WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฤดูแล้ง ปี 2562/63 และการเตรียมความพร้อมรองรับฤดูฝน ปี 2563

GOV8รายงานผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฤดูแล้ง ปี 2562/63 และการเตรียมความพร้อมรองรับฤดูฝน ปี 2563

      คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เสนอดังนี้

  1. รับทราบผลการดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63
  2. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามมาตรการเตรียมความพร้อมรองรับฤดูฝน ปี 2563 เพื่อลดผลกระทบความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น

                  

สาระสำคัญของเรื่อง

      สทนช. ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ รายงานสรุปผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฤดูแล้ง ปี 2562/63 และมาตรการเตรียมความพร้อมรองรับฤดูฝนปี 2563 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

       2.1 สรุปผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฤดูแล้ง ปี 2562/63

ประเด็น การดำเนินการ

1) การคาดการณ์และชี้เป้าพื้นที่เฝ้าระวังขาดแคลนน้ำ

(ช่วงปลายฤดูฝน ปี 2562) 1.1) การขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค มีพื้นที่ในเขตให้บริการของการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) 22 จังหวัด และพื้นที่นอกเขตให้บริการของ กปภ.38 จังหวัด

1.2) การขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร มีพื้นที่ในเขตชลประทาน 36 จังหวัด พื้นที่นอกเขตชลประทาน 36 จังหวัด และพื้นที่ที่มีการปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น 30 จังหวัด

2) ปริมาณฝนสะสมในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 ภาพรวมทั้งประเทศมีปริมาณฝนสะสมรวม 216.8 มิลลิเมตร ต่ำกว่าค่าปกติ 100.1 มิลลิเมตร (ร้อยละ 32) โดยภาคกลางมีฝนสะสมต่ำกว่าค่าปกติมากที่สุด (ร้อยละ 54)

3) ผลการจัดสรรน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63

หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร

ภาค      การจัดสรรน้ำ

แผน      ผล        ร้อยละ

ภาคเหนือ               3,541      3,755     

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ      1,703      1,521      89106

ภาคตะวันออก       673         630         93

ภาคกลาง               263         154         59

ภาคตะวันตก         6,273      6,194      99

ภาคใต้    1,300      1,389      107

รวม         13,753    13,643   

4) แผน-ผลการเพาะปลูก

พืชฤดูแล้ง ปี 2562/63

(ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2563)มีแผนการเพาะปลูกพืชที่กำหนดไว้ 7.21 ล้านไร่ ผลการเพาะปลูกพืชทั้งประเทศ รวม 8.83 ล้านไร่ เพาะปลูกพืชเกินแผน 1.62 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 122

5) มาตรการการแก้ไขปัญหาที่สำคัญ  

5.1) การแก้ไขปัญหาน้ำเค็ม โดยการเพิ่มปริมาณน้ำจืดเพื่อผลักดันและเจือจาง ค่าความเค็มบริเวณสถานีสูบน้ำสำแล รวม 9 ครั้ง สามารถแก้ไขปัญหาความเค็มรุกตัวในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และควบคุมคุณภาพน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถนำไปผลิตน้ำประปาได้

5.2) การประเมินปริมาณน้ำต้นทุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ถึงเดือนมิถุนายน 2563 มีเพียง 390 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยและไม่เพียงพอต่อการใช้น้ำในพื้นที่ จึงมีมาตรการแก้ปัญหาเพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดฤดูแล้ง ปี 2563 เช่น การแบ่งปันน้ำจากอ่างเก็บน้ำคลองประแกดมาเติมอ่างเก็บน้ำประแสร์ การนำน้ำจากแหล่งน้ำของภาคเอกชนเข้ามาเสริมระบบเครือข่ายน้ำ การสูบน้ำจากแม่น้ำบางปะกงมาเติมอ่างเก็บน้ำบางพระ และการรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนลดการใช้น้ำลงร้อยละ 10 เพื่อบรรเทาสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ให้ดีขึ้น

6) สรุปสถานการณ์ภัยแล้ง

และการช่วยเหลือ (ข้อมูล

ณ วันที่ 30 เมษายน 2563)           

6.1) การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค และการเกษตร จำนวน 27 จังหวัด 157 อำเภอ 832 ตำบล 5 เทศบาล 7,242 หมู่บ้าน/ชุมชน

6.2) โครงการช่วยเหลือกรณีภัยแล้ง ปี 2562/63 ตามมติคณะรัฐมนตรี (7 มกราคม 2563) ในพื้นที่ 44 จังหวัด จำนวน 2,041 แห่ง ได้รับงบประมาณแล้ว จำนวน 3,079 ล้านบาท ดำเนินการแล้ว 787 แห่ง (แผน 1,424 แห่ง) คิดเป็นร้อยละ 55.26

6.3) โครงการเร่งด่วนเพื่อเก็บกักน้ำในฤดูฝน ปี 2563 และแก้ไขปัญหา การขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 (เพิ่มเติม) ตามมติคณะรัฐมนตรี (17 มีนาคม 2563) ในพื้นที่ 72 จังหวัด จำนวน 6,806 โครงการ สามารถเพิ่มปริมาณน้ำได้ 214 ล้านลูกบาศก์เมตร งบประมาณรวม 8,269 ล้านบาท ได้เริ่มดำเนินการแล้ว จำนวน 107 แห่ง โดยเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักได้ 29.91 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่รับประโยชน์ 115,662 ไร่                 

  1. การวางแผนการจัดสรรน้ำและการเพาะปลูกในฤดูฝน ปี 2563

       2.1 การประเมินปริมาณน้ำต้นทุนฤดูฝน ปี 2563 ภาพรวมทั้งประเทศมีปริมาณน้ำ รวม 33,944 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นน้ำใช้การ 10,518 ล้านลูกบาศก์เมตร แบ่งเป็น

หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร

ภาค      ปริมาณน้ำต้นทุน คิดเป็นน้ำใช้การ

ภาคเหนือ               8,831      2,055

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ      2,757      1,238

ภาคกลาง               184         141

ภาคตะวันออก       268         168

ภาคตะวันตก         17,920    4,560

ภาคใต้    3,984      2,356

         2.2 การบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่ง ในช่วงฤดูฝน ปี 2563 ภาพรวมทั้งประเทศมีปริมาณน้ำใช้การรวม 10,307 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่า ปี 2562 จำนวน 6,360 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยได้วางแผนการจัดสรรน้ำ รวม 12,530 ล้านลูกบาศก์เมตร แบ่งเป็น

หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร

ภาค      แผนการจัดสรรน้ำ

ภาคเหนือ               3,368

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ      1,716

ภาคตะวันออก       506

ภาคกลาง               113

ภาคตะวันตก         5,213

ภาคใต้    1,614                     

2.3 การประเมินความต้องการใช้น้ำรายกิจกรรม รวมทั้งสิ้น 83,085 ล้านลูกบาศก์เมตร

หน่วย : ล้านลูกบาศก์เมตร

กิจกรรมการใช้น้ำ            ในเขตชลประทาน

(กรมชลประทาน) นอกเขตชลประทาน

(กรมทรัพยากรน้ำ)           ความต้องการใช้น้ำรวม

1) เพื่อการอุปโภค-บริโภค     2,725      928         3,653

2) เพื่อการรักษาระบบนิเวศ   5,626      5,870      11,496

3) เพื่อการเกษตรกรรม          22,634    44,532    67,166

4) เพื่อการอุตสาหกรรม         367         403         770

                              รวมทั้งสิ้น               83,085  

                        

       ทั้งนี้ ในช่วงฤดูฝน ปี 2563 มีความต้องการใช้น้ำทุกกิจกรรม มีปริมาณมากกว่าน้ำต้นทุน ซึ่งทำให้ต้องนำน้ำฝนมาใช้อีก 63,072 ล้านลูกบาศก์เมตร ถึงจะมีปริมาณน้ำที่เพียงพอในกิจกรรมด้านเกษตรกรรมที่มีแผนการเพาะปลูกพืชทั้งประเทศ 76.27 ล้านไร่

      2.4 อ่างเก็บน้ำที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการใช้น้ำในเขตชลประทาน

อ่างเก็บน้ำ          ข้อจำกัดการจัดสรรน้ำ      จำนวน (แห่ง)

1) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำ

ใช้การน้อยกว่าร้อยละ 15      เฉพาะอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ และการทำเกษตรต่อเนื่อง   19

2) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำ

ใช้การน้อยกว่าร้อยละ 30      เฉพาะอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ การทำเกษตรฤดูฝน (บางพื้นที่) และอุตสาหกรรม          11

3) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำ

ใช้การน้อยกว่าร้อยละ 60      เฉพาะอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ การทำเกษตรฤดูฝน (ตามศักยภาพ) และอุตสาหกรรม          4

4) อ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่คาดว่า

จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตร

ทั้งประเทศ             เฉพาะการทำเกษตร              182                 

  1. การเตรียมการบริหารจัดการน้ำเพื่อรองรับในฤดูฝน ปี 2563

มาตรการ           หน่วยงานที่รับผิดชอบ

1) การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย โดยจัดทำหลักเกณฑ์การวิเคราะห์พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมจากฝนคาดการณ์ในระบบ ONE MAP  

- สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.)

- กรมชลประทาน

- กรมทรัพยากรน้ำ

- กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

- สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.)

2) การปรับแผนการส่งน้ำเพาะปลูกในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา จำนวน 13 แห่ง  

- กรมชลประทาน

- กรมส่งเสริมการเกษตร

3) หลักเกณฑ์และมาตรฐานการบริหารจัดการน้ำเพื่อเตรียมการรองรับการบริหารจัดการน้ำฤดูฝน               

- คณะอนุกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์และมาตรฐานการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

- กรมชลประทาน

- สสน.

4) การตรวจสอบอาคารชลศาสตร์ ระบบระบายน้ำ และสถานีโทรมาตร          

- กรมชลประทาน (43 สถานี)

- กรมทรัพยากรน้ำ (228 สถานี)

- กฟผ. (152 สถานี)

5) การตรวจสอบสิ่งกีดขวางทางน้ำ      

- กรมทางหลวง

- กรมทางหลวงชนบท

- การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

- กรมชลประทาน

- กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (อปท.)

6) การสำรวจแม่น้ำคูคลอง และดำเนินการขุดลอก กำจัดผักตบชวา 

- กรมโยธาธิการและผังเมือง

- กรมชลประทาน

- กรมเจ้าท่า

- อปท.

- กรุงเทพมหานคร

- สทอภ.

7) การเตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือในการให้ความช่วยเหลือ (รวม 7,661 เครื่องมือ)      

- กระทรวงมหาดไทย (มท.)

- กระทรวงกลาโหม (กห.)

- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)

- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)

8) การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์               

- สทนช.

- กรมประชาสัมพันธ์ (กปส.)

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 9 มิถุนายน 2563

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396 

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!