WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอความเห็นชอบต่อร่างแผนปฏิบัติการด้านความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น

GOV8 copyขอความเห็นชอบต่อร่างแผนปฏิบัติการด้านความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการด้านความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างเอกสารดังกล่าว ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
         สาระสำคัญ ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
         1. ร่างแผนปฏิบัติการด้านความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น เป็นเอกสารความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นในการตอบสนองต่อความท้าทายทางเศรษฐกิจต่างๆ จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ 3 ข้อ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
         ข้อ 1 การรักษาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอันใกล้ชิดระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น เน้นย้ำถึงความสำคัญของการรักษาตลาดที่เปิดกว้างสำหรับการค้าและการลงทุน และหลีกเลี่ยงการใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีที่ไม่จำเป็นที่อาจก่อให้เกิดการจำกัดการส่งออกและการนำเข้าสินค้าต่างๆ โดยเฉพาะสินค้าจำเป็น อาทิ อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ อาหาร และสิ่งจำเป็นอื่นๆ หรืออาจทำให้เกิดการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานระดับภูมิภาค
         ข้อ 2 การบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 อำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายสินค้าจำเป็น รวมทั้งสินค้าอาหารและเกษตร เพื่อสนับสนุนความอยู่รอดและความสมบูรณ์ของห่วงโซ่อุปทาน และส่งเสริมให้การสนับสนุนด้านต่างๆ รวมถึงทางการเงินสำหรับภาคธุรกิจ โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) และกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
         ข้อ 3 การเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจ กำหนดกรอบความร่วมมือในการเสริมสร้างศักยภาพด้านการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อห่วงโซ่อุปทานในภาวะฉุกเฉิน และพิจารณาจัดทำข้อริเริ่มความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในสาขายุทธศาสตร์ รวมถึงอุตสาหกรรมอาหารและเกษตร อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และพลังงาน
         2. นอกจากนี้ ร่างแผนปฏิบัติการฯ ได้กำหนดมาตรการทางยุทธศาสตร์ (strategic measures) และแนวทางการดำเนินกิจกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นกิจกรรมที่ฝ่ายญี่ปุ่นจะเป็นผู้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ข้างต้น ได้แก่ ข้อ 1 การเร่งลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ภายในเดือนพฤศจิกายน 2563 ตามกำหนด การส่งเสริมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์และเคมีภัณฑ์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านอุตสาหกรรม และยุทธศาสตร์ดิจิทัลเพื่อปกป้องธุรกิจ รวมถึงแสวงหาโอกาสการค้าดิจิทัลและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ข้อ 2 การจัดสัมมนาและบริการจับคู่ธุรกิจออนไลน์โครงการสนับสนุนทางการเงินเพื่อเสริมสร้างการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลในเอเชีย และการสำรวจความต้องการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของ MSMEs เป็นต้น และข้อ 3 การเสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการโรงงานด้วยอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง (loT) การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระบุกฎระเบียบของอาเซียนที่จำเป็นใน “ความปกติใหม่” และโครงการการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อพัฒนาตลาดก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เป็นต้น
         ทั้งนี้ อาเซียนและญี่ปุ่นตั้งเป้าหมายที่จะให้การรับรองร่างแผนปฏิบัติการด้านความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AEM-METI) สมัยพิเศษว่าด้วยโควิด-19 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2563 เวลา 14.00-15.00 น.

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 21 กรกฎาคม 2563
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396


AO7537

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!