภทบริการ - ควรขยายพื้นที่บริการคลินิกหมอครอบครัวให้ครอบคลุมพื้นที่เขตเมืองและเขตชนบททั่วประเทศ |
- สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข |
||
4) การบริหารจัดการน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และอุทกภัย |
- เร่งเผยแพร่ผลงานการบริหารจัดการน้ำทั้งในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝนให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรและสนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่ายองค์กรผู้ใช้น้ำรวมทั้งสื่อสารถึงมาตรการหรือวิธีแก้ไขปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยในระยะยาวอย่างยั่งยืนตามที่ได้วางแผนไว้ในแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชน |
- กรมชลประทาน - สำนักงานทรัพยากรน้ำ แห่งชาติ (สทนช.) |
||
5) การทำประมงตามมาตรฐาน IUU ที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม |
- เร่งสื่อสารเชิงรุก โดยอาจพิจารณาใช้ช่องทางการสื่อสารออนไลน์โดยเฉพาะ Twitter เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นการลดกระแสเชิงลบกรณีที่รัฐออกกฎหมายที่อาจกระทบต่อการประกอบอาชีพของชาวประมงไทย |
- กรมประมง |
||
6) ศูนย์ดำรงธรรม |
- เร่งสื่อสารถึงผลสำเร็จของการช่วยเหลือประชาชนเพื่อแสดงถึงความโปร่งใสและความเท่าเทียมในการให้บริการ - ควรเพิ่มช่องทางการเข้าถึงการร้องเรียนมากขึ้น - ควรจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรมให้ครบทุกอำเภอ |
- สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย |
||
7) งานยุติธรรมสร้างสุข |
- ควรประชาสัมพันธ์ ความหมาย ความสำคัญ บทบาท ช่องทางและบริการของโครงการยุติธรรมสร้างสุขให้เป็นที่รู้จักของประชาชนใน วงกว้าง - ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่เป็นรูปธรรมเพื่อสร้างความใกล้ชิดกับประชาชน |
- สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม |
||
8) การป้องปรามทุจริต ภาครัฐ |
- แสดงถึงความโปร่งใสในกระบวนการยุติธรรมอย่างเร่งด่วนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน - การรับเรื่องราวร้องทุกข์ควรเป็นความลับ เพื่อให้มั่นใจว่าประชาชน ผู้ร้องทุกข์จะไม่โดนข่มขู่จากอิทธิพลใดๆ |
- สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ |
||
9) เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (The Eastern Economic Corridor : EEC) |
- ควรเน้นการสื่อสารในเนื้อหาที่เกี่ยวกับประชาชน โดยชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงโอกาสทางเศรษฐกิจที่จะได้รับ - ควรแสดงถึงผลงานเชิงเปรียบเทียบกับผลงานของรัฐบาลที่ผ่านมา โดยเน้นประเด็นความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรม - ควรจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน |
- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) |
||
10) เขตพัฒนาพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor : SEC) |
- ควรสื่อสารให้ผู้ประกอบการมาลงทุน โดยเน้นการใช้ทรัพยากรในพื้นที่และแหล่งท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น - ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ประชาชนและผู้ประกอบการรายย่อยในพื้นที่ จะได้รับ |
- สำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน (สกท.) |
||
11) เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน (Special Economic Zone : SEZ) |
- ควรสื่อสารเน้นการสร้างโอกาส สร้างงานให้แก่ประชาชนและประโยชน์ที่ผู้ประกอบการรายย่อยในพื้นที่จะได้รับ - ควรสื่อสารถึงประเภทและตำแหน่งงานที่เกิดจากการพัฒนา SEZ ในแต่ละท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสกลับไปทำงานในท้องถิ่นของตนเอง |
- สกท. - กรมการจัดหางาน |
||
12) โรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID - 19) |
- ควรกำหนดหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลด้านเงินช่วยเหลือเยียวยาให้ชัดเจน - ควรกำหนดหน่วยงานให้ชัดเจนเพื่อทำหน้าที่คัดกรองข่าวสาร โดยเพิ่มบทบาทการดูแลข่าวลวงเพื่อเป็นหลักประกันข่าวสารและข้อมูลที่ ถูกต้องต่อประชาชน - ควรเร่งสื่อสารเรื่องการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง COVID - 19 |
- ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) |
2. งานบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารภาครัฐและประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้องค์ความรู้เพื่อบริหารจัดการข่าวลวง โดยคณะอนุกรรมการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารภาครัฐเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้แก่ประชาชนร่วมกับโฆษกกระทรวงและผู้ปฏิบัติงานด้านข่าวสารของทุกกระทรวงดำเนินงานในเรื่องต่างๆ สรุปได้ดังนี้
2.1 ประชาสัมพันธ์เชิงรุก สร้างองค์ความรู้ ต่อต้านข่าวปลอม โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID - 19 เช่น (1) ศบค. จัดแถลงข่าวสถานการณ์ความคืบหน้าประจำวันให้ประชาชนได้รับรู้และเตรียมพร้อมในการดำรงชีวิตประจำวัน และ (2) เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารนโยบายความช่วยเหลือของรัฐบาล โดยเฉพาะกรณีคุณสมบัติของผู้ได้รับสิทธิ์ช่วยเหลือเงินเยียวยา เดือนละ 5,000 บาท จำนวน 3 เดือนในรูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน
2.2 เพิ่มและพัฒนาช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายผ่านระบบออนไลน์ ได้แก่ (1) กลุ่มเด็ก นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง และครู (2) กลุ่มเยาวชนและคนวัยทำงาน และ (3) ประชาชนทั่วไปทุกกลุ่มอายุ
2.3 จัดทำระบบตรวจสอบข่าวปลอมที่มีมาตรฐาน โดยคณะอนุกรรมการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารฯ อยู่ระหว่างดำเนินการร่วมกับหน่วยงานรัฐและเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมระบบการวิเคราะห์ข่าวและการแจ้งเตือนข่าวปลอมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและนวัตกรรมอัจฉริยะ
3. งานพัฒนาบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนของประเทศ โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนของประเทศ มีผลการดำเนินงานสรุปได้ดังนี้
3.1 พัฒนาหลักสูตรเดิมให้เป็นหลักสูตรการสื่อสารในยุคดิจิทัลซึ่งได้พัฒนาหลักสูตรและฝึกอบรมแล้ว 3 หลักสูตร ได้แก่ (1) หลักสูตรพัฒนาการสื่อสารยุคดิจิทัล รุ่นที่ 7 (2) หลักสูตรเทคนิคการนำเสนอนโยบายภาครัฐสู่ประชาชนในยุคดิจิทัล รุ่นที่ 1 และ (3) หลักสูตรนักบริหารงานประชาสัมพันธ์ระดับสูง รุ่นที่ 60
3.2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ได้นำหลักสูตรการสื่อสารในยุคดิจิทัลของสถาบันการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ จำนวน 11 หลักสูตร ไปใช้ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ จำนวน12 หน่วยงาน
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 3 พฤศจิกายน 2563
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A11057
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ