WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การผ่อนปรนการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการทำงานให้กับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศคู่ภาคี

GOV 5 การผ่อนปรนการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการทำงานให้กับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศคู่ภาคี

      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอการผ่อนปรนการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการทำงานให้กับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศคู่ภาคี ทั้งนี้ มิให้นำมาตรา 12 (10) และมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาบังคับใช้แก่คนต่างด้าว โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามที่กำหนด ดังนี้

  1.     กระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ออกประกาศ ดังนี้

       1.1 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ขยายระยะเวลาการยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักร ตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานกรณีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่.. พ.ศ. .... เพื่อผ่อนผันให้คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา) ซึ่งเข้ามาทำงานตาม MoU ที่การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุด สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวได้ต่อไป ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

          1.2 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ขยายระยะเวลาการยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา และเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามมาตรา 64 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการ การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กรณีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่.. พ.ศ. .... เพื่อผ่อนผันให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา และเมียนมา ซึ่งเข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยใช้บัตรผ่านแดนที่การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุด สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวได้ต่อไป ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

  1. กระทรวงแรงงาน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชกำหนด

การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่......  เพื่อผ่อนผันให้คนต่างด้าวที่การอนุญาตทำงานสิ้นสุดสามารถทำงานไปพลางก่อนได้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

  1.   หลังสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ ให้หน่วยงานด้านความมั่นคงดำเนินการตรวจสอบปราบปราม จับกุมดำเนินคดีนายจ้าง แรงงานผิดกฎหมายที่ลักลอบทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด

สาระสำคัญ

  1.        เนื่องจากการผ่อนผันให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และประกาศกระทรวงแรงงาน ที่ออกโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานไปพลางก่อนได้สิ้นสุดลงในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 แต่มาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ในประเทศไทยยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มว่ามาตรการดังกล่าวจะยังคงอยู่ต่อเนื่องไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2563 เห็นชอบให้การบริหารจัดการการแพร่ระบาดของโรคเป็นวาระแห่งชาติดังกล่าวจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนทั้งในสถานการณ์ที่เป็นอยู่และภายหลังสถานการณ์การระบาดของโรคสิ้นสุดลง ซึ่งจะต้องฟื้นฟูประเทศในมิติต่างๆ อย่างเร่งด่วนด้วย โดยจะต้องบูรณาการความร่วมมือทั้งหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทุกภาคส่วนอย่างเป็นระบบ ให้ครอบคลุมทุกองคาพยพของประเทศ
  2.       กระทรวงแรงงานได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และกรมการปกครอง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 สรุปผลการประชุม กล่าวคือ ที่ประชุมมีความเห็นตรงกันในการขยายระยะเวลาผ่อนปรนการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการทำงานให้กับคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศคู่ภาคี ออกไปจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 และร่วมกันพิจารณายกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยและร่างประกาศกระทรวงแรงงานประกอบการเสนอคณะรัฐมนตรี     
  3.       กระทรวงแรงงานพิจารณาแล้วเห็นควรมีแนวทางการผ่อนปรนการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการทำงานให้กับคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศคู่ภาคี มีดังนี้

         3.1 กลุ่มเป้าหมาย : เป็นคนต่างด้าว 2 กลุ่ม คือ

     1) คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งถือหนังสือเดินทาง

หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง และได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานหรือบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ที่วาระการจ้างงานครบสี่ปี และระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดลง แต่ไม่สามารถเดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้ก่อน หรือในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 จากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19

       2) คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาและเมียนมา ซึ่งถือบัตรผ่านแดน ตามมาตรา 13 (2) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักร ตามมาตรา 64 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และการอนุญาตให้พำนักในเขตพื้นที่ชายแดนที่ได้รับอนุญาตสิ้นสุด และไม่สามารถเดินทางออก  นอกราชอาณาจักรได้ก่อนหรือในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 จากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19

      3.2 ลักษณะการดำเนินการ : เป็นการขยายระยะเวลาการผ่อนปรนให้คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศคู่ภาคีอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและทำงานได้ต่อไป

     3.3 ระยะเวลา : อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงาน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

     3.4 หลังสิ้นสุดวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 แรงงานต่างด้าวต้องเดินทางออกจากราชอาณาจักรภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้อง

                  

ผลกระทบ

  1. การขยายระยะเวลาการผ่อนปรนการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว

และการทำงานให้กับคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศ

      คู่ภาคี เป็นการลดความเสี่ยงการกลับมาแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ใหม่ จากแรงงานที่เดินทางเข้ามาใหม่ และเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศภายหลังจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 คลี่คลายลง

  1. การขยายระยะเวลาการผ่อนปรนการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว

       และการทำงานให้กับคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศคู่ภาคี เป็นการลดความสุ่มเสี่ยงที่แรงงานบางส่วนจะเปลี่ยนเป็นแรงงานที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากวาระการจ้างงานครบกำหนดแต่ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศต้นทางได้ เป็นการลดสภาวการณ์ขาดแคลนแรงงานของสถานประกอบการนายจ้าง ที่ยังคงมีความต้องการและมีความประสงค์จะจ้างคนต่างด้าวเหล่านั้นต่อไปแต่ไม่สามารถดำเนินการตามกระบวนการปกติได้ในสถานการณ์ที่มีภัยคุกคาม

  1.      การขยายระยะเวลาการผ่อนปรนการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และการทำงานให้กับคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศคู่ภาคี เป็นมาตรการเพื่อรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยและการดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน เป็นการลดความวิตกกังวลและความตื่นตระหนกในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ รวมถึงยังเป็นไปตามพื้นฐานความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นการดำเนินการชั่วคราวตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19

          ทั้งนี้ คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานไปพลางก่อนได้จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และประกาศกระทรวงแรงงาน ที่ออกโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เรื่อง การผ่อนปรนการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการทำงานให้กับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยได้ลงนามกับรัฐบาลประเทศคู่ภาคี ดังนี้

  1. คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MoU) ภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement) ซึ่งวาระการจ้างงานจะครบ 4 ปี ในช่วงเดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ประมาณ 44,222 คน (กัมพูชา 19,199 คน ลาว 4,541 คน เมียนมา 20,482 คน)
  2.   คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามความตกลงว่าด้วยการข้ามแดนในลักษณะไป-กลับ หรือแบบตามฤดูกาล ตามมาตรา 64 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ซึ่งครบวาระการจ้างงานหรือการอนุญาตให้พำนักในเขตพื้นที่ชายแดนที่ได้รับอนุญาตสิ้นสุดในช่วงเดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม 2563 ประมาณ 64,364 คน (กัมพูชา 36,738 คน เมียนมา 27,626 คน)

         คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่เข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MoU) ภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement) ซึ่งวาระการจ้างงานจะครบ 4 ปี ในช่วงเดือนมิถุนายน ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ประมาณ 39,800 คน (กัมพูชา 12,965 คน ลาว 3,868 คน เมียนมา 22,967) และคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา และเมียนมา ที่เข้ามาทำงานตามความตกลงว่าด้วยการข้ามแดนในลักษณะไป – กลับ หรือแบบตามฤดูกาล ตามมาตรา 64 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ซึ่งวาระการจ้างงานหรือการอนุญาตให้พำนักในเขตพื้นที่ชายแดนที่ได้รับอนุญาตสิ้นสุดลงในช่วงเดือนมิถุนายน ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ประมาณ 28,208 คน (กัมพูชา 16,336 คน เมียนมา 11,872 คน)

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 2 มิถุนายน 2563

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396  

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!