WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานที่ยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท

GOV5ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานที่ยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท อำนาจลดและยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนและการขอสำเนาเอกสาร และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการประชุมกรรมการ)

     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานที่ยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท อำนาจลดและยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนและการขอสำเนาเอกสาร และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการประชุมกรรมการ) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป และรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ

                  

พณ. เสนอว่า

  1.      พณ. ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วขอยืนยันให้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อไป
  2.      ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีดังนี้

     2.1 ผลกระทบเชิงลบ กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้บริษัทต้องปฏิบัติ เช่น ในกรณีแก้ไขร่างมาตรา 1099 ซึ่งเป็นการลดระยะเวลาให้หนังสือบริคณห์สนธิสิ้นผลหากมิได้จดทะเบียนบริษัท ภายใน 10 ปี เป็น 3 ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิจึงอาจเป็นการจำกัดระยะเวลาการใช้สิทธิของผู้เริ่มก่อการในการใช้ชื่อบริษัทที่ได้มีการจดทะเบียนไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ แต่ พณ. มีมาตรการป้องกัน แก้ไข คุ้มครอง หรือเยียวยา ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบในเรื่องดังกล่าว โดยได้เพิ่มบทเฉพาะกาลเพื่อให้หนังสือบริคณห์สนธิที่สิ้นผลไปโดยผลของการแก้ไขร่างมาตรา 1099 ยังสามารถนำมาจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทได้ภายใน 180 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ

       2.2 ผลกระทบเชิงบวก กฎหมายฉบับนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจมีความคล่องตัว สะดวก และช่วยลดต้นทุนในการดำเนินการทางธุรกิจ เพิ่มช่องทางให้บริษัทจำกัดสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงาน และลดภาระที่ไม่จำเป็นแก่ประชาชน อันเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถจัดตั้งธุรกิจได้ง่ายขึ้น มีบทคุ้มครองนักลงทุนรายย่อยที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล และมีมาตรการคุ้มครองผู้ถือหุ้น

       รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามาดำเนินธุรกิจในรูปแบบบริษัทง่ายขึ้น ซึ่งเป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการประกอบธุรกิจและสอดคล้องกับตัวชี้วัดของธนาคารโลก (World Bank) ซึ่งจะส่งผลดีต่อการประเมินของประเทศไทยในการจัดอันดับความยาก-ง่าย ในการประกอบธุรกิจ (Doing Business) โดยจะทำให้มีการพัฒนาและยกระดับความสามารถในการแข่งขันขององค์กรธุรกิจให้ทัดเทียมนานาประเทศ

  1.      สำหรับ การรับฟังความคิดเห็นนั้นได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยการจัดประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า www.dbd.go.th โทรสารหมายเลข 0 2547 4472 และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] จำนวน 1 ครั้ง ระหว่างวันที่ 9 พฤษภาคม 2560 ถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2560

    รวมทั้งได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นพร้อมการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านทางเว็บไซต์ให้ประชาชนได้รับทราบด้วยแล้ว

จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานที่ยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท อำนาจลดและยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนและการขอสำเนาเอกสาร และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการประชุมกรรมการ) มาเพื่อดำเนินการ

                  

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

  1.     กำหนดให้การยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทสามารถยื่น ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแห่งใดก็ได้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
  2. กำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน การขอตรวจเอกสาร การขอสำเนาเอกสารพร้อมคำรับรอง และค่าธรรมเนียมอื่นที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัท
  3.     กำหนดให้หนังสือบริคณห์สนธิที่จดทะเบียนไว้สิ้นผลลง หากมิได้ดำเนินการจดทะเบียนภายในสามปี
  4.    กำหนดให้มีการประทับตราบริษัทในใบหุ้นทุกใบเฉพาะกรณีที่บริษัทมีตราประทับ
  5.    กำหนดให้การประชุมกรรมการอาจดำเนินการโดยการติดต่อสื่อสารด้วยเทคโนโลยีอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งทำให้กรรมการไม่จำเป็นต้องปรากฏตัวในที่ประชุมก็ได้ เว้นแต่ข้อบังคับของบริษัทจะกำหนดห้ามไว้ โดยการประชุมดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และให้ถือว่ากรรมการซึ่งใช้การติดต่อสื่อสารนั้นได้เข้าร่วมประชุมกรรมการ และให้นับเป็นองค์ประชุมและมีสิทธิออกเสียงในการประชุมด้วย
  6. กำหนดวิธีการบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นโดยให้ส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้น เว้นแต่บริษัทมีหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือที่ต้องโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ด้วย
  7.      กำหนดบทเฉพาะกาลรองรับกรณีที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและเมื่อนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิดังกล่าวถึงวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแล้ว มีระยะเวลาเกินสามปี แต่ยังมิได้จดทะเบียนบริษัท ให้สามารถดำเนินการจดทะเบียนบริษัทได้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 9 มิถุนายน 2563

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396 

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!