WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขออนุมัติดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกรอกเคียน จังหวัดฉะเชิงเทรา

GOV 7ขออนุมัติดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกรอกเคียน จังหวัดฉะเชิงเทรา

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) โดยกรมชลประทานดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกรอกเคียน จังหวัดฉะเชิงเทรา ภายในกรอบวงเงิน 1,880 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – พ.ศ. 2567) โดยให้กรมชลประทานจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามความพร้อมและความสามารถในการใช้จ่ายที่สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอย่างเคร่งครัด เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
         สาระสำคัญของเรื่อง
         1. กษ. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้ กษ. โดยกรมชลประทาน ดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกรอกเคียน จังหวัดฉะเชิงเทรา (โครงการฯ) มีกำหนดแผนงานโครงการ 4 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2567) กรอบวงเงินงบประมาณโครงการทั้งสิ้น 1,880 ล้านบาท และให้มอบหมายให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนงบประมาณเพื่อการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนงานต่อไป
         2. ข้อมูลการประเมินความต้องการใช้น้ำของจังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งแต่ พ.ศ. 2560 – 2580 พบว่า ปริมาณความต้องการใช้น้ำในปี 2580 เมื่อเทียบกับปี 2560 เพิ่มขึ้นจาก 1,456 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 1,637 ล้านลูกบาศก์เมตร (เพิ่มขึ้นร้อยละ 12) แต่ปัจจุบันจังหวัดฉะเชิงเทรามีแหล่งน้ำต้นทุนเพียง 1,510 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งอาจไม่เพียงพอสำหรับการใช้น้ำเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของจังหวัดในอนาคต กษ. โดยกรมชลประทาน ได้มีแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อรองรับการเจริญเติบโตในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยได้จัดทำแผนการพัฒนาแหล่งน้ำภายใต้โครงการพัฒนาแหล่งน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งมีอ่างเก็บน้ำห้วยกรอกเคียนรวมอยู่ด้วย ทั้งนี้ ได้มีการขับเคลื่อนแผนงานดังกล่าว และจะดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกรอกเคียน จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นโครงการแรก ซึ่งคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบแผนดังกล่าวในคราวประชุมครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2562 และมีมติเห็นชอบในหลักการให้กรมชลประทานดำเนินโครงการฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2563
         3. สาระสำคัญของโครงการฯ สรุปได้ ดังนี้
             • วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภค – บริโภค และการอุตสาหกรรม ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ประมาณ 3 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี รวมทั้งรักษาสมดุลของระบบนิเวศวิทยาในการเสริมศักยภาพการผลักดันน้ำเค็มในแม่น้ำบางปะกง
             • ที่ตั้งโครงการ เขื่อนหัวงานอยู่บริเวณบ้านอ่างเตย ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
             • ลักษณะโครงการ กิจกรรมหลัก ประกอบด้วย เขื่อนดิน อาคารระบายน้ำล้น อาคารท่อระบายน้ำลงลำน้ำเดิม อาคารท่อส่งน้ำฝั่งขวา และอาคารท่อส่งน้ำฝั่งซ้าย
             • ความจุ จะเก็บกักน้ำต้นทุน จำนวน 19.20 ล้านลูกบาศก์เมตร
             • ความเหมาะสมของโครงการฯ การศึกษาความเหมาะสมของโครงการฯ แล้วเสร็จเมื่อเดือนมีนาคม 2540
             • การออกแบบ การสำรวจออกแบบแล้วเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน 2545
             • การขออนุญาตเข้าทำประโยชน์พื้นที่ พื้นที่ที่ใช้ในการดำเนินการก่อสร้าง จำนวน 6,442 – 2 – 99 ไร่ เป็นพื้นที่ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมทั้งหมด ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
             • ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โครงการฯ มีพื้นที่ชลประทานไม่ถึง 80,000 ไร่ ไม่ได้ก่อสร้างประตูระบายน้ำในแม่น้ำสายหลัก 23 สาย จึงไม่จัดอยู่ในประเภทหรือกิจการที่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
             • การรับฟังความคิดเห็น ได้จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและเพื่อให้มีส่วนร่วมของประชาชนผู้ครอบครอง และทำประโยชน์ในที่ดินที่ถูกเขตชลประทานและผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ จำนวน 2 ครั้ง ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบ/เห็นด้วยกับการก่อสร้างโครงการฯ
             • การเยียวยา ได้เตรียมมาตรการในการจ่ายค่ารื้อย้ายทรัพย์สินบริเวณที่ดินไว้ในแผนงานโครงการฯ แล้ว
             • งบประมาณ งบประมาณดำเนินโครงการฯ 1,880 ล้านบาท เป็นงบลงทุนทั้งหมด จำแนกเป็นค่าก่อสร้าง จำนวน 680 ล้านบาท และค่าชดเชยที่ดิน จำนวน 1,200 ล้านบาท
             • ความเชื่อมโยงกับแผนต่างๆ สอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) และแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (พ.ศ. 2558 – 2569) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต (เกษตรและอุตสาหกรรม) และยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย
          ทั้งนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกพิจารณาแล้วเห็นชอบ/เห็นควรให้ความเห็นชอบโครงการฯ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกมีความเห็นเพิ่มเติมว่า เนื่องจากโครงการฯ มีความพร้อมทั้งในด้านของพื้นที่ที่เป็นพื้นที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมทั้งหมดซึ่งกรมชลประทานได้ดำเนินการขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่แล้วและไม่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จึงควรเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผนงานโครงการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2567) ที่ตั้งไว้

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 8 กรกฎาคม 2563
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396


AO7219

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!