WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2/2563 และแนวโน้มไตรมาสที่ 3/2563 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม 2563

GOV 7รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2/2563 และแนวโน้มไตรมาสที่ 3/2563 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม 2563

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2/2563 และแนวโน้ม ไตรมาสที่ 3/2563 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม 2563 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้
          สาระสำคัญ
          ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหรรมในไตรมาสที่ 2/2563 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 20.0 โดยปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวรวมถึงผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัวในไตรมาสที่ 2/2563 อาทิ การผลิตรถยนต์ หดตัวจากสินค้าเกือบทุกรายการสินค้า ยกเว้นรถยนต์นั่งขนาดใหญ่ รถตรวจการณ์เป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อกำลังซื้อในต่างประเทศและตลาดในประเทศ รวมไปถึงสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อรถยนต์มากขึ้น นอกจากนี้ผู้ผลิตส่วนใหญ่หยุดสายการผลิตในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิตลดลงจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้การเดินทางทางอากาศหยุดชะงักเกือบทั้งหมดในไตรมาสนี้ และผลจากการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉินของรัฐบาล ประกอบกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด การควบคุมการเดินทางระหว่างพื้นที่ต่างๆ ทำให้การเดินทางขนส่งของประชาชนทั่วไปและธุรกิจลดน้อยลง ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันเพื่อการคมนาคมขนส่งลดลงมาก การผลิตเครื่องปรับอากาศ ภาวะการผลิตลดลงในทุกสินค้า ปัจจัยหลักจากปัญหาการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และผลจากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด ทำให้ความต้องการสินค้าลดน้อยลง รวมไปถึงการที่ผู้ผลิตต่างปรับลดวันทำงานและทำตามมาตรการของทางภาครัฐในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค และการขาดชิ้นส่วนสำหรับการผลิตสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณการผลิตในไตรมาสนี้ สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวดีในไตรมาสที่ 2/2563 อาทิ การผลิตสัตว์น้ำบรรจุกระป๋อง ผลจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ทำให้ผู้บริโภคในต่างประเทศมีการซื้อหาอาหารกระป๋องไว้บริโภคในช่วงที่ต้องอยู่บ้านเพื่อป้องกันการระบาด จึงทำให้มีคำสั่งซื้อสินค้าเข้ามาเพิ่มขึ้น การผลิตเภสัชภัณฑ์และเคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้มีคำสั่งซื้อเข้ามามากขึ้น
          ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม 2563 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 14.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
          อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนกรกฎาคม 2563 หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ
          1. รถยนต์ และเครื่องยนต์ หดตัวร้อยละ 53.3 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงมีการแพร่ระบาดในภูมิภาคต่างๆ ของโลกอยู่ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าและเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมถึงสถาบันการเงินยังคงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ
          2. การกลั่นปิโตรเลียม หดตัวร้อยละ 8.1 จากน้ำมันเครื่องบินเป็นหลัก เป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้การเดินทางทางอากาศลดลงอย่างมาก ส่งผลให้ปริมาณการผลิตและการใช้น้ำมันสำเร็จรูปลดลง
          3. น้ำตาล หดตัวร้อยละ 57.4 เนื่องจากผลผลิตอ้อยในปีนี้มีน้อย ส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลทรายดิบที่มีอยู่นำมาแปรสภาพเป็นน้ำตาลทรายได้น้อยกว่าปีก่อน
          อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนกรกฎาคม 2563 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
          1. เบียร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0 จากการเร่งผลิตชดเชยในช่วงที่มีมาตรการปิดเมือง ทำให้ไม่สามารถผลิตได้เต็มที่
          2. ปุ๋ยเคมี เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.2 จากปัญหาภัยแล้งนอกฤดูกาลในปีก่อนทำให้ความต้องการใช้มีน้อย แต่ปีนี้ฝนตกดีขึ้นในหลายพื้นที่เกษตรกรสามารถเพาะปลูกข้าวได้ตามปกติจึงมีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น
          แนวโน้มอุตสาหกรรมสาขาสำคัญไตรมาสที่ 3/2563
          อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่า จะมีดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.9 และ 1.9 ตามลำดับ เนื่องจากได้รับผลบวกจากวัฏจักรของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่เริ่มฟื้นตัว รวมถึงการพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G Data Center และผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทาง IT ซึ่งทำให้มีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น
          อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม การผลิตและการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในภาพรวมเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คาคว่าจะชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวจากผลกระทบของการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และกำลังซื้อในประเทศที่ยังคงชะลอตัว อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2563 คาดว่า ภาพรวมการผลิต การส่งออก และการนำเข้าในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม จะขยายตัวได้จากการที่คู่ค้าต่างประเทศหลายแห่งสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ และเริ่มมีคำสั่งซื้อมายังประเทศไทย
          อุตสาหกรรมยา คาดว่าจะขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.25 ตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สำหรับการส่งออกคาคว่าจะขยายตัวได้ดีในตลาดเวียดนาม กัมพูชา ญี่ปุ่น เมียนมา และสิงคโปร์
          อุตสาหกรรมอาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมอุตสาหกรรมอาหาร ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 จะหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้วยปัจจัยลบอย่างวัตถุดิบสินค้าเกษตรลดลงจากปัญหาภัยแล้ง เช่น อ้อย ปาล์มน้ำมัน สับปะรด และมันสำปะหลัง ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการผลิตของโรงงาน กอปรกับการบริโภคในประเทศยังชะลอตัวจากการบริโภคของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ อย่างไรก็ตามไทยน่าจะยังคงได้รับอานิสงส์จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ทูน่าและซาร์ดีนกระป๋อง) นม สิ่งปรุงรส และอาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวอย่างต่อเนืองตามความต้องการของตลาดโดยเฉพาะตลาดต่างประเทศที่ยังรักษาระดับความมั่นคงด้านอาหาร ทั้งในประเทศที่ยังคงมีการระบาดรุนแรงและประเทศที่สถานการณ์การระบาดส่งสัญญาณดีขึ้น ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกจะขยายตัวได้ดี

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 12 ตุลาคม 2563
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396


A10323

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!