WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานผลการดำเนินงานของระบบประกันภัยและพัฒนาการที่สำคัญ ในรอบ 12 เดือน ปี 2562

GOV 8รายงานผลการดำเนินงานของระบบประกันภัยและพัฒนาการที่สำคัญ ในรอบ 12 เดือน ปี 2562

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ รายงานผลการดำเนินงานของระบบประกันภัยและพัฒนาการที่สำคัญ ในรอบ 12 เดือน ปี 2562 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) [ซึ่งเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัย พ.ศ. 2550 มาตรา 20 (10) ที่กำหนดให้สำนักงาน คปภ. จัดทำรายงานประจำปีแสดงผลงานและอุปสรรคในการดำเนินงานของคณะกรรมการและสำนักงานต่อคณะรัฐมนตรี] โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
          1. ภาพรวมธุรกิจประกันภัยของไทยในรอบ 12 เดือน ปี 2562 ธุรกิจประกันภัยเดือนมกราคม – ธันวาคม 2562 มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงรวมทั้งสิ้น 854,536 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 0.58 เมื่อเทียมกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของธุรกิจประกันภัยของปี 2563 จะอยู่ที่ร้อยละ 0.43-1.99 คิดเป็นมูลค่าเบี้ยประกันภัยประมาณ 860,863-882,317 ล้านบาท
         2. ผลการดำเนินงานที่สำคัญตามนโยบายรัฐบาลและภายใต้แผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2559-2563)

          ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมประกันภัย
          1) เสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการ เช่น ปรับปรุงการลงทุนประกอบธุรกิจอื่นเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถกระจายความเสี่ยงในการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น
          2) ยกระดับมาตรฐานการดำเนินธุรกิจประกันภัย เช่น ทบทวนและปรับปรุงข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงด้านดิจิทัล และการจัดสัมมนา
          3) คุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้เอาประกันภัยและยกระดับพฤติกรรมทางตลาดของระบบประกันภัย ได้แก่ การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลตัวแทนและนายหน้าประกันภัย
          ภาพรวมปัญหา/อุปสรรค
          1) การปรับปรุงและออกกฎเกณฑ์ต่างๆ ต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ โดยรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วนและมีระยะเวลาให้บริษัทขนาดเล็กได้ปรับตัว
          2) สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเงินโลกมีความผันผวนสูง รวมถึงเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ธุรกิจประกันภัยมีโอกาสได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง
          3) ตัวแทน/นายหน้าประกันภัยมีจำนวนมากอาจกำกับดูแลได้ไม่ทั่วถึง

 

          ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเสริมสร้างความรู้และการเข้าถึงประกันภัย
          1) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัย เช่น การจัดประกวดสารคดีสั้นและการจัดอบรมความรู้
          2) ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัย ให้สอดคล้องกับความต้องการและความเสี่ยงของประชาชน เช่น กรมธรรม์ประกันภัยลำไยและกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองความเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
          3) ส่งเสริมการเข้าถึงการประกันภัยเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยปรับปรุงสัญญาประกันสุขภาพมาตรฐานให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐเรื่องการปฏิรูประบบสาธารณสุข
          4) ขยายช่องทางการเข้าถึงการประกันภัยของประชาชน โดยการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาประกอบการเสนอขาย การออกกรมธรรม์ และการชดใช้เงินหรือค่าสินไหมทดแทน
          ภาพรวมปัญหา/อุปสรรค
          1) ประชาชนบางส่วนมีทัศนคติและประสบการณ์ที่ไม่ดีจากการประกันภัย ทำให้ขาดความเชื่อมั่น
          2) ประชาชนบางส่วนไม่สามารถเข้าถึงการทำประกันชีวิตได้เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับรายได้สุทธิ
          3) ผู้บริโภคประกันชีวิตยังใช้ช่องทางคนกลางในการทำประกันภัย จึงทำให้ช่องทางออนไลน์ยังไม่เป็นที่นิยม

 

          ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแข่งขัน
          1) เสริมสร้างการแข่งขัน ผ่านการผ่อนคลายการกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้มีความยืดหยุ่นและอิงกลไกตลาดมากยิ่งขึ้น
          2) พัฒนาการกำกับและกระบวนการให้ความเห็นชอบ/อนุมัติผลิตภัณฑ์ประกันภัย เช่น พัฒนาระบบการขอรับความเห็นชอบกรมธรรม์ประกันภัยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
          3) ส่งเสริมการเชื่อมโยงตลาดประกันภัยในภูมิภาคอาเซียน โดยลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อสร้างความร่วมมือและพัฒนาการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยกับสิงคโปร์
          ภาพรวมปัญหา/อุปสรรค
          1) การผ่อนคลายการกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัยต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อเตรียมความพร้อมและรองรับให้ภาคธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขัน
          2) การปรับปรุงสัญญาประกันสุขภาพมาตรฐานต้องมีความร่วมมือจากหลายภาคส่วน
          3) กฎหมายในแต่ละประเทศมีความแตกต่าง และมีระดับพัฒนาการไม่เท่ากัน

 

          ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการประกันภัย
          1) พัฒนาและยกระดับบุคลากรประกันภัยให้เป็นมืออาชีพผ่านการจัดอบรมและสัมมนา
          2) ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาในระบบประกันภัย ผ่านการจัดประชุมและสัมมนาวิชาการ
          3) เสริมสร้างศักยภาพระบบเทคโนโลยี เช่น การพัฒนาแอปพลิเคชันและฐานข้อมูล
          4) ผลักดันให้การประกันภัยเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยง เช่น โครงการประกันภัยข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
          5) เสริมสร้างศักยภาพของหน่วยงานกำกับ โดยปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเข้ารับการประเมินภาคการเงินสาขาประกันภัย
          ภาพรวมปัญหา/อุปสรรค
          1) การผลักดันให้การประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงแก่ประชาชน โดยเฉพาะการผลักดันให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ตอบสนองนโยบายภาครัฐและความต้องการของประชาชนจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชน
          2) ข้อมูลด้านการประกันภัยมีความซับซ้อนและมีความเชื่อมโยงหลายภาคส่วน จึงต้องใช้ระยะเวลาในการทำความเข้าใจและระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำโครงสร้างฐานข้อมูล
          3) กระบวนการแก้ไขกฎหมายต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการเนื่องจากต้องพิจารณาให้ครอบคลุมทุกมิติ

 

          3. การประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรการและแผนการดำเนินงานปี 2562 ของสำนักงาน คปภ. ซึ่งประกอบด้วย 11 ตัวชี้วัด มีค่าคะแนนถ่วงน้ำหนักรวมอยู่ที่ 3.625 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน
         4. ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการด้านประกันภัยกับสำนักงาน คปภ. ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในปี 2562 จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3,393 ราย โดยประเมินผลความพึงพอใจ 3 ด้าน ได้แก่ ความเป็นธรรม คุณภาพการให้บริการ และการเข้าถึงบริการมีผลคะแนนอยู่ที่ร้อยละ 93.20 ระดับความพึงพอใจมาก

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 21 กรกฎาคม 2563
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396


AO7551

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!