WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..)พ.ศ. ….

GOV4 copyร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..)พ.ศ. …. (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการศึกษา)

       คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

      ขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยกำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่สถานศึกษาของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แต่ไม่รวมถึงโรงเรียนนอกระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และสถานศึกษาที่ตั้งขึ้นในประเทศไทยตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ สำหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร (e-Donation) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564

                  

ทั้งนี้ กค. เสนอว่า

  1.     กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ขอให้ กค. พิจารณาขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการศึกษาตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 681) พ.ศ. 2562 ซึ่งได้สิ้นสุดไปแล้วตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ออกไปอีก เพื่อให้เป็นการส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียขอให้พิจารณายกเว้นภาษีสำหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่สถาบันฯ โดยให้อยู่ในรายชื่อเดียวกับสถาบันการศึกษาอื่นที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามมาตราภาษีเพื่อสนับสนุนการศึกษา
  2.      กค. พิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อให้ภาคเอกชนได้มีส่วนร่วมสนับสนุนในการส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน และเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี รวมทั้งเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ National e-Payment จึงเห็นควรขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาดังกล่าวซึ่งได้สิ้นสุดไปแล้วตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 681) พ.ศ. 2562

     และพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 691) พ.ศ. 2563 เป็นระยะเวลา 2 ปี โดยรวบรวมมาตรการภาษีตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 558 (พ.ศ. 2556), ฉบับที่ 616 (พ.ศ. 2559), ฉบับที่ 681 (พ.ศ. 2562), ฉบับที่ 654 (พ.ศ. 2561) และ ฉบับที่ 691 (พ.ศ. 2563)) ทั้งนี้ ภายใต้หลักการและแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย ดังนี้

       2.1 กำหนดให้บุคคลธรรมดาที่บริจาคเงินให้แก่สถานศึกษาของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แต่ไม่รวมถึงโรงเรียนนอกระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และสถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ สามารถนำเงินที่บริจาคมาหักเป็นค่าใช้จ่ายหรือค่าลดหย่อนได้สองเท่าของจำนวนที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายสำหรับการบริจาคตามพระราชกฤษฎีกาอื่นๆ แล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนอื่นๆ แล้ว

       2.2 กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่บริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่สถานศึกษาของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แต่ไม่รวมถึงโรงเรียนนอกระบบตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และสถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ

       สามารถนำเงินหรือทรัพย์สินมาหักเป็นรายจ่ายได้สองเท่าของจำนวนที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายในการจัดสร้างและบำรุงรักษาสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ หรือสนามกีฬาของเอกชน หรือของราชการและรายจ่ายสำหรับการบริจาคตามพระราชกฤษฎีกาอื่นๆ แล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสิบของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาตามมาตรา 65 (ตรี) แห่งประมวลรัษฎากร

       2.3 กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน หรือการขายสินค้า หรือสำหรับการกระทำตราสาร อันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่สถานศึกษาข้างต้น โดยผู้โอนจะต้องไม่นำต้นทุนของทรัพย์สินหรือสินค้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล

      2.4 การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวทั้งหมดข้างต้น มีผลใช้บังคับสำหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร (e-Donation) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564

  1. กค. ได้ดำเนินการจัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยรายงานว่าจะมีผลต่อการจัดเก็บภาษีลดลง จำนวน 440 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม มาตรการนี้จะมีส่วนช่วยลดภาระการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลในด้านการศึกษาได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ มีดังนี้

       3.1 จูงใจภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมสนับสนุนด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นตั้งแต่ด้านหลักสูตร ครูผู้สอน อุปกรณ์การเรียนการสอน และสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพแบบครบวงจร ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐอย่างต่อเนื่อง

       3.2 ดำเนินมาตรการภาษีด้วยความต่อเนื่องเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษา สนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นรากฐานการขับเคลื่อนประเทศในอนาคต ส่งผลต่อความยั่งยืนทางการศึกษาของประชาชน 

      3.3 ยกระดับสถาบันการศึกษาเฉพาะด้านเพื่อสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีความเชี่ยวชาญสู่ความเป็นเลิศ เพื่อการพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืนและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันได้ในระดับโลก                 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 2 มิถุนายน 2563

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396  

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!